รู้ไหมว่า เงินประกันสังคมที่ส่งทุกเดือน มนุษย์เงินเดือน เรามี “เงินสงเคราะห์ชราภาพ” ด้วย

สำหรับผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคม รู้ไหมว่า มนุษย์เงินเดือนอย่างเรามี  “เงินสงเคราะห์ชราภาพ” ด้วย เป็นยังไง มายังไง ไปอ่านพร้อมๆ กัน

หมายเหตุ : จากการทดลองใช้บริการออนไลน์ของ SSO สำนักงานประกันสังคม แนะนำให้ใช้งานผ่านเว็บไซต์ ดีที่สุด เพราะแอพพลิเคชั่น ไม่สามารถเรียกแสดงข้อมูลได้

ทำงานมาก็หลายปี ส่งเงินสมทบ กองทุน สำนักงานประกันสังคม มาก็ยาวนาน แต่ไม่เคยรู้เลยว่า มีเงินสงเคราะห์ชราภาพด้วย????

ผู้ประกันตน ที่เป็นมนุษย์เงินเดือน เดือนนึง เงินเดือนออกมา เช่น 15,000 บาท แต่จ่ายจริง ไม่ใช่ 15,000 บาท เพราะ เพราะมีการหัก 5% ของค่าจ้ง และนายจ้างจ่ายจ่ายให้อีก 5% รัฐบาลจ่ายให้อีก 2.75% ขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุด 15,000 บาท

ประกันสังคม

มาทบทวนกัน ว่า สิทธิในการรักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย มีอะไรบ้าง

เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนรับบริการทางการแพทย์และเลือกโรงพยาบาลแล้ว ผู้ประกันตนจะได้รับ “บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล” ซึ่งบัตรจะมีชื่อของผู้ประกันตนและชื่อสถานพยาบาลที่เลือกไว้แต่ไม่มีภาพถ่ายติด จึงต้องใช้ควบคู่กับบัตรประจำตัวประชาชนการเข้ารับการรักษาไม่ว่าจะเป็น “ผู้ป่วยนอก” (คือ ผู้ป่วยไปพบแพทย์ฯ ตรวจรักษาจัดยาให้แล้วกลับบ้าน) หรือนอนรักษาเป็น “ผู้ป่วยใน” ค่ารักษาที่เกิดขึ้นทั้งหมดในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่าย ยกเว้น ขออยู่ห้องพิเศษหรือขอแพทย์พิเศษเอง

สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกถือเป็นสถานพยาบาลหลัก (MAIN CONTRACTOR) ซึ่งสถานพยาบาลหลักนั้น อาจมีสถานพยาบาลเครือข่าย (SUB CONTRACTOR) เช่น โรงพยาบาลเล็กๆ หรือคลินิกเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตนโดยผู้ประกันตนสามารถเข้าไปรักษาพยาบาลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผู้ประกันตนจะได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล เมื่อส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนรับบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล คือ โรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกเองสามารถเปลี่ยนแปลงได้ปีละ 1 ครั้ง ช่วงเดือนมกราคม – มีนาคมของทุกปี

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=868&id=3628

สิทธิที่ผู้ประกันตนจะได้รับ

  • เจ็บป่วยปกติ
  • เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ
  • ค่าบริการทางการแพทย์ กรณีทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟันและขูดหินปูน)
  • กรณี บำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร การผ่าตัดปลูกถ่ายไต การผ่าตัดเปลี่ยนไตและการให้ยาอิธิโธรปัวอิติน(Erythropoietin)
  • กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก (วงเงิน 750,000 บาท)
  • กรณีเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา (วงเงิน 25,000 บาท)
  • ค่าอวัยวะเทียมและ อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค (เช่น เท้าเทียม แขนเทียม ไม้ค้ำยัน เป็นต้น เบิกได้ตามรายการประกาศที่สำนักสังคมกำหนด)
  • กรณีโรคเอดส์ (ผู้ประกันตนสามารถรับยาต้านไวรัสเอดส์ทั้งพื้นฐาน สูตรทางเลือกและสูตรดื้อยา รวมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ที่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล โดยไม่เสยค่าใช้จ่าย)
  • กรณีที่มีสิทธิแต่ยังไม่ มีบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล (เบิกได้เช่นเดียวกันกับกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน หากจำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเกิน 72 ชั่วโมง ให้รับแจ้งสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา เพื่อสามารถเบิกค่ารักษาได้ถึงวันที่ออกจากโรงพยาบาล)
  • กรณีไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ (14 โรคยกเว้น)
  • ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ได้แก่
    – ค่าตรวจวินิจฉัยโรค
    – ค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
    – ค่าบำบัดทางการแพทย์และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ
    – ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
    – ค่ายาและค่าเวชภันฑ์
    – ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย
    – ค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตน ในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ เมื่อสำนักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนไปแล้วให้สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ัยแก่ผู้กระทำผิดได้
    – ค่าบริการอื่นๆ ที่จำเป็น

หมายเหตุ

สำหรับผู้ประกันตนที่ลาออกจากงานหรือความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงและย้าย กลับภูมิลำเนาสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ได้ เรียกว่า เปลี่ยนบัตรรับรองสิทธิฯ มาตรา 38 ซึ่งสิทธิจะคุ้มครอง 6 เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สิทธิการคุ้มครองมี 4 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต

วิธีตรวจสอบสิทธิประกันสังคม

ประกันสังคม

ล็อกอินผ่านเว็บไซต์ http://www.sso.go.th (สมัครมาชิก)

เงินสงเคราะห์ชราภาพ

และแล้ว ก็มาถึง สิทธิที่มนุษย์เงินเดือน ไม่ค่อยรู้ นอกจาก ประกันสังคม ในการรักษาพยาบาลแล้ว ยังมี “เงินสงเคราะห์ชราภาพ” อันนี้ ทุกคนมีครับ ผมเองยังไม่เคยรู้เลย แม้แต่คนที่ไม่ได้ทำงานแล้ว เงินที่เราเคยส่งไปทุกเดือนตอนทำงานออฟฟิศ มีอยู่ในระบบนะครับ เอาเป็นว่า เงินที่เราส่งประกันสังคมทุกเดือนนั้น มนุษย์เงินเดือน มีเงินออม เอาไว้ใช้ในยามเกษียณด้วย

เงินมาจากอะไรบ้าง

ประกันสังคม

เงินสมทบจากลูกจ้าง 5% ของค่าจ้างแต่ละเดือน และ เงินสมทบจากนายจ้าง 5% ของค่าจ้างแต่ละเดือน 3% + 3% = 6% เงินบำเหน็จชราภาพ 180 เดือน หรือทำงาน 15 ปี ทำงานเกินจะมีการจ่ายบำนาญเพิ่มขึ้น 1.5% ทุกๆ 12 เดือน

เอาเงินประกันสังคมก่อน เช่น เงินค่าจ้าง 15,000 บาท หักสมทบ 5% คือ 750 บาท ในเงินจำนวนนี้ แบ่งเป็น 225 เงินสมทบกรณีเจ็บป่วย 450 เงินชราภาพ แล้วก็ กรณีว่างงาน 75 บาท ต่อเดือน ทีนี้ เราเริ่มเห็นแล้ว ว่า ที่จ่ายๆไป หักเดือนละ 450 บาท เอาไว้ใช้ตอนชราภาพ ว้าวววว

ทีนี้เนี่ย ผู้ประกันตนที่ส่งสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) คือทำงานตลอด 15 ปี อัตราการจ่ายบำนาญจะเพิ่มขึ้น 1.5% ทุกๆ 12 เดือน

ทีนี้ เราล็อกอินเข้าไปดูดีกว่า ว่าเราส่งมาแล้วกี่ปี แล้วเงินชราภาพเราเท่าไหร โดยเข้าไปที่ http://www.sso.go.th

ไปที่ ตรวจสอบข้อมูล > สำหรับผู้ประกันตน

ประกันสังคม

เมื่อล็อกอินเข้ามาแล้วจะเจอหน้านี้

ประกันสังคม

ข้อมูลการส่งเงินสมทบ เราเข้าไปดูได้ครับ ภาพตัวอย่างคือภาพด้านบนก่อนหน้านี้

เรามาดู “การคำณวนเงินสงเคราะห์ชราภาพ” กันครับ แต่ขออนุญาตปิดตัวเลขเอาไว้นะครับ

โอโห้ ทำงานมาตั้งแต่ปี 2546 ครับ นับๆ ดูแล้ว ทำงานมา 15 ปีพอดีเลย แต่ ยังก่อนครับ กว่าจะเบิกเงินได้ ก็ต้องรออยู่ 55 ปี

ทีนี้ มันจะมี บำเหน็จ กับ บำนาญ

เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ

– จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
– มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
– ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ

– จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
– ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
– มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

คำนวณเงินบำนาญชราภาพ เงื่อนไข

รายละเอียด

คำณวนดูแล้ว ส่งเงินประกันสังคม 15 ปี (180 เดือน) คิดที่ค่าจ้าง (ให้เต็มที่ 15,000) จะได้เงินบำนาญเดือนละ 3,000 บาท

แต่ถ้าเป็นบำเหน็จ จะให้เป็นก้อน อ่านเงื่อนไข