ตามรอยก้าวแห่งความสำเร็จของ Google Chrome ในประเทศไทย

chrome

หลังจากที่คุณอ้อ “พรทิพย์ กองชุน” ได้ลาออกจาก “Google” ได้โพสต์ข้อความบอกเล่าถึงความสำเร็จของ Google Chrome ประเทศไทย ก็เลยขออนุญาตพี่อ้อนำมาเผยแพร่ครับ


ย้อนกลับไปเมื่อปี 2011 (2554) ผมเคยได้เข้าร่วมงานของทาง Google เว็บคือสิ่งที่คุณสร้างสรรค์ ทุกคนเป็นฮีโร่ได้ ด้วยพลังจากเว็บ ที่สามารถเป็นอะไรก็ได้ดั่งใจเรา ซึ่งในงานนั้นจัดขึ้นเมื่อปี 2011 ภายใต้ชื่องาน “เว็บฮีโร่ปาร์ตี้ โดย Google Chrome

ตอนนั้นเป็นการเปิดตัว Google Chrome ภาษาไทย สื่อว่า Web Hero คือคนที่มีชื่อเสียงจากความสามารถของเขาในเว็บ ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี อัจริยะนักไวโอลิน / โครม ปะการัง / บี้ The Ska ตอนนั้นถือว่า โลกออนไลน์เรามี Youtube มีการสร้างสรรค์เนื้อหา Content มากมาย จากหลายไอเดีย ทุกคนเป็นฮีโร่ผ่านเว็บได้ ตอนนั้นหลายๆคนติด Youtube ติดตั้งปี 2011 (แต่สมัยนั้นหลายๆคนยังใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ มากกว่ามือถือ)

ที่มา http://gs.statcounter.com/#browser-TH-monthly-201503-201503-bar
ที่มา http://gs.statcounter.com/#browser-TH-monthly-201503-201503-bar

สำหรับ Google ประเทศไทยนั้น พี่อ้อ ได้พูดถึง ตอนที่ทำแคมเปญ Google Chrome ช่วงปี 2011 พี่อ้อบอกว่า ตอนนั้นยากมาก เพราะว่า

1. ก่อนทำแคมเปญไปทำ Survey คนไทย 9 ใน 10 บอกไม่รู้ว่า Browser คืออะไร รู้แต่ว่าถ้าจะเข้าเน็ตต้องเข้าผ่าน “e” เท่านั้น
2. ก่อนหน้านั้น Google Chrome เปิดตัวทั่วโลกไปแล้ว ไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่โปรแกรมการรองรับภาษาไทยสุดห่วยเลย ไม่ตัดคำไทย ทำให้การแสดงผลภาษาไทยผิดเพี้ยน ค้นหาภาษาไทยบน Chrome ไม่ได้ คนทำเว็บนี้เซ็งเลย ถ้าต้องทำให้รองรับ Chrome คนใช้ที่เป็น Early Adopter ก็บ่น มีประสบการณ์ที่ไม่ดี ไม่อยากใช้ (ผมเองก็ใช้ Google Chrome ตั้งแต่ตัว Beta เคยรีวิวไว้ที่ bloggang)
3. ปกติ Google จะทำแคมเปญโฆษณาออนไลน์อย่างเดียว เพราะเราทำด้านนี้อยู่แล้ว ต้องให้ความสำคัญ แต่กลุ่มเป้าหมายหลักคือคนที่กำลังจะเข้ามาออนไลน์ คือยังออฟไลน์อยู่นั่นเอง แล้วเค้าจะเห็นโฆษณาไหมล่ะ!

*โปรเจคนี้หินแต่ก็สนุกที่สุด รบรากับทีม product และ engineer ที่อเมริกาให้แก้ bugs และ ปรับปรุง features รองรับไทยก่อนอันดับแรก ถ้าของไม่ดีก็ไม่มีคนใช้หรอก กลายเป็นต้องทำงานตลอด 24 ชม เพราะ engineer ไม่ได้อยู่แค่อเมริกา แต่อยู่ที่ London ด้วย คือเวลาคนละ time zone เลย หน้านี่เป็นหมีแพนด้า

*สองทำ proposal เสนอทาง APAC ว่าต้องทำแคมเปญแบบใหม่ แบบใช้ media 360 องศา ไม่ใช่แค่ออนไลน์อย่างเดียว ต้องออฟไลน์ด้วย ที่สำคัญต้อง mass ด้วย จึงเป็นครั้งแรกที่เราทำโฆษณาทีวีในไทย ใครจำไม่ได้ลองทบทวนความจำจากลิงก์วิดีโอด้านล่างนี้


จากใจพ่อ


ทูตมวยไทย


คนรักสัตว์

นอกจากนี้ก็ต้องทำ below the line activities ประกอบไปด้วย เลยมีกิจกรรมที่ทำร่วมกับ partners, influencers และกับนักข่าวสายไอทีและไลฟ์สไตล์เยอะมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Super PR Amy Kunrojpanya ซึ่งงานนี้เป็นงานแรกของเอมี่เลย

*สาม key message จะขายของให้ดาวน์โหลด chrome โต้งๆ ไม่ได้ ต้อง touch ความรู้สึกของคนไทยด้วย จึงคิดเป็น concept ว่า “เว็บคือสิ่งที่คุณสร้างสรรค์” หมายถึงออนไลน์หรือเว็บ เป็นอะไรก็ได้ที่คุณอย่างจะสร้างสรรค์ให้เป็น เช่น ออนไลน์เพื่อครอบครัว เพื่อธุรกิจ หรือเพื่อสังคม และการเข้าไปสร้างสรรค์ด้วยออนไลน์ก็ทำง่ายๆ ผ่าน Google Chrome เบราเซอร์ที่ใช้งานง่าย เร็ว และปลอดภัย

ผลออกมาเยี่ยมมาก! Stat counter บอกว่าในไทยมีคนใช้ 60% ตัวเลขของผู้ใช้ดีมาก ROI ในแง่ของ Cost per acquisition ก็เยี่ยม เป็น best practices ให้ประเทศอื่นเลย

จนกระทั่งวันนี้ ตัวเลขจาก Fastinflow ทำให้รู้จักตื้นตันใจ เราดีใจที่คนใช้ Google Chrome แล้วได้ประโยชน์ ได้เข้าถึงข้อมูล และได้ทำสิ่งที่สร้างสรรค์บนโลกออนไลน์กัน ขอบคุณคนไทยที่ใช้ Google Chrome ทุกคน ขอบคุณจริงๆ ค่ะ

ที่มา