เจาะหัวใจนักข่าวและพีอาร์ในยุค New Media จากงาน P2PMeeting

ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมงานเสวนา P2PMeeting ซึ่งย่อมาจาก Press และ PR ซึ่งผมเอง นั้นเคยทำงานในสาย PR ของบริษัท ได้ติดต่อกับนักข่าวต่างๆ ดังนั้น สื่อมวลชน และพีอาร์ จึงรู้จัก สนิทสนิท เกื้อกูลกัน ถ้อยที่ถ้อยอาศัย พึงพากันตลอดเวลา ในการที่พีอาร์เป็นคนนำข่าวมาบอกจากแหล่งข่าว ส่วนนักข่าวก็เป็นคนที่ “สื่อ” ข่าวสารไปยังมวลชน กิจกรรมนี้จัดขึ้นที่ห้อง Convention ชั้น 4 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผมรับหน้าที่ในการจัดกิจกรรมออนไลน์บน twitter wall เพื่อให้นักข่าวและพีอาร์ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความเห็นไปยังสาธารณชนภายนอก

งานนี้คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดีกับบุคคลที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในแวดวงพีอาร์และนักข่าวซึ่งปกติจะรู้จักตามงานแถลงข่าวอยู่แล้ว รวมไปถึงชมรมผู้สื่อข่าวไอที นำโดยคุณเล็ก อศินา พรวศิน จากเนชั่น โดยมีผู้ดำเนินรายการ คุณศรีสุดา วินิจสุวรรณ์ ผู้สื่อข่าว MCOT

 

ได้ข้อคิดและแนวทางดีๆจากพี่ป๋อง – ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้เข้าร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนก็คือแวดวงพีอาร์อย่างคุณเอมี่ คุณโรจน์ปัญญา @akunrojpanya หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท กูเกิล ประเทศไทย สายนักข่าวจากเนชั่น คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ @adisaklive กรรมการอำนวยการ บริษัท เนชั่นบรอดแคสติ้งคอร์ปอเรชั่น นักข่าวไอทีภาคสนาม ที่คุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี คุณเอกรัตน์ สาธุธรรม @ekarat นสพ.กรุงเทพธุรกิจ

และสายงานธุรกิจบันเทิง คุณอาทิตย์ เลิศรักษ์มงคล @art3t ผู้อำนวยการ สายงาน Strategic Innovation Business บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)

งานนี้นับว่า นักข่าวไอทีมากันเยอะมาก จะเห็นได้ว่าแต่ละคนใช้ Twitter, Facebook, Blog ในงานก็ยังเห็นหลายคนเปิด personal Hot-Spot Wi-Fi ใช้กัน หลายๆคนใช้ 3G ในการนำเสนอ รายงานข่าวแบบสดๆ มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอข่าว

ตอนนี้นักข่าวได้นำเอา new media มาใช้มากมาย นักข่าวเขียน Blog เพื่อนำเสนอในเรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เขียนในข่าวไม่ได้ สื่อที่คุณชวรงค์ แนะนำก็คือ มีเว็บไซต์ บล็อก โซเชียล มีเดีย และสื่อรูปแบบใหม่ๆ ในการนำเสนอของพีอาร์และนักข่าว ซึ่งนักข่าวใช้ New Media มาช่วยในการนำเสนอ รายงานข่าว จัดเก็บฐานข้อมูลข่าว ตรวจสอบความถูกต้องของชื่อแหล่งข่าวจากทวิตเตอร์ เฟ๊ซบุ๊ก การนำข้อมูลเก่ามาอ้างอิง การใช้ Hash Tag เพื่ออ้างอิงและจัดเก็บข้อมูลไว้ในที่เดียวกัน

การเขียน Blog ของนักข่าว สามารถทำได้ และสามารถแยกเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว บางคนเปิดเป็นบล็อกข่าวให้อ่านกันสนุกกว่าบนทวิตเตอร์ แชร์เรื่องราวประเด็นต่างๆจากแหล่งข่าว ซึ่งปัจจุบันนักข่าวและพีอาร์มีวิธีการสื่อสารหลายช่องทางทั้ง Social Media และแอพต่างๆ อย่าง Whatsapp, MSN, Skype และมีการส่งภาพ เสียง ของแหล่งข่าว บ้างก็บันทึกวีดีโอส่งผ่าน twitvid หรือบริการอื่นๆ รวมไปถึงรายงานข่าวผ่าน 3G และวีดีโอจากกล้องมือถือ

แต่การใช้ New media ผมมองว่า นักข่าวจะต้องสนใจและมีทักษะพอสมควร ในการพิมพ์บน BlackBerry, iPhone การถ่ายภาพจากมือถือ การใช้แอพ การใช้สื่อ การใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย บางต้นสังกัดสนับสนุนและสอนวิธีการใช้งานให้กับพีอาร์และนักข่าว จนบางคนไม่เคยใช้ ทดลองใช้แล้วติดใจและเห็นประโยชน์จากการใช้งาน

เรื่องของจริยธรรมในการใช้งานสื่อ การใช้งาน New Media นักข่าวและพีอาร์จะต้องคำนึงถึงเรื่องสิทธิส่วนบุคคล แต่ก็สามารถนำมาใช้นัดหมายกับแหล่งข่าวได้สะดวกและคล่องตัว เข้าถึงได้ง่าย

ตอนนี้นักข่าวและพีอาร์ มองหาสื่อช่องทางใหม่ๆ อย่างผมเคยเป็น PR ก็มองหาช่องทางใหม่ๆในการนำเสนอข่าวให้รวดเร็ว ฉับไวที่สุด ถูกต้องที่สุด ซึ่งนักข่าวได้มีการนำ New Media มาใช้แล้ว PR ก็ควรจะนำมาปรับใช้และเป็นรูปแบบในการใช้งานเพื่อประสานงานกับแหล่งข่าวและนักข่าวด้วย แต่คุณเอ-เอกรัตน์ ได้ให้ความเห็นในการทำข่าวผ่าน Social Media เพราะ twitter, facebook เร็ว แต่ผิดพลาดง่ายมาก แค่พิมพ์ผิด – พิมพ์ตก ข่าวออกไปแล้วก็ออกไปเลย แก้ไขไม่ได้ ได้แค่ลงข่าวแก้ไข แต่ข่าวที่ผิดพลาดถูกส่งต่อและแชร์ออกไปรวดเร็วมาก รวมไปถึงการใช้งานของพีอาร์ในองค์กร ควรมีการนัดแนะกันว่าจะใช้อย่างไร ทวิตเตอร์ขององค์กรที่พีอาร์ดูแลอยู่ ใครจะเป็นคนตอบเรื่องใด และใครประสานงานกับสื่อมวลชน แต่ในการใช้งาน PR เองก็สามารถส่งข่าวไปยังผู้ใช้ได้โดยตรง โดยไม่ต้องการนักข่าวเลยก็ได้หากเนื้อหานั้นน่าสนใจ

พีอาร์สามารถนำเอา social media มาช่วยในการมอนิเตอร์แบรนด์ ใครพูดถึงแบรนด์บ้าง มี Feedback ต่อข่าวอย่างไร ส่วนการใช้งานนั้น บางองค์กรมีแนวทางและข้อกำหนดให้ ยกตัวอย่างเนชั่น ให้นักข่าวใช้ Twitter ในการรายงานข่าว เรียกได้ว่าเป็นอีกสื่อหนึ่ง คือต้องส่งข่าวตามปกติ ไปงานแถลงข่าวตามปกติ แต่จะต้องรายงานข่าวสดๆผ่าน Twitter ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น นักข่าว พีอาร์ ควรจะสร้าง Identity ของตนเองในการรายงานข่าว การเป็นแหล่งข่าว และองค์กรควรจะให้ความสนใจกับการใช้สื่อ New Media มาใช้ในการประชาสัมพันธ์ด้วย แต่จะต้องเข้าใจและมีข้อกำหนดชัดเจน

การที่สื่อต้องปรับตัว พีอาร์ต้องปรับตัว เพราะการที่ทุกคน สามารถเป็นนักข่าวพลเมืองได้ ผมเองชอบคำพูดของคุณสุทธิชัย ตั้งแต่แรกๆที่เปิด OKNation ว่า “ทุกคนสามารถเป็นนักข่าวได้” เพราะทุกคนมักคิดว่า นักข่าวมีอภิสิทธิ์เหนือกว่าคนธรรมดา ทุกคนเป็นนักข่าวได้ Citizen Reporter ช่วยนักข่าวได้จากคนที่รู้ลึก รู้จริง สัมผัสพื้นที่ ยกตัวอย่าง @aunonline @mrvop หรืออย่างกรณี @redlovetree ในการเป็นนักข่าวพลเมือง

ตอนนี้ผู้บริโภค ไม่ได้เป็น Mass แต่จะสนใจในเรื่องที่ตนเองสนใจ แยก Segmentation ออกมามาก มีใครสนใจเรื่องใดก็จะนำเสนอสิ่งนั้น รู้ว่าควรจะนำเสนอในรูปแบบใด กับใคร กลุ่มเป้าหมายใด พีอาร์เองก็ต้องทำการบ้านว่า ผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างไร มีพฤติกรรมอย่างไร

@nuttaputch แสดงความเห็นว่า นักข่าวใช้ social media กันเยอะขึ้น แต่หากว่า PR ใช้ Social Media กันคล่องแล้ว PR เองสามารถเข้ามาแทนนักข่าวในการนำเสนอเรื่องราวสู่มวลชนได้เองเลยเพราะไม่ต้องการใช้ “สื่อกลาง” แล้วเพราะบางครั้งคนก็ติดตามจากแหล่งข่าว จากพีอาร์โดยตรงได้เลย ถึงเวลานั้น พีอาร์สามารถเป็นนักข่าวบน twitter ได้เองเลยเพราะไม่ต้องการนักข่าวแล้ว มีคนติดตามเข้ามาติดตามโดยตรง

พี่อดิศักดิ์บอกว่า ต่อไปเราอาจจะไม่ต้องจัดแถลงข่าวเลยก็ได้ ไม่ต้องใช้นักข่าว พีอาร์หรือแบรนด์ หรือบุคคลสำคัญอย่าง เฮียฮ้อ ออกมาทวิต นักข่าวก็เอาไปเขียนข่าว หรือคนที่ติดตามก็ได้รับสารจากเฮียฮ้อ ซึ่งเหมือนเป็นตัวแทนบริษัท RS งานนี้ไม่ต้องรอพีอาร์แจ้งหมายงานแถลงข่าวกันเลย

ที่น่าสังเกตหากว่า PR เข้าใจการตลาด ก็ติดตามนักข่าว ตามการทวิตของนักข่าวในการรายงานข่าวของคู่แข่ง กลยุทธ์ของคู่แข่งได้จากในออฟฟิศโดยไม่ต้องแฝงตัวไปร่วมงานแถลงข่าวเลย

พีอาร์และนักข่าวควรจะหาช่องทางใหม่ๆ ผมเองเห็นว่า คำว่า New Media คือ สื่อใหม่ ไม่ใช่เฉพาะ Social Media Twitter, Facebook, Blog แต่สามารถนำแอพหรือบริการอื่นๆมาใช้ในการนำเสนอได้เช่นกัน แต่พีอาร์ควรจะเข้าใจการใช้งานในการประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่การ Hard Sale เพราะมีผลต่อแบรนด์ด้วย

ระยะหลังๆนี้ ตั้งแต่ปีที่แล้ว หลายๆคนคงจะเห็นว่า งานสัมมนาต่างๆ เชิญบน Facebook Events พีอาร์ก็เริ่มเชิญนักข่าวผ่าน Facebook Events เพราะรู้ว่านักข่าวเข้า Facebook บ่อยกว่าเช็กอีเมล์ รวมทั้งช่วยให้ประมาณการคนที่เข้าร่วมงานแถลงข่าวเพื่อจัดเตรียมอาหารว่างและจัดสถานที่ได้สะดวก

จากในงาน @noppatjak คือคนที่ทำงานข่าวผ่าน social media ของตัวเองได้ มีทั้ง Facebook, Twitter, Blog ซึ่งก็เหมือนกับการทำ PR แบรนด์ของนักข่าวเอง คนติดตามจะรู้ว่า ถ้าสนใจเรื่องนี้ ใครจะติดตามนักข่าวคนไหน เรื่องใด กลุ่มเป้าหมายใด ซึ่งต้นสังกัดอย่าง The Nation เองนั้นก็ใช้สื่อครบทั้ง social media มีทั้ง Website, Blog, Facebook, Twitter, Youtube เรียกว่าชมได้ทั้ง text, vido, photos อย่าง nation photos ที่รายงานข่าวในช่วงชุมนุมผ่านภาพ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับคนทำข่าวและคนให้ข่าวอย่างพีอาร์ในการเปลี่ยนจากยุค Old Media > New Media ด้วยช่องทางใหม่ๆที่ PR อยากเปลี่ยนเป็น New PR ด้วยเช่นกัน

ขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ขอบคุณ ITPC คุณ @lekasina ครับ