มองแนวโน้มตลาดแรงงานไทยปี 2556 จุดประกายแนะแนวสร้างอาชีพ

IMG_20131128_131722

ได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน Adecco Preview of the 2014 Thai Job Market ได้มุมองภาพรวมตลาดแรงงานที่น่าสนใจ ผมมองว่าเด็กที่เรียนในระดับมัธยม น่าจะศึกษาความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อให้เลือกเรียนในสายอาชีพในระดับมหาวิทยาลัย หรือประกาศณียบัตรวิชาชีพในสาขาที่ตลาดต้องการ

IMG_20131128_134346

IMG_20131128_134554

ข้อมูลที่น่าสนใจ Adecco บอกว่า งานในสายวิศวกรรม (Engineer) งานขาย (Sales) บัญชี ธุรการ ไอที ได้รับความนิยมมากที่สุด ส่วนประเภทอุตสาหกรรมยานยนต์ อีเล็คทรอนิคส์ สินค้าอุปโภคบริโภค ไอที และธุรกิจก่อสร้าง มาแรง ได้รับความนิยมในการหางาน

IMG_20131128_135038

คุณธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ Regional Director Adecco ไทยและเวียดนาม ได้ให้มุมมองว่าประเทศไทยมีแรงงานด้านการส่งออกเป็นหลัก ตัวเลข GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในช่วง 9 เดือน ในปี 2556 ขยายตัว 3.7% แต่ถ้านับถึงสิ้นปี น่าจะเป็น 3% เพราะช่วงไตรมาสที่ 3 การลงทุน การส่งออก การเกษตร และอุตสาหกรรมลดลง ส่วนจำนวนผู้ว่างงาน ในเดือนกันยายน 264,000 คน คิดว่าอัตราว่างงานร้อยละ 0.7 ซึ่งถือว่าน้อยมาก สิ่งที่ขาดคือ นายจ้างอยากจะได้ลูกจ้างที่มีทักษะ ตอนนี้ลูกจ้างขาดทักษะ อย่างเช่นด้านภาษา ฝีมือ แถมอยากได้ประสบการณ์ตรงกับตำแหน่งงาน เด็กจบใหม่หรือเด็กมัธยมต้องสนใจ คือไม่ใช่เรียนตามเพื่อน หรือการเลือกสาขาเรียนก็สำคัญ ต้องดูว่าตลาดต้องการแรงงานด้านใด ปัจจัยการปรับฐานเงินเดือน 15,000 บาท สำหรับวุฒิปริญญาตรีก็มีส่วนกระทบด้วย การว่างงานมีมากขึ้น เยอะขึ้นเพราะความไม่ match กันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ตรงนี้น่าจะทำให้เด็กมัธยมน่าจะเริ่มคิดได้แล้วว่า นายจ้างไม่ได้ต้องการแค่วุฒิการศึกษาตรงสาขาอาชีพ แต่ต้องการทักษะในการทำงาน ตอนนี้อุตสาหกรรมยานยนต์เติบโต แต่ขาดแคลนแรงงาน เพราะแรงงานขาดทักษะ ทักษะจึงสำคัญมากในยุคนี้ อีกเรื่องที่น่าสนใจคือภาษาญี่ปุ่น คนเป็นล่ามญี่ปุ่น ดูแลลูกค้า ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด รองรับตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น

IMG_20131128_135250

IMG_20131128_140059

สำหรับสายงานที่มีการจ้างงานและหาคนทำงานมากที่สุดคือ สายงานวิศวกรรม งานขาย บัญชี ธุรการ และไอที แต่ถ้ามองในมุมของนายจ้าง กลับหาคนทำงานในกลุ่ม ยานยนต์ อีเลคทรอนิคส์ สินค้าอุปโภค บริโภค เทคโนโลยีสารสนเทศ และธุรกิจก่อสร้างมากกว่า เมื่อ Demand และ Supply ไม่ตรงกัน ทำให้ฝ่ายนายจ้างขาดแคลนแรงงาน ฝ่ายลูกจ้างก็หางานทำไม่ได้ เพราะ Skill ไม่ตรงกันนั่นเอง หากเทียบแล้ว ตำแหน่งการตลาด และไอที มีความต้องการมากที่สุด แต่จำนวนว่างงานไม่สอดคล้องกัน

IMG_20131128_135852

ในขณะที่ งานขาย ธุรการ บัญชี วิศวกรรมที่ตลาดต้องการมาก กลับขาดแคลนแรงงาน ดังนั้น ในปี 57 เรามองที่ทักษะ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ดังนั้นเรื่องผลการเรียนที่เมื่อก่อนเคยมีค่านิยม น่าจะเปลี่ยนไปเพราะ Skill สำคัญที่สุดในการแข่งขัน

IMG_20131128_140200

Top 5 ตำแหน่งยอดนิยมสำหรับคนทำงานออฟฟิศ

Top 5 ตำแหน่งงานไอที

Top 5 ตำแหน่ง Engineer

ส่วนเทรนด์การทำงานปีหน้า น่าสนใจมาก

เน้นเรื่องความเชี่ยวชาญแรงงานฝีมือ การเปลี่ยนฐานการผลิต และคนทำฟรีแลนซ์มากขึ้น เพราะรับเป็นโปรเจค ไม่ต้องทำงานในออฟฟิศ ทำงานที่ไหนก็ได้ ไม่ยึดติดกับการทำงาน Full-time

เมื่อก่อนนายจ้างเป็นคนเลือก แต่สมัยนี้คนที่มีความสามารถ (talent) เลือกได้ว่าอยากจะอยู่บริษัทใด ระยะเวลานานแค่ไหน

มองภาพรวมตลาดแรงงานในเอเชียกันบ้าง คุณเอียน กรันดี้ ผอ.ฝ่ายการตลาดและปชส. อเด็คโก้เอเชีย ให้ข้อมูลว่า ในปี 2556 อัตราการว่างงานในเอเชียสูงเป็นประวัติศาสตร์ สาเหตุคือความสามารถผู้สมัครไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ในขณะที่ไทยมีอัตราว่างงานต่ำที่สุดรองจากเกาหลีใต้ และสิงคโปร์ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุของการว่างงานมาจาก ขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทาง สถานที่ทำงานไม่ดึงดูดใจ หรือทำเลที่ตั้งไม่ดึงดูดใจ

อาชีพที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานเอเชียสูงสุดติดอันดับ 1 ใน 5 ในปี 2556 คือ งานขาย วิศวกรรมทุกสาย บัญชีและการเงิน นักวิจัย (R&D) พนักงานออฟฟิศ (ฝ่ายสนับสนุน) ส่วนอุตสากรรมที่มีการเติบโตสูงติดอันดับ 1 ใน 5 ในเอเชียปี 2556 นี้คือ วิศวกรรม ไอที บัญชีและการเงิน แพทย์และการสาธารณสุข และพลังงาน ประเด็นที่น่าคิดคือ ผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (40%) ส่งผลให้ผลิตผลและอัตราการแข่งขันลดลง และยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อลูกค้าลดลง(40%) โดยเฉพาะกับประเทศไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง จีน และประเทศไทย ส่วนปัญหาที่น่าห่วงสำหรับประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซียคือ เกิดจากพนักงานเปลี่ยนงานกันบ่อยขึ้น (23%) และเกิดจากค่าตอบแทนที่สูงขึ้น (18%)

อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ ดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันการผลิต ดึงดูด และรักษาคนเก่งทั่วโลก (Global Talent Competitiveness Index- GTCI) อันนี้สดๆร้อนๆ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ที่ผ่านมานี่เอง โดยกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศสิงคโปร์

• ประเทศแถบยุโรปส่วนใหญ่มีความสามารถในการดึงดูดและรักษาคนเก่งอยู่ในอันดับต้น โดยครอง 8 ตำแหน่งใน 10 อันดับ และ 14 ตำแหน่งใน 20 อันดับ
• ประเทศสิงคโปร์ เอสโตเนีย และ มาเลเซีย จัดได้ว่าเป็นกลุ่มดาวเด่นหรือคนเก่งรุ่นใหม่ (New Talent Champions) ได้นำเสนอแนวทางใหม่สำหรับประเทศอื่นๆ
• การลงทุนด้านการศึกษาและทักษะความรู้ระดับสากล เป็นกลยุทธ์สำคัญในการการดึงดูดและรักษาคนเก่งในประเทศ
• การว่างงานของเยาวชน การอพยพย้ายถิ่น และเทคโนโลยี ยังคงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับเศรษฐกิจทั่วโลก
• ประเทศไทยติดอันดับที่ 72 จากทั้งหมด 103 ประเทศด้วยคะแนน GTCI 40.37

จากข้อมูลการศึกษาระหว่างประเทศพบว่า ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศเดนมาร์ค เป็นผู้นำในการดึงดูดและรักษาคนเก่งไว้ในประเทศ ผลการวิจัยนี้เกิดขึ้นจากการร่วมมือของกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ INSEAD (วิทยาลัยธุรกิจชั้นนำระดับโลก ของประเทศฝรั่งเศส) และ Human Capital Leadership Institute of Singapore (HCLI) ซึ่งพบว่า
คนเก่งเป็นทรัพยากรสำคัญในธุรกิจของโลกปัจจุบัน

การศึกษานี้แสดงถึงความสามารถในการแข่งขันการผลิต ดึงดูด และรักษาคนเก่งใน 103 ประเทศ ซึ่งคิดเป็น 86.3% ของประชากรโลก และ 96.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (ดอลล่าร์สหรัฐ)

10 อันดับของการจัดลำดับประเทศด้านความสามารถในการแข่งขันการผลิต ดึงดูด และรักษาคนเก่ง
1 สวิตเซอร์แลนด์ 6 เนเธอร์แลนด์
2 สิงคโปร์ 7 สหราชอาณาจักร
3 เดนมาร์ค 8 ฟินแลนด์
4 สวีเดน 9 สหรัฐอเมริกา
5 ลักเซมเบิร์ก 10 ไอซ์แลนด์

ผลที่ได้จากการจัดอันดับ GTCI พบว่า ประเทศที่ติดอันดับต้นๆ ส่วนใหญ่เป็นประเทศแถบยุโรป โดยมีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ไม่ได้อยู่ในทวีปยุโรปคือ สิงคโปร์ (อันดับที่2) และ สหรัฐอเมริกา (อันดับที่ 9)

ประเทศที่อยู่ในอันดับต้นๆ นั้นมีคุณลักษณะบางประการที่คล้ายกันในหลายด้าน อาทิ ความมุ่งมั่นและทุ่มเทเรื่องการศึกษาที่มีคุณภาพ (อังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์) ประวัติการอพยพย้ายถิ่น (สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย) และ กลยุทธ์ที่ชัดเจนสำหรับการพัฒนาและดึงดูดคนเก่ง(สิงคโปร์)

จากผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า ทวีปยุโรปตอนเหนือมีศักยภาพที่สูงมาก โดยประเทศเดนมาร์คมีความโดดเด่นที่สุดในบรรดาประเทศในยุโรปเหนือ เนื่องจากความซื่อสัตย์ของข้าราชการและความมีประสิทธิภาพของรัฐบาล นอกจากนี้เดนมาร์คยังมีความยืดหยุ่นในตลาดแรงงานและการคุ้มครองทางสังคมมากกว่าประเทศอื่นในยุโรปเหนือ ซึ่งเอื้ออำนวยให้เดนมาร์คได้ลำดับที่ 3 ไปครอบครอง

ผลวิจัยนี้สามารถบอกข้อมูลเกี่ยวกับการดึงดูดและรักษาคนเก่งทั่วโลกและปัจจัยต่างๆที่มีความสำคัญสำหรับนายจ้างและผู้วางนโยบาย ส่วนรัฐบาลก็สามารถนำนโยบายเกี่ยวกับคนเก่งมาปรับใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญในการดึงดูดบริษัทข้ามชาติเข้ามาในประเทศและสร้างการจ้างงาน อบรมบุคลากร ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาบุคลากร

นอกจากนี้ยังได้เปิดตัว Adecco Thailand Salary Guide 2014 ในรูปแบบแอพพลิเคชั่นบน iOS, Android, Windows Phone 8 ปีก่อนเป็นหนังสือเล่ม ปีนี้เป็นแบบ e-salary guide เอาไว้พกติดตัว และยังได้เปิดเว็บไซต์หางาน JobShopThai.com เพื่อรองรับการให้บริการเป็นภาษาไทย (เปิดให้บริการ 1 มกราคม 2557) ในขณะนี้บริการหางานของ Adecco เป็นภาษาอังกฤษ