แชร์ประเด็นน่าสนใจจากงาน nForum: Mobile Working Trends

แชร์ประเด็นสัมมนา จากงาน nForum หัวข้อ Mobile Working Trends เมื่อวันเสาร์ที่ 30 เมษายน ได้รับเชิญจากเดอะเนชั่น เข้าร่วมงานสัมมนาแบบสบายๆ กลางโรงแรมสวยๆอย่าง Siam City Hotel ที่มีวิทยากรที่คุ้นหน้าตากันดีอย่าง คุณมาริสา สุโกศล หนุนภักดี @marisanun จากโรงแรม Siam คุณ @nuttaputch : Nuttaputch Wongreanthong Project Manager, Strategic Innovation Business จาก RS Public Company คุณ @molek : Chakard Chalayut Digital media Specialists, Thoth media Co., Ltd. คุณอ้อ @TonAwe: Pornthip Kongchun Google Southeast Asia’s marketing manager for Thailand โดยมีวิทยากรที่ยิ่งคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดีคุณ @vow_vow และ @kafaak


งานนี้ ได้รับการเชิญจากทีมงานเนชั่น และคุณเล็ก @lekasina เป็นครั้งแรกของการจัดงาน nForum ของทางเนชั่น มีประธานเปิดงานคือคุณสุทธิชัย หยุ่น เรียกว่างานนี้ งานใหญ่กันเลยทีเดียวเพราะมีบรรดานักข่าวชื่อดังบนทวิตเตอร์ มีชาวทวิตเตอร์มาร่วมงานมากมายจริงๆ

การลงทะเบียนเข้างาน ใช้มือถือในการสแกน QR-Code แต่ผมเพิ่ง restore iPhone และ flash ROM android เลยไม่ได้ลงแอพไว้ สแกน QR Code สำหรับลงทะเบียนในงานผ่าน Google Doc เยี่ยมจริงๆครับ งานนี้ใครไม่ Mobile Working คงจะงงๆ

เช่นเดียวกับงานสัมมนาของ PCWorld ปีที่แล้ว ทางคุณมาริสา ได้นำเอาคัพเค้ก ลายสปอนเซอร์ในงานทั้งหมดมาให้ทานกัน

งานนี้เริ่มการสัมมนา ด้วยคำถามหัวข้อที่น่าสนใจจาก @kafaak และ @vow_vow และคำถามจากผู้ฟังในงานและคำถามจากทาง ทวิตเตอร์ #nForum ถือว่าคึกคักมาก และในงานยังไม Wi-Fi ฟรีจากทางโรงแรมสยามซิตี้ ให้ใช้งานกันด้วย
งานนี้ผมได้เจอตัวจริงคนทวิตเตอร์มากมาย ที่ได้ retweet, reply คุยกันไปมา แต่ไม่เคยได้เจอตัวจริง งานนี้สิ่งที่น่าสนใจคือ Mobile Working Trends ที่ต้องทำความเข้าใจกันใหม่ว่า คำว่า Mobile ทุกคนจะนึกถึงแต่ มือถือ แต่การทำงานบน Mobility คือการทำงานนอกสถานที่ การทำงานขณะอยู่ข้างนอก การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไอที มาช่วยในการทำงาน รวมไปถึงบริการ Cloud ด้วย เปิดงานโดยคุณสุทธิชัย หยุ่น โดยคำว่า Mobility นั้นทำให้เราสามารถทำงานขณะเคลื่อนที่ ตามร้านกาแฟ ในรถโดยสาร รถส่วนตัว หรือในสถานที่แห่งใดก็ได้


เทรนด์ของ Mobile Working Trends มาจากการที่ คนไทยอยู่บนรถ บนท้องถนน ฝ่าการจราจรโดยเฉลี่ยร่วมๆ 2 ชั่วโมง เสียเวลาในการเดินทางมากๆ ทั้งขาไปและกลับ ไปประชุมต่างๆ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 20 นาที ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาบนท้องถนนโดยไม่จำเป็น คุณต้นอ้อ เฉลยให้ฟังว่า ประเทศมาลาวี ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 4 นาที ประเทศอื่นทั่วๆไปคือ 20 นาที แต่ในไทยใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง waste เวลามาก เอา mobile working มาใช้ดีกว่าเมื่อมีเหตุแบบนี้แล้ว “ระยะเวลากว่า 2 ชั่วโมงในการเดินทาง หากเราหยิบมือถือ โน้ตบุ๊ก แท็ปเล็ต หรืออุปกรณ์ต่างๆมาเขียนงาน คิดงาน ก็จะดีกว่าเสียเวลาไปเปล่าๆ Waste เวลาไปมาก” – ณัฐพัชญ์

และด้วยสาเหตุที่คนไทยอยู่บนรถมากกว่าที่บ้านเสียอีก ทำให้สื่อ Out of Home Media ได้รับความนิยม เพราะคนไทยไม่รู้ว่าจะทำอะไร นั่งรถก็ดูโฆษณาข้างทางไป ความนิยมนี้มากกว่าทีวีเสียอีก เพราะหลายๆคนอยู่บนรถมากกว่าอยู่บ้าน
สาเหตุของ Mobile Working ในไทย น่าจะเป็นเพราะการจราจรที่ติดขัดอย่างสาหัส ทำให้เราเอาอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ทำงานในช่วงเวลารถติด ทำให้เราได้งานมากว่าอยู่บนท้องถนนมองรถที่จอดนิ่งอยู่กับที่ เพราะในกรุงเทพ คนทำงานบนเน็ตเยอะเพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง อย่างผมก็ไปงานแถลงข่าวต่างๆแล้วส่งงานผ่านเน็ตที่ร้านกาแฟเลย เอาเวลาครึ่งชั่วโมงบนรถ ไปทำงานได้งานมากกว่าอีก

ด้วยความที่เป็น Mobility ทำให้เราสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ คุณณัฐพัชญ์ แชร์ความเห็นในการทำงานแบบ Office less การทำงานแบบ Mobile Working ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ทำให้เราไปนั่งทำงานในสถานที่เราสบายใจ ดึงความสามารถ ศักยภาพของเราออกมาให้มากที่สุด เพื่องานที่ดีที่สุด ทำตอนที่เราอยากจะทำงานให้สำเร็จ มุมมองของผู้บริหารในการทำงานแบบไร้สาย เข้าประชุมก็นัดกันที่ออฟฟิศ การทำงานแบบนี้ ทำให้เราได้เค้นความคิดต่างๆ ไอเดียต่างๆ ไหลลื่น แต่จะต้องกำหนดรูปแบบในการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ การติดต่อ ประสานงาน แพล็ตฟอร์มที่ใช้ให้เชื่อมโยงกัน ใช้งาน Google Docs และพนักงาน ควรรู้ว่า เราควรจะแชร์ข้อมูลใด ข้อมูลแบบใดเป็นความลับไม่ควรเปิดเผย ควรพรินต์แล้วทำลายไฟล์ทิ้ง ข้อมูลใดที่ไม่ควรสนทนากันข้างนอกออฟฟิศ ข้อมูลใดที่ไม่ควรอัพโหลดขึ้นไป ยกตัวอย่างการอัพโหลดเข้าเว็บฝากไฟล์ ซึ่งข้อมูลตรงนั้น สำคัญมากๆ ส่งผลเสียให้องค์กรมากมายหากพนักงานไม่รู้จักวิเคราะห์แยกแยะ

คุณมาริสา ให้ความเห็นของคนทำงานนอกสถานที่ ต้องไปดูแลโรงแรมที่ต่างจังหวัด ไม่ได้เข้าออฟฟิศ ใช้บีบีเป็นเครื่องมือสื่อสาร แต่ความเห็นของคุณมาริสา น่าสนใจตรงที่ ข้อมูลต่างๆนั้น ประสานงานด้วยเครื่องมือสื่อสาร โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ทำงานแบบ Mobile Working ได้ ที่น่าชื่นชมคือการทำงานด้าน CRM ของ @siambuzz ที่ต้อนรับแบบเป็นกันเอง จุดที่น่าสนใจของคุณมาริสา ก็คือการทำงานผ่าน Mobile อย่างไร และเวลาใดควรใช้เวลากับคนรัก ครอบครัว ไม่เปิดมือถือ ไม่แช็ท ไม่เชกเมล์เลย ละทิ้งทุกอย่างสนใจกับคนที่อยู่ตรงหน้า จะมีความสุขที่สุด

การทำงานแบบ Mobile Working Trends นั่นก็คือ การที่เราสามารถเชื่อมโยงการทำงานได้โดยไม่ต้องอยู่ในออฟฟิศเหลี่ยมๆ แคบๆ เราสามารถเปิดหูเปิดตาทำงาน คิดไอเดียใหม่ๆได้ โดยที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ เวลาตอกบัตร เลิกงาน แต่เราจะต้องมีวินัยในการตัวเองในการทำงานแบบ Mobile ไม่มีเจ้านายมาคอยกำกับ ไม่มีเวลาออฟฟิศมาคอยกดดัน เราทำงานได้แต่จะต้องทำให้เต็มที่ หากใน 1 ชั่วโมงเราสามารถทำงานได้เต็มที่โดยที่ไม่ต้องสนใจสิ่งรอบข้าง หากงานเสร็จแล้ว เราใช้เวลาคุ้มค่าที่สุด เราก็เอาเวลาไปหาไอเดียอื่นๆได้มากมาย หลายๆคนอยากทำงานที่บ้าน ทำงานร้านกาแฟไม่ต้องเข้าออฟฟิศแต่จะต้องฝึกตัวเองให้มาก Creativity ต่างๆมากจากสิ่งรอบๆตัว ที่ให้คุณได้มากกว่าการทำงานในออฟฟิศ – ณัฐพัชญ์
หลายๆคน อยากจะทำให้นอกออฟฟิศ แต่การทำงานแบบนี้ หากมีอีเมล์เข้ามา แม้อยู่ในห้องน้ำ เรื่องด่วนก็ต้องรีบทำงาน หากเจ้านายสั่งงานก็ต้องทำงานตามที่กำหนด ไม่มีเวลาตอกบัตรตายตัว บางครั้ง ตีสองก็ต้องทำงาน แต่อย่าส่งอีเมล์ อย่าส่งงานตอนตีสอง เพราะไม่เช่นนั้น หัวหน้าของคุณก็จะเข้าใจว่า ตีสองคุณก็พร้อมจะทำงาน อย่าส่งเมล์ตามงานในวันอาทิตย์ ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่เช้าวันจันทร์ เช็กอีเมล์ แล้วถ้าเห็นเมล์ตามงานในวันอาทิตย์จะอารมณ์เสียทันที แต่ถ้าด่วนและสำคัญมากก็เข้าใจ แต่ผมจะสำรวจว่า อีเมล์ส่งมาเวลาใด วันใด ดังนั้นส่งตอนตีสอง ผมก็จะทราบได้เช่นกัน
ทุกๆเช้าผมจะเช็กอีเมล์ บางครั้งเที่ยงคืน ผมก็ต้องทำงาน แต่การ Work Life Love เราจะ Balance กันยังไง หลายๆคนแบ่งแยกชีวิตความเป็นงาน ส่วนตัว อย่างผมทำงานแบบ Mobile Working จนเรียกว่าถูกงานครอบงำ – @Blackangel_007 เพราะเวลาเวลาเกือบทั้งวัน ยกเว้นตอนนอน  เราไปลงกับงานมากเกินไป จนไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีเวลาส่วนตัว ในวันหยุด ผมก็ยังทำงาน ยังเขียนบล็อก หลายๆคน อยู่กับแฟน ถ้าแฟนไม่เล่น social, twitter, facebook ก็ต้องปิด ตัดให้หมด ไม่เช่นนั้นอาจจะมีปัญหาชีวิตและชีวิตคู่ได้ และหากเราคุยงาน ประชุม ต้องปิดการสื่อสารทั้งหมดให้จุดสนใจอยู่ที่ผู้พูด ประเด็นในที่ประชุมเท่านั้น การทำงานแบบ Mobile Working เป็นเรื่องดี แต่ทำให้เราใช้เวลาร่วม 20 – 22 ชั่วโมงต่อวันในการทำงาน จากเมื่อก่อนเข้าออฟฟิศตอกบัตร เปิดคอม เช็กเมล์ ตอนนี้เราเช็กเมล์ตอนทานข้าวได้ เดินอยู่ข้างนอกก็ทำงานได้ มีหลายช่องทางในการสื่อสาร

เราสามารถเลือกอุปกรณ์มาช่วยในการทำงานได้ นำเอาอินเทอร์เน็ตไร้สายมาช่วยในการทำงานได้ แต่เราจะต้องไม่ให้งานครอบงำ วันอาทิตย์ วันที่ควรพักผ่อนก็ต้องหยุดและปิดให้หมด หลายๆออฟฟิศ อย่าง Google หกโมงเย็นจะมีการแจ้งเตือนให้ปิดคอมพิวเตอร์ พักผ่อน สังสรรค์ได้แล้ว เพื่อไม่ให้เครียดกับงานมากจนเกินไป
การทำงานแบบ Mobile Working ทำให้เราสามารถทำงาน Anytime Anywhere ด้วย Any Devices เลือกใช้อุปกรณ์ เลือกใช้แอพให้เหมาะสม นอกจากนี้คุณต้นอ้อ ได้แชร์ว่า จำนวนของเดกส์ท็อป มากขึ้น แต่จำนวนของ mobile devices ก็มากขึ้นเป็นเท่าตัว มากกว่าจำนวนประชากร เนื่องจากคนหนึ่งๆ มีอุปกรณ์หลายชิ้น
เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว มองเหลียวมองชีวิตคนออนไลน์แต่ละคน ตื่นมาก็เช็ก Facebook ตอบ Twitter คุยงาน จนถึงตีสองตีสาม ก็ยังทำงาน เพราะอินเทอร์เน็ตแพร่หลายและถูกนำมาใช้ประโยชน์ อย่างนักข่าวบนทวิตเตอร์ ตีสามก็ยังต้องทำงานผ่านอุปกรณ์ของตน อย่างพี่ต้นอ้อ ทาง Google ให้อุปกรณ์ทำงานมาใช้มากมาย ก็ต้องใช้งานให้เหมาะสม ถึงแม้การให้อุปกรณ์จะทำให้บริษัท Access เราได้ตลอดเวลา แต่เราก็ต้องแบ่งเวลาพักผ่อนและส่วนตัวบ้าง บางครั้งอยู่กับแฟนก็ต้องปิดมือถือไปเลยเพราะ

ประเด็นที่น่าคิดคือการ Word Life Balance การแบ่งเวลา เพราะคนออนไลน์ติดเน็ตกันงอมแงม หากเราใช้เวลากับคนที่เรารัก โดยไม่ทำงาน ไม่เช็กเมล์ ไม่แช็ทเลย เราก็จะมีความสุขและการทำงานก็คือการทำงานที่เรารัก คุณณัฐพัชญ์ แชร์ว่า การทำงานแบบ Mobile Working ก็คือการทำงานที่เป็นตัวเรา เป็นชีวิตเรา ไม่ใช้ 9 โมงเช้าตอกบัตร แต่เป็นการ Alert ตัวเองว่า ถึงเวลาพร้อมทำงานแล้ว ไม่ใช่ว่ามองนาฬิการอ 5 โมงเย็นเก็บกระเป๋ากลับบ้าน แต่การทำงานต้องทำให้เหมือนเป็นชีวิตของเรา ทำด้วยใจ ทำด้วยความรักและชอบ ทำงานด้วยความสนุกและเพลิน ทำในที่ที่อยากทำ ปลดพันธนาการจากออฟฟิศแคบๆ เหลี่ยมๆ ออกมาสู่โลกภายนอกบ้าง ทำให้เราอิสระและเปิดใจในการทำงานได้อย่างเต็มที่

การทำงานแบบ Mobile Working นั่นคือการทำงานได้ทุกสถานที่ ดังนั้นหากอินเทอร์เน็ตครอบคลุมไปถึงที่ไหน เราก็เชื่อมโยงกันได้ อย่างคุณ @molek ทำงานได้แม้ในห้องน้ำ เรียกได้ว่าไม่พลาดการสื่อสารกันเลยทีเดียวเพราะเราทำงานได้ทุกที่ และบางไอเดียก็มาจากตอนที่เราอยู่ในห้องน้ำ บางออฟฟิศมีกระดาษให้พนักงานจดไอเดียงานในห้องน้ำด้วย และหากว่าใครทำงานถึงกี่โมง ให้ดูจาก twitter timeline – @kafaak เพราะเราทุกคน ทำงานกันตลอดเวลา ที่มีอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ และแอพให้ใช้งาน

แต่ไม่ใช่ว่า ไฟดับ เน็ตเดี้ยงจะเป็นข้ออ้างในการทำงานไม่ได้ เพราะเรายังใช้ปากกา ดินสอ กระดาษ จดไอเดียแทนการทำ Presentation ได้ รวมไปถึงการมองหารูปแบบในการทำงานแบบอื่นๆมาใช้ ไม่ใช่ข้ออ้าง เน็ตเดี้ยง ไฟดับ กลับบ้านลูกเดียว เพราะ Performance ในการทำงานจะต้องแก้ปัญหาได้ ไม่ต้อง rely on technology มากเกินไป – @worawisut

การที่เราเอา Technology มาเป็นส่วนที่ครอบงำเรามากเกินไป กินข้าวก็เช็กเมล์ ทำงาน กลับบ้านก็ทำงาน การแบ่งเวลา word life balance จะถูกทำลายไป การที่เรา access เข้าอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ทำให้เราเสียสมาธิ บางออฟฟิศ ไม่เอาอุปกรณ์ไอทีเข้าไปในห้องประชุมเลย มีแต่กระดาษ ปากกาจดเท่านั้น ไม่ต้องเช็ก Facebook, Twitter, Email เลย ต้องแบ่งความสนใจให้ถูกเพื่องานที่มีประสิทธิภาพ

ตอนนี้แอพในการทำงานของแต่ละคน BBM ไปไม่ตอบ เรื่องด่วน อีเมล์ Whatsapp ไม่ได้หงุดหงิด โมโห ทำไมไม่ตอบ บีบี ไม่ตอบ Whatsapp ถ้าเรื่องด่วนผมโทรหรือ SMS เอาดีกว่า เพราะสำคัญมากๆ ผมมองว่า ตอนนี้โปร iPhone มี SMS 300 ครั้ง ใช้กันซะให้คุ้ม BBM, Whatsapp ไม่ตอบไม่เป็นไร แต่อีเมล์บางครั้งสำคัญกว่า BBM กับ Whatsapp เสียอีก

ส่วนลักษณะงานบางอย่าง อาจจะต้องทำที่ออฟฟิศ อย่างคุณ @noot010 และ @piscess02 ที่ต้องเสียเวลาเดินทางฝ่ารถติดเข้าออฟฟิศ มองเห็นประโยชน์ในการทำงานแบบ Mobile Working ที่เราสามารถทำงานได้จากที่ไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ออฟฟิศ แต่งานที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ก็มีหลายส่วนที่นำเอา Mobile Working มาใช้เพื่อให้ทันต่อการช่วยเหลือคนไข้และช่วยในการทำงานได้เช่นกัน

ส่วนคุณ Molek นำเอา twitter มาใช้กับการทำงาน คุยกับลูกค้า มีการนำเอาความคิดเห็นของผู้ใช้บนทวิตเตอร์ ไปคุยกับลูกค้า

ประเด็นที่ผมชอบในงานคือ Mobile Working กับการแบ่งปันเวลาให้ชีวิต ส่วนตัวบ้าง การที่บริษัทแจ้งเตือนพนักงานให้ปิดคอมหลัง 6 โมง เพื่อกลับบ้าน พักผ่อน สังสรรค์ จะทำให้พนักงานมีพลังในการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆหลังจากพักผ่อนเพียงพอ
ประเด็นที่พูดถึงกันในงานก็คือ การที่ทุกคนในงานเข้าร่วมงาน แต่ทุกคนนั่งก้มหน้ากดอุปกรณ์ของตนเอง หูฟัง แต่สนใจจดจ่อกับอุปกรณ์ของตน คนที่ไม่ได้เข้ามาอยู่ในงาน ก็จะคิดว่า ไม่สนใจวิทยากร ไม่มองเวที ไม่สนใจคนรอบข้าง แต่อันที่จริง พวกเขาทำงานแบบ Mobile Working Trends ในการแชร์สิ่งที่น่าสนใจในงานให้คนที่ติดตามได้รับรู้ รวมไปถึงหัวหน้างานของพวกเขาด้วยเช่นกัน แต่หากมีประชุม ก็ควรจะปิดการทำงานในทุกๆอย่างให้หมด สนใจ จดจ่อกับการประชุมวาระตรงหน้ามากกว่าจะเช็กเมล์ แช็ท หากสำคัญจริงๆก็ต้องออกไปนอกห้องประชุมคุยธุระให้เสร็จแล้วกลับเข้าไปประชุมต่อ

Cloud Computing ถูกพูดถึงในงาน แต่สิ่งสำคัญคือ ความมั่นใจในการดูแลความปลอดภัยของข้อมูล หลายๆคนไม่กล้าเอาข้อมูลสำคัญไปฝากไว้บน Cloud เพราะกลัวหลุด รั่วไหล และการ Rely on Cloud ยังไม่น่าเชื่อถือเพียงพอ ก็มีการตั้งคำถามว่า แล้วทำไมคุณเอาเงินไปฝากไว้กับธนาคาร ดังนั้น Cloud ก็เหมือนกันเป็น Data Bank เช่นกัน แต่เราจะต้อง Access เข้าอินเทอร์เน็ตได้ด้วย

ส่วนสมาร์ทโฟน นั้นได้เปลี่ยนมุมมองการใช้งานเป็นการนำเอาอุปกรณ์มาใช้ทำงาน พกพาง่าย ตอบเมล์ แช็ท คุยงานสะดวกกว่าการแบกโน้ตบุ๊กหนักๆไปทำงาน ทำให้สมาร์ทโฟนกลายเป็น Super Computer อันนี้ผมมองว่า มือถือสองหมื่น อาจจะแพง แต่ถ้ามันช่วยธุรกิจบริษัทหลายหมื่นล้านได้ หรือช่วยให้เราทำงานได้ ณ ตอนนั้นเลย ก็จะทำให้ประสิทธิภาพงานดีขึ้น ส่งผลต่อไปถึงการพิจารณาตำแหน่งด้วยเพราะนำเอาอุปกรณ์มาช่วยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในการทำงานแบบ Mobile Working บางที่เราทำงานที่ร้านกาแฟ หรือสถานที่สาธารณะ ผมมองว่า น่าอันตรายมากเพราะบางคนเป็นอเจนซี่ ทำงานให้แบรนด์ ต่างๆ นั่งคุยงานในร้านกาแฟ ผมอยู่โต๊ะข้างๆก็ได้ยิน แล้วถ้าผมเป็นคนที่แบรนด์คู่แข่งหรืออเจนซี่ของแบรนด์คู่แข่งล่ะ รวมไปถึงการใช้คอมเปิดหน้าจอในที่สาธารณะ อันตรายมาก แนะนำฟิล์ม 3M แบบที่มองเห็นได้แค่ตรงหน้าอย่างเดียว มองด้านข้างๆ แนวเฉียงไม่ได้ จะช่วยในระดับหนึ่ง พี่โก๋ @ripmilla แนะนำว่า ทุกคนลืมไปหรือเปล่าว่า ไม่ได้ใส่รหัสป้องกันอุปกรณ์ของตนเองไว้ หลังจากโน้ตบุ๊ก (คิดว่า) หาย ก็เลยใส่รหัสไว้หมด ของโดนขอโมยก็ช่าง ขอให้ข้อมูลเรายังอยู่ และความลับบริษัทไม่รั่วไหล ส่วนคุณ @molek แนะนำว่า ทำงานในร้านกาแฟ แต่จะหันหน้าจอโน้ตบุ๊กเข้ากำแพง ไม่มีใครเห็นว่าทำงานอะไรเปิดไฟล์อะไรอยู่
ส่วนการบอกพิกัดตนเองบน FourSqaure หรือบริการ Location-based service อื่นๆก็อันตรายเช่นกัน ต้องระวังและไม่เช็กอินบอกสถานที่ให้คนเข้ามาขโมยของในบ้านได้

ทุกอย่างที่บอกไป Mobile working จะต้องมี Guidline ให้กับพนักงานในการใช้งาน การประสานงาน การนัดหมาย ก็จัดประชุมร่วมกันในการแชร์ข้อมูลกันได้คล่องตัว และผู้ใช้ต้องตระหนักในการใช้งานว่าควรจะใช้อะไรตอนไหนและความเหมาะสมด้วย
ส่วนการทำงานแบบ Mobile Working ไม่ต้องมีออฟฟิศ @vow_vow ยกตัวอย่างการทำงานของ @ipattt ในการทำงานแบบไร้ออฟฟิศ ทำงานที่ไหนก็ได้ ไม่แปลกใจถ้าผมเห็นคุณพัชร เช็กอินหลายๆที่มากๆในวันนึง ดังนั้นเวลาในการทำงานของคนที่ทำงานบน Virtual Office ก็คือตลอดเวลาที่ออนไลน์เป็น office hour

สรุปความของ Mobile Working คือการนำเอาอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมโยงการทำงานนอกสถานที่ผ่านอินเทอร์เน็ต การนำเอาระบบเครือข่ายมาสนับสนุนการทำงาน การนำเอา Cloud มาใช้งานและการแชร์ข้อมูลกันระหว่างแผนก และการใช้แอพที่เหมาะสมกับงาน
จริงๆผมมองว่า การทำงานแบบ Mobile Working นั้น สิ่งที่เราต้องลงทุน (หรือบริษัทลงทุนให้) คืออุปกรณ์ที่ดี เครือข่ายที่ดี การเชื่อมต่อที่เสถียร ความปลอดภัยของข้อมูล และ @Molek บอกว่า “อย่ามากเกินไป” ต้องอยู่ที่จุด “พอดี” ในการทำงานแบบ Mobile Working เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ปิดเมื่อไม่จำเป็น ในเวลาและโอกาสที่เหมาะสม

ส่วนตัวผมมองว่า การทำงานนอกสถานที่ ทำให้เราได้ไอเดียมากแต่ต้องระวังเรื่องข้อมูลรั่วไหล ยิ่งกลยุทธ์การตลาดสำคัญมาก พวกอเจนซี่ ชอบคุยงานในร้านกาแฟ ผมก็ได้ยินประจำ แบรนด์ไหนทำอะไร ระวัง @molek แนะนำว่า คุยในร้านกาแฟ แต่อย่าเอ่ยชื่อแบรนด์ เราไม่รู้ว่า ข้างๆจะมีคนของคู่แข่งนั่งอยู่หรือเปล่า ถ้าสำคัญมากจริงๆห้องประชุมบริษัทชัวร์ที่สุด
วาทะเด็ดในงานคือ “การทำงานตลอดเวลา ตอบเมล์ตลอดเวลา ไม่ได้เป็นตัววัดความสำเร็จของงาน” ส่วนคำถามที่ว่า ทำงานแบบ Mobile Working จะไหวเหรอ คนไทยไม่มีวินัย แอบแวบตลอด สำหรับผมจะยึดเวลาทำงานเป็นหลัก ออกไปงานข้างนอกไม่เข้าออฟฟิศก็ยังต้องเปิดโน้ตบุ๊กทำงานจนถึงเวลาเลิกงานปกติ หรือกลับบ้านไปนอนแล้วค่อยตื่นมาทำงานต่อที่บ้าน ดังนั้นการทำงานไม่ใช่ว่าทำงาน 8 ชั่วโมงจะได้ผลดี แต่จะต้องจัดการเวลาให้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าทำงาน 1 ชั่วโมงเต็มที่ที่สุด อีก 5 ชั่วโมงจะหาไอเดียอื่นๆได้อีกหรือจะทวิตอะไรก็แล้วแต่ได้สบายไม่มีปัญหา

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมงาน และขอบคุณวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ

@TonAwe @nuttaputch @molek @marisanun @vow_vow @kafaak