เปิดมุมมอง Social Enterprise จากงานสัมมนา “How can Corporate Directors Help Nurture Social Enterprise?”
ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังงานสัมมนา How can Corporate Directors Help Nurture Social Enterprise? จัดโดย Thai Institute Of Directors (สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย) หรือเรียกย่อๆว่า IOD ได้ร่วมกับ Singha Corp ในนาม Singha Park Chiang Rai ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ รายละเอียดงานสัมมนา
ถามว่าทำไมถึงมีการกระตุ้นการรับรู้เรื่อง Social Enterprise ในประเทศไทย ก็เพราะประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ในการส่งเสริม Social Enterprises อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะบริษัทในภาคเอกชนที่มีความตื่นตัวในการสร้าง Social Enterprise ตอบแทนสังคม ดังนั้นในการสัมมนาในครั้งนี้ สมาชิก IOD ซึ่งเป็นผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ ระดับ corporate directors จะมองเห็นถึงอนาคตและทิศทางของการพัฒนา social enterprises ให้เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ในประเทศไทยนั้น โดยเฉพาะภาคเหนือ มีการทำ Social Enterprise โดย สิงห์ ภายใต้โครงการ Singha Park Chiang Rai สิงห์ปาร์ค เชียงราย
งานสัมมนาในครั้งนี้ ได้เชิญผู้ที่มีประสบการณ์ตรงด้าน Social Enterprise มาถ่ายทอดให้กับ กรรมการบริษัท ผู้บริหารบริษัท ไดเรคเตอร์ของบริษัท มาบรีฟและแบ่งปันความคาดหวังและมุมมองของการที่ผู้บริหารในองค์กรจะช่วยในการสร้างความต้องการ รวมไปถึงสร้างพฤติกรรมในการสร้าง Social Enterprise เพื่อสังคม เรียกว่าพูดให้ผู้บริหารบริษัทฟังเลยทีเดียว โดยมีผู้ร่วมรายการคือ คุณ Andrew Glass, Country Director ของ British Council Thailand, คุณ Marcus Winsley ผู้อำนวยการทบวงการค้าและการลงทุน สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ รศ. ดร. วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่ปรึกษาด้าน Social Enterprise จังหวัดเชียงราย และคุณบดินทร์ อูนากูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานบริหารและดูแลสายงานปฏิบัติการ และรองประธาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ในงานมีการสอบถามว่า ผู้ฟังคนใด เข้าใจเรื่อง Social Enterprise บ้าง แม้บริษัทจะทราบดีว่า สังคมอาจจะมองการทำเพื่อสังคมเป็นเรื่องการหาผลประโยชน์เพื่อองค์กร แต่ Social Enterprise ก็เป็นสิ่งหนึ่งในการสนับสนุน ความไว้วางใจ เพื่อให้สังคมได้ประโยชน์อย่างแท้จริง ดังนั้นยอมรับว่า การทำธุรกิจเพื่อสังคม ก็คือแสวงหาการยอมรับจากสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับ Social Enterprise จะพูดเรื่อง Social Enterprise ให้ระดับ Director ได้นำไปศึกษาและมีนโยบายในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสังคม เรียกว่าบริษัทใหญ่ไปเป็นพี่เลี้ยงให้สังคมน่าจะคุ้นเคยกันง่ายกว่า แถมให้สังคมได้อย่างถาวรด้วย
แม้หลายคนจะได้ยิน ได้ฟังเรื่อง Social Enterprise มาบ้างแล้ว แต่ในงานสัมมนานี้ จะเป็นการพูดถึง “ความยั่งยืน” ในการสร้าง Social Enterprise ให้กับประเทศชาติ ตอนนี้ผู้บริหารต่างๆ ที่รับฟังก็เป็น Generation Y ที่มีไฟแรงและหัวคิดทันสมัย โดยพูดถึงนิยาม Social Enterprise และประโยชน์ของ Social Enterprise ให้ระดับ Director ปิ๊งไอเดียเอาไปทำในองค์กรของตนเอง
ชมคลิป (ภาษาไทย) โดย รศ. ดร. วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่ปรึกษาด้าน Social Enterprise จังหวัดเชียงราย
เรื่องของ Social Enterprise เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย เรามาทำความรู้จักกับ Social Enterprise ผ่านการนิยามโดย รศ. ดร. วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่ปรึกษาด้าน Social Enterprise จังหวัดเชียงราย มองว่า ผู้ประกอบการในประเทศไทยเรา ควรตื่นตัวเรื่อง Social Enterprise หรือการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม “อย่างยั่งยืน” คำว่า Social Enterprise แปลไทยยาก แต่ถ้าจะหาคำให้ใกล้เคียงก็คือ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” การที่เกิดคำนี้ขึ้นมา ก็เพราะว่า อยากให้ Social Enterprise เกิดในประเทศไทย เพราะอยากเห็นว่า เมื่อบริษัท / ผู้ประกอบการ ทำธุรกิจ ตั้งตัวได้ มีฐานะมั่นคงแล้ว น่าจะมีส่วนช่วยเหลือสังคม (มุมมองผู้เขียน : ผู้ใหญ่ ตั้งตัวได้ก็ควรช่วยเหลือคนที่ยังด้อยโอกาสกว่า) นอกเหนือจาก CSR ที่บริษัทต้องทำ (มีเงื่อนไขที่ต้องทำ ทำเพื่อ Branding) แต่สำหรับ Social Enterprise นั้น ทำเพื่อสังคม แก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของสังคม อยากจะช่วยสังคมอย่างยั่งยืน การมีรายได้ที่ยั่งยืนก็เป็นการช่วยเหลือสังคมได้ เพราะทำให้สังคมตั้งตัวได้ มีความสงบสุข มีความความมั่นคงในอาชีพ โดยมีการเริ่มต้นคือ อยากจะทำอะไรเพื่อ “แก้ไขปัญหา” ช่วยกันแก้ไขปัญหา ในฐานะผู้ที่ตั้งตัวได้แล้ว อยากให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เพราะสังคมเลี้ยงตัวเองได้แล้ว
สังเกตว่าอาจารย์พูดคำว่า “ยั่งยืน” บ่อยมาก เพราะความยั่งยืน คือการมีอาชีพ เลี้ยงตัวเองได้ หมายถึงไม่ต้องอุ้มชู แต่ดำเนินไปได้ด้วยตัวของมันเอง วิสาหกิจเพื่อสังคม เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ใช่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่การทำเพื่อสังคม แต่เป็นการลงไปแก้ปัญหาให้สังคม (โดยบริษัท องค์กรที่มีเงิน) แต่ยังไง บริษัทต้องมีกำไร แต่กำไรกลับเข้ามาสู่สังคมนั้นๆ แม้จะทำ Social Enterprise ก็ต้องมีกำไร ไม่ใช่ขาดทุน ต้องมีรายได้กลับคืนสังคม จะบอกว่าทำแล้วไม่หวังอะไรเลย ก็เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าทำแล้ว ทุกอย่างดีขึ้น เลี้ยงสังคมได้ แก้ปัญหาได้จริง และจะต้องรักษาสิ่งแวดล้อม มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ถ้าไม่ทำให้ดีขึ้น ก็อย่าทำลาย ดังนั้น Social Enterprise ช่วยเหลือ People คนในชุมชน รักษ์สิ่งแวดล้อม ถ้าทำแล้วมีอาชีพยั่งยืน มีกำไร ก็อยากจะให้บริษัทต่างๆเข้ามาทำตรงนี้
ในงานสัมมนาในครั้งนี้ มีหลายฝ่าย ทั้งส่วนของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีมุมมองจาก คุณ Andrew Glass, Country Director ของ British Council Thailand, คุณ Marcus Winsley ผู้อำนวยการทบวงการค้าและการลงทุน สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ ก็พูดถึงเรื่องของความจริงจังในการทำ Social Enterprise ในต่างประเทศ กับความกังวลของผู้บริหารต่อผู้ถือหุ้น อย่างไรก็ตามการทำ Social Enterprise จะต้องมีกำไร ให้ผู้ถือหุ้น หลักๆคือช่วยให้คนในชุมชุนมีอาชีพ เลี้ยงตัวเองได้ มีรายได้ และมีผลกำไรกลับคืนสู่ชุมชน แต่ทั้งนี้ บริษัทที่สนับสนุน Social Enterprise ในสังคมเองก็จะต้องมีกำไรด้วย ดังนั้นชัดเจนว่า แม้บริษัทจะไปทำ Social Enterprise ก็ขาดทุนไม่ได้ ต้องมีกำไร ผู้ถือหุ้นน่าจะแฮปปี้ตรงนี้ ถ้าทำแล้วยังมีกำไร ก็ Go On ต่อได้แน่นอน
สำหรับประเทศไทยนั้น ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ที่ดูแลบริษัทต่างๆที่มีการปันผล มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม อะไรก็ตามที่ทำแล้ว ยังมีกำไร ผู้ถือหุ้นไม่กังวล นักลงทุนไม่กังวลก็สามารถทำได้ ยิ่งดีซะอีกได้ช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริงและยั่งยืน
ตรงนี้ผมขอเน้นมุมมองของคุณบดินทร์ อูนากูล จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ผมชอบเขาพูดมากๆ น่าสนใจและพูดเก่ง ไปชมคลิปกันครับ (ภาษาไทย)
การทำ Social Enterprise นั้น หลายๆคนที่พูดบนเวที เน้น “ความยั่งยืน” หมายถึง “ไม่ฉาบฉวย” ไม่ใช่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เกิดประโยชน์ให้สังคมจริง แก้ไขปัญหาให้สังคมได้จริง มีรายได้จริง เลี้ยงตัวเองได้จริง ตลาดหลักทรัพย์เองก็มองเรื่องการลงทุน แต่ลงทุน “เพื่อสังคม” บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีพลังสำคัญในการสร้าง Social Enterprise ทำแล้วไม่เสียเปล่า ไม่เหมือนกับการทาสี การสร้างฝาย การเก็บขยะ สร้างแล้ว ก็ไม่ยั่งยืน เวลาผ่านไปก็สูญเปล่า (แต่กลับไปทำใหม่ได้ แต่ก็ไม่ยั่งยืนถาวร) สร้างแล้วกลับไปดูก็ไม่เหมือนเดิม แต่การทำเป็นเรื่องเป็นราว ทำธุรกิจต่อเนื่องสำคัญกว่า การทำเพื่อสังคมนั้น การขอสินเชื่อจากธนาคารมาทำ Social Enterprise ธนาคารก็ไม่ให้ เพราะกำไรน้อย ทำให้ผู้บริหารมองว่า การทำเพื่อสังคมจับต้องยาก และกว่าจะได้กำไรต้องใช้เวลา การไปทำอย่างอื่นได้กำไรเร็วกว่า มองเห็นผลไวกว่า (ธนาคารก็ปล่อยกู้) แต่หากจะมองเรื่องกำไรของ Social Enterprise การลงทุน สิ่งที่ได้คือสังคม ทำไมตลาดหลักทรัพย์ให้ความสนใจตรงนี้ เพราะอยากจะให้สังคมอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ทุน สนับสนุนให้เขามีงานทำ มีรายได้ เอาจริงๆ บริษัทใหญ่ๆทำ CSR เป็นร้อยล้าน แทนที่จะสร้างฝาย ก็ทำ Social Enterprise ยั่งยืนกว่า ชมคลิปจะเข้าใจมากขึ้นครับ
ขอบคุณ Singha Park Chiang Rai สิงห์ปาร์ค เชียงราย ที่เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ครับ
อ่านข่าว ตลท.ผลักดัน Social Enterprises กระตุ้น 642 บจ.เข้าไปส่งเสริมและช่วยเหลือสังคมให้ได้ทั้งหมด บทความ Blog Social Enterprise ในประเทศไทย
One thought on “เปิดมุมมอง Social Enterprise จากงานสัมมนา “How can Corporate Directors Help Nurture Social Enterprise?””