คิดก่อนโพส กับการใช้งาน Social Media ในที่ทำงาน

ภาพประกอบจาก http://images.feedgrids.com:81/assets/post_images/113dfcf0b4f9b22cc48d71ac8e4141b4.jpg
ภาพประกอบจาก http://images.feedgrids.com:81/assets/post_images/113dfcf0b4f9b22cc48d71ac8e4141b4.jpg

หลังจากที่ผมได้ทวิตผ่านแท็ก #HRtwt บน twitter ในหัวข้อ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่อองค์กร ต่อยอดมาถึงหัวข้อ การเปรียบเทียบพฤติกรรมในองค์กร ก่อนและหลัง Social Media เพราะจากที่ผมได้ทำงานมาร่วมๆ 8 – 9 ปี นั้น ผมทำงานออฟฟิศในลักษณะที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าเป็นงานที่โชคดี เพราะไม่มีบริษัทใดที่เคยทำงาน ปิดกั้นการใช้งาน Social Media ไม่ว่าจะเป็น Email นอกอย่าง Hotmail, Yahoo, Gmail โปรแกรมแช็ต MSN ที่ยอดฮิตติดลมบน จริงๆผมมองว่า Social Media นั้น มันเกิดมาจาก MSN แล้วล่ะ เพราะมีการขึ้น “หัวเอ็ม” นั่นคือการขึ้นแสดง “Status” ความรู้สึกของเราในขณะนั้น

ยอมรับว่าสมัยก่อนผมเองก็เป็น เพื่อนก็ขึ้นหัวเอ็มบ่นการทำงาน เช่น “ทำงานตามสั่ง” เรียกได้ว่าเป็นการประชดประชันการทำงานที่มีหัวหน้าคอยสั่งๆๆ พอคิดอะไรไปก็ไม่เอา ไม่เห็นด้วย แล้วสุดท้ายก็ต้องทำงานตามสั่งโดยไม่ใช้หัวคิดของตัวเอง เพราะคิดไปหัวหน้าก็ไม่ฟัง นี่คือการแสดงออกในขณะทำงาน เราไม่ถูกปิดกั้น social media ก็จริง และ social media คือสื่อส่วนตัวของเราก็จริง แต่การนำมาใช้ก็ไม่ถูกไม่ควร เพราะการขึ้นหัวเอ็ม Status นั้น หัวหน้าก็เห็น เพราะสมัยนั้นทุกคนออนไลน์ MSN และคุยงานผ่าน MSN กัน ทุกโต๊ะมีคอมพิวเตอร์ ทุกหน้าจอออนไลน์ MSN เพื่อ นินทาเพื่อนร่วมงาน นินทาเจ้านาย พอขึ้นหัวเอ็ม เพื่อนในแผนกก็รู้กัน บางทีเราก็มีชื่อเรียกหัวหน้าเป็นโค้ดลับ อันนี้คือการแสดงออกเพราะเรามี “พื้นที่สื่อของตนเอง” นั่นคือการแสดงออกเฉพาะกลุ่ม ไม่ได้เป็นปัญหา แต่เมื่อ Social Media ได้รับการความนิยมมากขึ้น twitter facebook หลายๆคนเริ่มมีการโพสด่าเจ้านาย นินทาเพือนร่วมงาน บน Social Media โดยไม่ได้เฉลียวใจว่า คนเหล่านั้นจะเข้ามาอ่านเจอหรือไม่ บางคนคิดว่าไม่มีใครเล่น twitter ในที่ทำงานหรอก แต่สมัยนี้ ทุกคนรู้จักกันหมด เราไม่รู้ว่าคนนี้รู้จักเพื่อนเราหรือเปล่า เพื่อนเราอาจจะเห็นข้อความแล้วนำไปบอกเจ้าตัวก็เป็นได้ และหลายๆที่ก็มีกรณีพิพาทกันในการโพสด่ากันบน Social media โดยเฉพาะ Facebook ใช่ครับ สมัยนี้คนเล่น facebook เยอะ แม้ว่าบริษัทไม่ปิดกั้น หรือปิดกั้น บางคนก็โพสผ่านมือถือตนเอง เน็ตตัดก็ต่อ 3G ใช้เอง โลกมันเปลี่ยนไปเร็วมาก แต่การใช้งาน Social Media นั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ อย่าลืมว่า คุณก็ใช้เน็ต ใช้เครือข่าย ใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ของสำนักงานออฟฟิศ แล้วเวลางานก็ด่าเจ้านาย นินทาเพื่อนฝูง แต่รับเงินบริษัทเต็มๆ นั่นคือพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่อองค์กรเช่นกัน

ภาพประกอบจาก http://www.ilmkidunya.com/UserFiles/be-careful-post-facebook-1.jpg
ภาพประกอบจาก http://www.ilmkidunya.com

หัวข้อนี้ เริ่มจากเมื่อหลายปีผมเห็นเพื่อนบ่นการทำงานบน MSN นั่นคือการแสดงออกในพื้นที่ส่วนตัว แน่นอนว่า หัวหน้าเห็น แล้วเพื่อนร่วมงานก็เห็น เพราะเวลาเราจะคุย MSN ก็จะดู Status ก่อน ดูอารมณ์ก่อนว่าควรจะเข้าไปคุยงานตอนนั้นไหม บางคนโพสสถานะว่า หงุดหงิด ทันทีหลังจากงานที่นำเสนอไม่ผ่าน หัวหน้าก็ทราบว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร มันคือการแสดงออก แต่นั่น บริษัทใจดีให้คุณใช้ Social media ในการสร้างประโยชน์ให้บริษัท ไม่ใช่การเปิดโอกาสให้พื้นที่สื่อเพื่อด่าบริษัท บางที่อินเทอร์เน็ตช้า ล่ม คนก็บ่นผ่าน social media แล้ว อาจจะคิดว่าไม่เป็นไร แต่บางคนที่มองเข้ามานั้น อาจจะคิดไปไกลขนาดที่ว่า เน็ตไม่ดี คอมไม่ดี แล้วจะทนทำงานไปทำไม ทำไมไม่ลาออกไปซะเลย หรือคิดไปในแง่ที่ว่า ภาพลักษณ์ของบริษัทแย่ ทำไมบริษัทนี้ มีแต่พนักงานบ่นเรื่องงาน ถึงจะพูดลอยๆ แต่อย่าลืมว่า ตอนนี้ทุกคน Check-ins บริษัท ที่ทำงาน ดังนั้นคนที่ติดตาม ย่อมจะรู้ว่า หมายถึงบริษัทใด ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ทำงานบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต แต่บ่นว่าเน็ตช้า เน็ตล่ม คนทั่วไปจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสินค้าและบริการของบริษัทนั้นดีจริง เพราะขนาดพนักงานยังบ่นเลย

สมัยก่อนนั้น จำได้ว่าถ้าเราไม่สบายใจเรื่องงาน ตอนทานข้าวกลางวัน ก็จะจับกลุ่มกันคุยเรื่องงาน บ่นเรื่องงาน (แน่นอนว่าหัวหน้าไม่ได้ไปกินข้าวกับเราหรอก เพราะหัวหน้าอยู่ในอีกระดับขั้น มีแม่บ้านซื้อข้าวให้ และไปทานข้าวกับระดับหัวหน้าด้วยกัน) นั่นคือโต๊ะกินข้าวเป็นสภากาแฟที่เรามักบ่นเรื่องงาน แต่พอเข้าออฟฟิศ ทุกคนจับจ้องที่ MSN เจ้านายเดินมาก็คุยเอ็มกับคนข้างๆนินทาเจ้านาย ไม่พอใจก็ขึ้นหัวเอ็ม แน่นอนว่า หัวหน้าได้อ่านชัวร์ เพราะแอดกันอยู่ แล้วหัวหน้าก็ตอบกลับด้วยสถานะของหัวหน้า บางครั้งแค่เพียงหัวหน้าเปลี่ยนสถานะบน MSN เพื่อนร่วมงานก็ซุบซิบกันแล้ว แต่นั่นคือการคุยในกลุ่มเล็กๆ แต่ปัญหาเกิดเมื่อมีการนำไปโพสบน Social Media ใหญ่ๆ อย่าง twitter facebook ซึ่งมีเพื่อนร่วมงานติดตามอยู่ และหากไม่มีเพื่อนร่วมงานติดตาม ก็อาจจะมีเพื่อนของเพื่อนร่วมงานที่เป็นเพื่อนเรานำข้อความไปบอก ทำให้เกิดการขุ่นข้องหมองใจกันได้

ประเด็นในการใช้ Social media ในการทำงานเป็นเรื่องที่ดี อย่างเช่นการประชาสัมพันธ์องค์กรผ่าน Location-based Service อย่าง FourSquare หรือ Gowalla แต่หากนำไปใช้ในทางไม่เหมาะสมอย่างการนินทาเจ้านาย ประชดประชัน กระทบกระเทียบ กระแทกแดกดันเจ้านาย ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่แย่ จริงอยู่เป็นเรื่องที่เรา “ทำได้” เพราะพื้นที่ส่วนตัวของเรา แต่เราใช้ เครือข่ายขององค์กร เราใช้อุปกรณ์สำนักงาน มันเหมาะสมแล้วหรือ แม้ว่าบางคนจะแย้งว่า สมัยนี้ใช้มือถือตัวเอง เครือข่ายตัวเอง นั่นก็คือเวลางานนั่นแหล่ะ เขาจ้างมาทำงานหรือจ้างมาด่าบริษัท??

ภาพประกอบจาก http://www.socialf5.com/blog/wp-content/uploads/2011/07/Recruiters-social-media-content.jpg
ภาพประกอบจาก http://www.socialf5.com

การประชดประชัน เห็นได้ตั้งแต่เล่น MSN ยังไม่ได้ใช้ Hi5 เลยด้วยซ้ำ เพราะเป็นการแสดงสถานะของตนเองว่า เบื่องาน อีกใจก็อยากให้คนเมนต์และคนคุยด้วย พอเพื่อนมาทักว่า เป็นอะไรเหรอ ก็ได้โอกาสระบายความในใจกับเพื่อนคนนอก และในการใช้งาน Social Media มีผลต่อการรับคนเข้าทำงานด้วย อย่างเช่น เราจะรับคนเข้าทำงาน ผู้จ้างงานเข้าไปดู Social Media ของบริษัท หากพอข้อความไม่เหมาะสมก็อาจะมีผลต่อการจ้างเข้าทำงานได้ เช่น โพสว่า ไปสมัครงานบริษัทนี้ แต่กดเงินเดือน ไม่อยากทำเลย หากบริษัทพิจารณารับเข้าทำงานแล้วแต่พบข้อความนี้ ก็อาจจะถูกเลิกจ้างได้ทันที การโพสอะไรก็ตาม บน social media หากเป็นคนทำงานมาแล้วหลายที่ แล้วบริษัทที่คุณสมัครงานใหม่ พบว่าคุณเพิ่งจะด่าบริษัทเก่าที่ทำงานอยู่ผ่าน social media คุณก็มีโอกาสถูกเลิกจ้างได้เช่นกัน เพราะไม่มีใครอยากจะรับคนที่เข้ามาด่าบริษัททุกวัน

จริงอยู่ว่าทุกคนอยากระบายความเครียด จากการทำงานที่ไม่ได้ดังใจที่หวังไว้ ทำได้ครับ แต่ออฟไลน์เถอะครับ คุยกัน นั่งกินข้าว คุยกันในกลุ่ม ดีกว่าการไปโพสในสื่อสังคมออนไลน์สาธารณะ เพราะตอนนี้ความลับไม่มีในโลก การโพสบน Social Media อาจจะไม่มีหัวหน้าเข้ามาเห็น แต่เพื่อนของเขาก็อาจจะเจอข้อความแล้วเข้ามาบอก อย่าลืมนะครับ Facebook เราใส่ไปด้วยว่าทำงานบริษัทไหน แถมยังมี Linkedin อีก

และสำหรับในบางรูปแบบการทำงาน การบ่นใน Social Media คู่แข่งอาจจะติดตามเราอยู่ เช่น เราบอกว่า เพิ่งเลิกประชุมดึก คู่แข่งอาจจะเริ่มคิดแล้วว่า ประชุมดึกหัวข้ออะไร ตอบโต้คู่แข่งหรือเปล่า แบบนี้เป็นต้น ดังนั้น การโพสต์อะไรจะต้องคิด อย่างมากผมก็บอกว่า เพิ่งประชุมเสร็จ หิวมาก แค่นั้น แต่ไม่ลงรายละเอียดเพราะบางอย่างทวิตไม่ได้ คนตามเราคือใครบ้าง คู่แข่ง เพื่อนร่วมงาน และใครที่เราไม่รู้จักว่ารู้จักกับใครที่เรารู้จักเราอีกบ้าง

Social Media ในที่ทำงาน ใช้ประโยชน์ก็ดีต่อองค์กร แต่หากนำไปใช้ไม่ถูกไม่ควร ก็เสื่อมเสียต่อองค์กรโดยไม่ได้ตั้งใจได้ด้วยเช่นกัน เราควรจะรู้ว่า อะไรควรโพสต์ และไม่ควรโพสต์ ยังมีสื่อออนไลน์หลายตัวที่เราโพสได้ อย่าง Intranet บริษัท ใช้ Yammer.com ในการระบายความอัดอั้น ใช้เครื่องมือ Intranet ของ HR ในการส่งข้อมูลเพื่อร้องเรียนการทำงาน มีการตรวจสอบเป็นขั้นตอน จำไว้ว่า ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า เพียงแค่โพสอะไรออกไป บางอย่างคู่แข่งอาจจะจับประเด็นและปะติดปะต่อเรื่องราวได้โดยที่เราไม่รู้ตัว

ขอบคุณ @AdeccoThailand @thanop @khajochi @noot010 @meesakuna @pakada @misteraum และทุกๆท่านที่ร่วม #HRtwt ในวันนี้ครับ พบกันทุกวันเสาร์ 9 โมงเช้าผ่าน twitter #HRtwt ครับ