ร่วมปกป้องสิทธิคนทำเว็บ รู้จักกับ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (Thai Webmaster Association : TWA)


หลายๆคน คงใฝ่ฝันว่าจะเป็นผู้ดูแลเว็บ ตั้งแต่ผมเล่นอินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่สมัยโมเด็ม 33.6K – 56K ช่วงนั้น ผมเล่นเว็บไซต์ Pantip, Kapook, Sanook, Hunsa, Lemononline, siamguru สมัยนั้นเคยรู้สึกว่า การได้เป็นเว็บมาสเตอร์ (Webmaster) นั้นเก่งจริงๆ เพราะดูแลทุกอย่างภาพในเว็บไซต์ เคยอยากจะเข้าร่วมสมาคม ตั้งแต่สมัยยังเป็นชมรม เคยได้ทราบข่าว ก็ชื่นชมพี่เอ๋อ @iwhale มากๆ ตั้งแต่ทำ Sanook แล้ว ฝันอยากจะเป็นแบบนั้น ไม่เคยได้เข้าร่วมชมรม เพราะตัวเองไม่เคยมีเว็บ เพิ่งจะมีบล็อกเมื่อหลายปีก่อน แต่เอาเข้าจริงๆเมื่อได้มาทำงานและได้ทำเว็บไซต์ จึงได้รู้ว่า Webmaster ไม่ใช่ทุกอย่าง คนดูแลเว็บไม่ใช่ Webmaster คนเดียว แต่จะมีส่วนประกอบหลายอย่าง เหมือนนิตยสาร หนังสือพิมพ์สักเล่ม มี Web Programming, Web Designer, Web Editor, Web Contents ผมเองเคยได้รับหน้าที่เป็น Web Contents Editor ของเว็บไซต์ร้านจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รายใหญ่แห่งหนึ่ง แต่จะมีหน่วยงานไหนไหม ที่ดูแลคนทำเว็บ แลกเปลี่ยนและปกป้องสิทธิ มีข้อต่อรองให้สมาชิกกับหน่วยงานต่างๆ ผมจะพาคุณมารู้จักกันว่า สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย หรือ TWA นั้นมีบทบาทหน้าที่อย่างไรบ้าง

สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย นั้นก่อตั้งขึ้นโดยคนที่ทำเว็บนั้นหวังที่จะแลกเปลี่ยนกันในแวดวงคนทำเว็บไซต์ด้วยกัน ที่นี้เราก็รู้แล้วล่ะ ว่าไม่ใช่แค่ Webmaster อย่างที่เราเห็นตั้งแต่สมัยเรียนซะแล้วสิ สมัยนั้น ผมปลื้มคุณ @ponddekd จาก dek-d ผมชื่นชมมากๆ (ไม่เคยคิดว่าพอทำงานด้าน social media / online media จะได้เจอตัวจริง) เพราะสมัยนั้น เว็บเด็กดี ดังมาก และคนทำเว็บเป็นเด็กนักเรียนซะด้วย โอ้ยยย Webmaster นี่เก่งเนอะ มันคือความฝันผมเลยล่ะ สมัยนั้นผมเริ่มเขียนไดอารี่ ช่วงนั้นเรายังไม่ได้เรียกว่าเราเป็น Webmaster ได้เต็มตัว แต่ตอนนี้ ความที่เป็น “คนดูแลเว็บ” กับสมาคมผู้ดูแลเว็บ ที่ผมเข้าร่วม ได้รับฟังและมีมุมมองหลายๆอย่างจากคนทำเว็บ ผมจึงตีความหมายได้ว่า หมายถึงทุกคนที่ทำเว็บทั้งโปรแกรมมิ่ง กราฟิก ออกแบบ เขียนเนื้อหา ประชาสัมพันธ์เว็บ หรือแม้กระทั่ง การที่เกี่ยวข้องกับพรบ.คอมพิวเตอร์ และกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร และยังรวมไปถึงสบท. ในการวัดผลความเร็วการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยอีกด้วย ถามว่ากิจกรรมแบบนี้ดีอย่างไร ลองตามอ่านบรรทัดต่อไป

ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 54 ของสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ที่ผมได้เข้าร่วมประชุมในฐานะสมาชิกสามัญรายปี ซึ่งต่ออายุทุกปี ได้จับประเด็นต่างๆ หลายอย่างทีน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับให้ทันสมัย เพราะสมาคมก่อตั้งเมื่อปี 2545 ในช่วงที่ผมเริ่มเล่นเน็ตใหม่ๆ (ผมเล่นเน็ตประมาณปี 2539) นั่นหมายถึงว่า ข้อบังคับต่างๆควรจะเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันด้วย

กิจกรรมของสมาคมผู้ดูแลเว็บนั้น ที่ผมเข้าร่วมตั้งแต่ปีก่อนก็คือ Webpresso หรือ จิบกาแฟคนทำเว็บ หัวข้อ เทคนิคการหางานและหาคนทำงานไอที อันนี้ผมเขียน blog ไว้ด้วย และหัวข้อ HTML5 อันนี้ก็เขียนไว้เช่นกัน เลยได้มีโอกาสเข้าร่วมงานของสมาคมแทบจะทุกครั้ง (ขาดไม่เกิน 2 ครั้ง เพราะรู้สึกจะขาดไปครั้งเดียว เพราะชนกับอีกงาน) นี่ไงครับ เรื่องที่คนทำเว็บควรรู้ HTML5, Flash มาตรฐานการทำเว็บ เรื่องราวด้านออนไลน์ เป็นประโยชน์ต่อคนทำเว็บทั้งนั้น

จากที่ผมบอกไป กิจกรรมของสมาคม ต้องการสื่อถึงอะไร Webpresso พูดคุยแลกเปลี่ยนและเป็นสื่อให้คนทำเว็บได้รู้จักกัน  ได้พูดคุย ได้มีไอเดียใหม่ๆ ได้เจอ @waiwaiworld @newdevich และอีกหลายๆคน น่าสนใจมาก หัวข้อต่างๆที่สมาคมจัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น HTML5, Speedtest เพื่อที่จะใช้ต่อรองและวัดประสิทธิภาพความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตว่าเป็นอย่างที่ผู้ให้บริการโฆษณาไว้หรือไม่ เป็นการปกป้องสิทธิของผู้ใช้ ไม่เฉพาะเว็บมาสเตอร์ แต่นั่นหมายถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคน, พรบ.คอมพิวเตอร์ แต่ละกิจกรรมล้วนแล้วแต่ช่วยปกป้องสิทธิ์ให้สมาชิกของสมาคม ในการร่วมกันร่างและเสนอหัวข้อต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกด้วยกัน รวมไปถึงการจัดค่ายกิจกรรมสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นผู้ดูแลเว็บอย่างงาน INET Young Webmaster Camp (YWC) ซึ่งเป็นการเปิดประตูให้ผู้ที่สนใจก้าวสู่วิชาชีพเว็บมาสเตอร์ ซึ่งจัดเป็นปีที่ 9 แล้ว พี่สอนน้อง คนทำเว็บเก่งๆ ผ่านแคมป์นี้มาแล้ว มากด้วยฝีมือกันทั้งนั้น ใครสนใจรีบสมัคร เพราะปิดรับสมัครวันที่ 25 กันยายนนี้

สำหรับวันนี้ มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคม ซึ่งคณะกรรมการชุดเดิมได้หมดวาระในวันนี้ (24 กันยายน) และคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการเลือกตั้งและคัดเลือกเสนอชื่อจากสมาชิปสมาคมที่เข้าร่วมการประชุม ข่าวจาก Thumbsup ใครสนใจและอยากรู้ละเอียด อยากสมัครสมาชิกก็เข้าไปดูที่ http://www.webmaster.or.th/ ได้เลยครับ