Yokekung World

ลูกจ้างชายพ่อลูกอ่อน ควรได้ลาหยุดเพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงลูกหรือไหม?

  1. มีประเด็นว่า ก่อนหน้านี้ ข้าราชการชาย สามารถลาคลอด (จริงๆคือลาหยุด) ไปช่วยดูแลภรรยาหลังคลอดบุตรได้ 15 วันติดต่อกัน อันนี้สำหรับข้าราชการ แล้วสำหรับลูกจ้างเอกชนล่ะ? ใครๆก็คิดว่า ลูกจ้างเอกชนงานเยอะ ติดประชุม หาลูกค้า โน่นนั่นนี่ แล้วหน้าที่ของสามีในการดูแลภรรยาหลังคลอดบุตรล่ะ ควรได้ลาหยุดด้วยไหม?
  2. kcltv
    ข้าราชการชายเฮ ครม.อนุมัติให้ลาไปเฝ้าเมียหลังคลอดได้ 15 วัน แต่มีข้อแม้ต้องเป็นเมียโดยชอบตามกฎหมาย #kcltv
  3. 1)นายกฯสั่งการให้ข้าราชการที่จะลาไปช่วยภรรยาคลอดบุตรต้องมีหนังสือรับรองจากภริยาแนบมาด้วย-ต้องจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาให้อนุญาตก่อน #kcltv
  4. 2)วันนับตั้งแต่วันที่คลอดบุตร โดยถือให้เป็นสิทธิ์การลาประเภทหนึ่งที่ยังได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ลาดังกล่าว” นายวัชระแถลง #kcltv
  5. ขอบเขตระเบียบนี้บังคับใช้กับข้าราชการได้แก่ข้าราชการพลเรือน,ข้าราชการในสังกัดอุดมศึกษา,ข้าราชการการเมือง,ข้าราชการตำรวจ,ข้าราชการกทม. #kcltv
  6. ตามกฎหมายไทยความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอาจเริ่มขึ้นได้จาก2กรณี-1)โดยการสมรสดดยชอบด้วยกฎหมายกฎหมายตั้งแต่ก่อนเด็กเกิด 2)โดยคำสั่งศาล #kcltv
  7. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมชงสิทธิ “ชายไทยลาคลอดตามภรรยา” ขยายครอบคลุมรัฐวิสาหกิจ-เอกชน หลัง ขรก.ชายลาได้ 15 วัน #kcltv
  8. เมื่อวาน (5 ธันวาคม 2555) ผมไปออกรายการ คม ชัด ลึก ทางเนชั่น แชลแนล ในฐานะ “คุณพ่อ” มือใหม่ และยุค Social Network ประเด็นหนึ่งที่คุยกันในรายการก็คือ ลูกจ้างชาย (เอกชน) ควรจะได้ลาหยุดเพื่อดูแลภรรยาที่เพิ่งคลอดบุตรไหม

    จากประสบการณ์ตรงของผม ที่เพิ่งมีลูกอ่อนวัย 4 เดือนเศษ กำลังน่ารักเลย ผมมองว่า แม้ว่าภรรยาจะคลอดบุตรเอง หรือผ่าคลอด ก็ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นร่างกายสักระยะ อย่างน้อยก็อาบน้ำลำบาก ลุกลำบาก และแม่ลูกอ่อนก็ต้องให้นมลูกทุกๆ 3 ชั่วโมง นอนก็น้อย อ้อ แล้วสมัยนี้ไม่ใช่ว่าผู้หญิงจะได้ลา 90 วันเต็มนะครับ เพราะสมัยนี้ผู้หญิงก็ทำงานเก่ง ต้องทำงานหาเงิน ยิ่งเอกชนแล้วหาลาคลอด แล้วคนที่มาทำแทน ทำงานได้ไม่ดี บริษัทก็เสียโอกาสทาางธุรกิจไปเหมือนกัน

  9. คมชัดลึก ตอน พ่อจ๋า…ยุคดิจิตอล? กับ @suharit @yokekung และ คุณจะเด็จ เชาวน์วิไล ตามอีกครั้งได้ที่ bit.ly/YAdqoy #kcltv
  10. เทปรายการ ที่ผมไปคุยกับคุณจะเด็จ และคุณ @suharit ครับ
  11. เรื่องลาคลอดสำหรับพ่อ เราเรียกร้องมานานแล้วครับ เพิ่งมาได้รัฐบาลนี้ช่วงต้นปี …จะเ็ด็จ เชาวน์วิไล #kcltv
  12. สิทธิ์ลาคลอดของข้าราชการผู้ชายใช้ได้ 15 วัน ณ ปัจจุบันนี้…จะเด็จ เชาวน์วิไล #kcltv
  13. บางคนก็ใช้สิทธิลาคลอดบุตร ไปทำแบบอื่น ซึ่งก็ยังคงเป็นปัญหา …จะเด็จ เชาวน์วิไล #kcltv
  14. สำหรับต่างประเทศได้สิทธิ์ลาคลอดได้มากกว่านั้น บางที่ใช้ได้ 45วัน / 90 วัน …จะเด็จ เชาวน์วิไล #kcltv
  15. ลองดูรายการย้อนหลัง คุณจะเด็จ ผม และคุณสุหฤท พูดในเรื่องการลาคลอดของผู้ชายช่วยภรรยาเลี้ยงลูก http://www.youtube.com/watch?v=s4LyK_M6J2o
  16. เอาล่ะ หลังจากไปคุยใน คมชัดลึก เมื่อวาน ล่าสุดมีข่าวว่า พ่อหยุดงานเลี้ยงลูกได้ โดยได้รับเงินเดือนปกติ bit.ly/YQLuf0 #dadth
  17. ล่าสุด วันที่ 6 ธันวาคม มีข่าวออกมาแล้ว รมว.แรงงานบอกว่า น่าจะออกเป็นกฏกระทรวง ขอความร่วมมือ เพราะกระทรวงไม่สามารถบังคับผู้ประกอบการได้ และหากออก พรบ.ต้องใช้เวลานาน อ่านข่าวนี้จาก กรุงเทพธุรกิจ
  18. รมว.แรงงาน บอกว่าจากที่มีข้อเสนอของหน่วยงานรัฐและเอกชนขอให้ลูกจ้างชายสามารถลางานได้ถึง 90 วันติดต่อกัน เพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงลูกที่เพิ่งคลอด
  19. รมว.แรงงานบอกว่า ลูกจ้างชาย สามารถลาหยุดงานได้ติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน เพื่อไปช่วยภรรยาเลี้ยงลูก ผมว่าเหมาะสม เพราะผู้หญิงต้องพักฟื้น #dadth
  20. รมว.แรงงาน อยากขอความเห็นใจและขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการต่างๆเปิดโอกาสให้ ลูกจ้างชายพ่อลูกอ่อน #dadth
  21. การที่ผู้ชายลาช่วยภรรยาเลี้ยงลูก ในช่วง 15 วันหลังคลอด จำเป็นมาก เพราะช่วงนั้นคุณแม่มือใหม่วิตกกังวลและยังไม่แข็งแรงพอ #dadth
  22. ส่วนตัวผมมองว่า การที่ผู้ชายจะลาไปดูแลภรรยาที่เพิ่งคลอด จำเป็นมาก เพราะแม้ว่าจะผ่าคลอด หรือคลอดเอง ร่างกายภรรยาต้องพักฟื้นสักระยะ #dadth
  23. การให้ลูกจ้างชาย ลาไปช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร (ต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายจ้างว่าจะอนุญาตให้ลาได้กี่วัน
  24. สรุปว่า เข้าใจกันนะครับ ว่าต่อไป ผู้ชาย “มีสิทธิ” ลาไปช่วยภรรยาเลี้ยงลูกได้ และดูแลภรรยาหลังคลอดบุตรได้ แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท แต่ที่ผมแนะนำ หากเอกชนสามารถให้พนักงานทำงานแบบ Work from home ได้ ทำงานที่บ้านผ่านอินเทอร์เน็ตของบริษัทได้ การลาก็ไม่ทำให้งานมีปัญหาครับ เพราะประชุมผ่าน VDO Conference, Skype ก็ได้ หรือเปิด Speker Phone ประชุมด้วยก็ยังได้ (ผมเคยทำมาแล้วตอนดูแลภรรยาช่วงคลอดบุตร)
Exit mobile version