Yokekung World

ซื้อปลั๊กพ่วง ปลั๊กราง ต้องรู้จัก มาตรฐาน มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด มอก.2432-2555

มอก.2432-2555

เรื่องปลั๊กราง ปลั๊กพ่วง ผมเคยรีวิวไว้เยอะแล้ว แต่วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันในเรื่องของมาตรฐาน มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด มอก.2432-2555 ชื่อเต็มๆ คือ มอก. 2432-2555 เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง วันที่มีผลใช้บังคับ : 24 ก.พ. 2561

วันนี้ เรามาพูดถึงเรื่อง มอก. ปลั๊กไฟ ซึ่งก่อนหน้านี้ เวลาเราเลือกซื้อปลั๊กไฟ เรามักจะได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่าจะต้องเลือกอันที่มี มอก. วันนี้เรามาเจาะลึกกันครับ

สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ประกาศใช้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ชุดสายพ่วง มอก.2432-2555 หรือ มอก.ปลั๊กพ่วง ฉบับล่าสุด โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.2561 ที่ผ่านมา และทันทีหลังจากที่ประกาศใช้ มอก.ดังกล่าว ก็ส่งผลให้ผู้ผลิตหลายรายต้องยกเลิกการผลิตสินค้าปลั๊กพ่วงรุ่นเก่าแบบ 2 ขา และใช้ฟิวส์ รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ตามที่ มอก. ฉบับนี้กำหนด ซึ่งผู้ผลิตบางรายแม้ว่าจะผลิตสินค้าที่เป็น Global Brand จำหน่ายไปทั่วโลก แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของไทยที่กำหนดไว้ จึงทำให้ไม่สามารถจำหน่ายในประเทศไทยได้เช่นกัน

ไม่ตรง มอก.

ปลั๊กพ่วงที่เราเห็นกันตอนนี้คือยังค้างสต็อกตามร้านต่างๆ แต่นำเข้าหรือผลิตใหม่เพื่อขายในไทย ไม่ได้ตั้งแต่ 24 ก.พ. 61 แล้วครับ

สิ่งที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่ทราบ ก็คือ ประเทศไทยยังไม่เคยมี มอก.บังคับใช้สำหรับปลั๊กพ่วงมาก่อน ซึ่งสัญลักษณ์ มอก.ที่เห็นติดอยู่บนสินค้าปลั๊กพ่วงที่จำหน่ายในท้องตลาดนั้นส่วนใหญ่จะอ้างอิงจาก มอก. อื่น เช่น มอก.สายไฟ, มอก.เต้าเสียบ หรือ มอก.สวิตช์ เป็นต้น แต่ มอก. ที่ควบคุมตัวปลั๊กทั้งรางนั้นยังไม่เคยมีมาก่อน

ส่วนประกอบของปลัํกพ่วงมีอะไรบ้าง

สำหรับ มอก. ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้ รวมถึงชุดสายพ่วง ที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 50 โวลต์ แต่ไม่เกิน 440 โวลต์ กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16 แอมป์ สำหรับใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งการใช้งานภายนอกนั้น อุณหภูมิต้องไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส แต่ถ้าใช้งานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ยโดยรอบต้องไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส

ดูคลิป ของ มหาชะนี เข้าใจง่ายดีครับ

สำหรับหัวปลั๊กกำหนดให้ต้องใช้เป็นแบบ 3 ขา ตาม มอก.166-2549 เท่านั้น ตัวเต้ารับจะต้องเป็นไปตาม มอก.166-2549 และมีม่านนิรภัยหรือม่านชัตเตอร์ปิดทุกเต้า ทั้งนี้ ถ้ามีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวิตช์ ตัวกรองความถี่ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกิน ต้องได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย

เอาล่ะ เริ่มเข้าใจกันง่ายขึ้นแล้วใช่ไหมล่ะครับ

เอาเป็นว่า ตอนนี้ หาซื้อปลัํกพ่วงในท้องตลาด เรายังเจอแบบเก่าขายอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ได้ราคาโละ แต่ถ้าจะให้ดี ซื้อใช้งานยาวๆ ใช้แบบใหม่ดีกว่าครับ (3 หัวกลม)

อ้างอิง

ราชกิจจานุเบกษา

เว็บไซต์ มหาชะนี ตำนานของการขายปลั๊กรางอันดับ 1 ของเมืองไทย

มอก.

รายละเอียด มอก.

บทความที่ผมเขียนไว้บน Thaiware

ตัวอย่างปลัํก Panasonic

รีวิวผม ในเว็บมหาชะนี

WTO

Toshino

Pantip

Exit mobile version