การขอความช่วยเหลือ และการประสานงานผ่าน Social Media ในยามวิกฤต
ในภาวะวิกฤตอย่าง เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานครในตอนนี้ Social Media ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอข่าวสารและความเป็นไปของเหตุการณ์อย่างรวดเร็วและฉับไว ผมเองก็เครียดกับการเสพข่าวสารต่างๆ แต่นั่นก็เพื่อที่จะทราบว่า บริเวณที่น้ำท่วม ใกล้มาถึงบริเวณที่เราอาศัยอยู่หรือยัง และน้ำจะเดินทางไปทางไหน เมื่อน้ำท่วมบ้านผมแล้ว ก็ใช้ Social Media ติดตามว่าน้ำไปถึงไหนแล้ว และมีท่าทีว่าน้ำจะลดเมื่อไหร
หลายๆฝ่ายนำ Social Media มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น Thaiflood และ twitter Thaiflood ตลอดจนการนำเอา twitter hashtag #thaiflood มาใช้ในการตรวจสอบว่า บริเวณใดมีน้ำท่วม บริเวณใดขอความช่วยเหลือ โดยใช้ Social Media เป็นสื่อกลางในการรายงานข่าวที่ฉับไว สื่อที่ผมชอบในการนำเสนอก็คือ ข่าวสามมิติ ช่อง 3 และ สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ที่นำเสนอข่าวน้ำท่วมได้ดีมากๆ การนำเอา รศ.เสรี ศุภราทิตย์ มาเป็นผู้วิเคราะห์และให้คำแนะนำ และคลิปก็ถูกส่งต่อบน Social Network กระจายไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงความร่วมมือของอาสาสมัครต่างๆอย่าง Siamarsa Vconnex และความช่วยเหลือขององค์กร บริษัทต่างๆ อย่าง True มีการเปิดเว็บไซต์ HELPTOGETHER/FLOOD twitter @helptogether ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการนำเสนอข่าวน้ำ่ท่วม ระดับน้ำ สถานการณ์น้ำ และสามารถให้ผู้ที่ประสบภัยแจ้งขอความช่วยเหลือและรายงานข่าวผ่าน MMS ได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีการนำเอาเทคโนโลยีอย่างกล้อง CCTV ที่ปกติตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ใช้ดูหรือตรวจสอบความผิดปกติ มาใช้เฝ้าระวังและดูว่าถนนไหนมีน้ำท่วมได้อีกด้วย นอกจากนี้ คลิปที่ฮือฮามากๆ ก็จะเป็นของ รู้ สู้! Flood ที่นำเสนอคลิปที่อธิบายให้ความรู้เืรื่องของน้ำท่วม (ที่มาของ รู้ สู้! Flood) รวมไปถึงคลิปอยู่กับน้ำ จากกลุ่มฟ้าหลังฝน ที่ให้ความรู้เรื่องน้ำท่วม
และสำหรับการประสานงาน ในการช่วยเหลือน้ำท่วมนั้น เนื่องจากทางการ ได้ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากน้ำทะเลหนุน ในช่วงเวลานั้น หลายๆบริษัท ก็ผ่อนผันให้พนักงานหยุดงานและสามารถทำงานที่บ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าสำนักงานเนื่องจากจะได้เฝ้าระวัง เตรียมอพยพ และรับมือกับการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งหลายๆบริษัท ใช้การสื่อสารกับพนักงานผ่านอีเมล์ พนักงานบางคนก็นำไปโพสบน Facebook ให้เพื่อนๆ ได้ทราบ บางบริษัทก็มี Facebook Group แบบ Closed หรือมี Yammer ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในการแจ้งข่าวฉุกเฉิน การขอความช่วยเหลือ แต่ก็มีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ออนไลน์ตลอดเวลา ทำให้พลาดการรับข่าวสารผ่านทางอีเมล์ ในช่วงน้ำท่วมนี้ ผมได้ติดตามข่าวและเช็กอีเมล์ตลอดเวลา เรียกได้ว่า Always Online ตลอดเวลา ทำให้ทราบข่าวการช่วยเหลือของบริษัทอย่างต่อเนื่อง แนะนำว่า ในแผนกเดียวกัน หัวหน้า ควรดูแลลูกค้า ส่ง SMS ให้ แจ้งข่าว หรือโทรคุย ให้เช็กอีเมล์เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารและความช่วยเหลือ ดังนั้น อินเทอร์เน็ตบนมือถือนั้นสำคัญมาก ในการติดต่อสื่อสารในช่วงวิกฤต และยังคงต้องมีการโทรคุย การส่ง SMS แจ้งต่างๆ เพื่อแจ้งข่าวให้กับพนักงานที่ไม่ได้ออนไลน์ตลอดเวลา หรืออยู่ในที่ที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตดีพอที่จะเชื่อมต่อได้ ดังนั้นเมื่ออยู่ในช่วงวิกฤต ควรจะดูแลกันด้วยเทคโนโลยีทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เพราะบางครั้งจะพึ่งแต่ออนไลน์ก็ไม่ได้ หากเพื่อนๆคนไหนไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ก็อาจจะพลาดตกข่าวในช่วงวิกฤตนี้ไปได้
นอกจากนี้ เรายังใช้ Social Media ในการกระจายข่าวสาร ยกตัวอย่างของ Truelife ที่นำเอาคลิปรายการของ ThaiPBS และ ข่าว สามมิติ มานำเสนอ และทำให้ถูกส่งต่อคลิปไปได้มากขึ้น เพราะเราใช้ Social Media เป็นตัวกระจายให้ครอบคลุม แต่เนื้อหาที่น่าสนใจเป็นของ ThaiPBS เช่นเดียวกับคลิป รู้ สู้! Flood ที่ถูกส่งต่อบน Twitter, Facebook ของคนดังและคนที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก
และเมื่อ Social Media มีพลัีงในการนำเสนอที่รวดเร็ว คำที่ถูกพูดถึงมากที่สุดตอนนี้ ติดอันดับมาร่วมเดือนคือ คำว่า “น้ำท่วม” ทำให้คนติดตามจากนักข่าวต่างๆ เนชั่น สามมิติ ThaiPBS MCOT มากขึ้น มีผู้สมัครลงทะเบียนใช้งานทวิตเตอร์เยอะขึ้น และมีคนติดตาม #ThaiFlood ตลอดเวลา แนะนำ Twitter รายงานข่าวน้ำท่วมที่อัพเดตรวดเร็ว @js100radio @suthichai @Rawangpai @fm91trafficpro @ThaiPBS @thaiflood และติดตาม twitter wall ได้ที่ http://twitterwall.me/thaiflood
ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ ^_^