ปรับจูนความเข้าใจ กระชับสัมพันธ์ PR และ blogger

 

image from bitchbuzz
image form bitchbuzz

หลังจากงานสัมมนา P2PMeeting ผมซึ่งเป็นทั้งในฐานะของนักข่าวทวิตเตอร์ และบล็อกเกอร์ ได้รับเชิญเข้าร่วมงานแถลงข่าวต่างๆ ซึ่งตามปกติแล้ว ในการเชิญ “นักข่าว” นั้นจะเป็นหน้าที่ของ พีอาร์ ไม่ว่าจะเป็นพีอาร์จากอเจนซี่ หรือพีอาร์ของบริษัทเอง แต่ด้วยความแพร่หลายของอินเทอร์เน็ต ทำให้หลายๆแบรนด์ มีการนำบล็อกเกอร์เข้ามาช่วยในการสื่อสาร กระจายข่าวออกไป บล็อกเกอร์ (Blogger) ก็คือคนที่เป็นผู้ใช้ User ธรรมดา ที่เขียน Weblog ของตนเอง มี Social Media ของตนเอง เพราะแต่ละคนสร้างสื่อของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Youtube, Blog, Webboard, Online Communities ต่างๆ

 

แต่ว่า ถึงตอนนี้ พีอาร์ หรือออนแกนไนเซอร์ผู้จัดงานนั้น เข้าใจบล็อกเกอร์ได้ดีเพียงใด ????

ภาพประกอบจากบทความ Reader Q&A | Celebrity Blogger PR: Any downsides to being “too” successful?

บางคนอาจจะมองว่า บล็อกเกอร์มีอภิสิทธิ์เหนือคนธรรมดา ได้จับสินค้าก่อนผู้ใช้จริง อันที่จริงแล้ว บล็อกเกอร์ ก็คือคนใข้งานทั่วไปนี่แหล่ะ ที่มีความสามารถในการเขียน ถ่ายทอด ประสบการณ์การใช้งานสินค้าให้คนทั่วไปได้อ่านได้พิจารณากัน ดังนั้นหลายๆแบรนด์จึงเชิญบล็อกเกอร์เข้าร่วมงานแถลงข่าว ซึ่งตามปกติแล้ว เจ้าของแบรนด์ หรือออแกนไนเซอร์ จะเป็นคนดูแลบล็อกเกอร์เพราะเข้าใจธรรมชาติของบล็อกเกอร์มากที่สุด ใครว่าบล็อกเกอร์สบาย ใครว่าบล็อกเกอร์ใหญ่กว่าคนทั่วไป ไม่จริงครับ บล็อกเกอร์ก็ต้องทำงาน ตรวจสอบความถูกต้อง และเขียนบล็อกเช่นกัน

เวลาผมไปงานแถลงข่าว ผมจะถ่ายภาพ ทวิตรายงานสดๆ แล้วกลับมาเขียนบล็อก ดังนั้น สิ่งตอบแทนคือ อาหารว่างเล็กๆน้อยๆ ของรางวัลจากเจ้าของแบรนด์ ในการตอบแทนการนำเสนอ เพื่อเป็นการ “ซื้อใจ” ไม่มีบล็อกเกอร์คนไหนเห็นแก่กินหรอกครับ เข้ามางานเขา กินข้าวฟรี ก็ต้องทวิตให้ เขียนบล็อกให้ ตอบคำถาม แนะนำใน social network ต่างๆ รวมไปถึงกระทู้ในเวบบอร์ดต่างๆให้เจ้าของแบรนด์

แต่ปัญหามันเกิดขึ้นจาก การประสานงาน พีอาร์เป็นคนเชิญนักข่าว แบรนด์เป็นคนเชิญบล็อกเกอร์ แต่พอไปถึงงานจริงๆ บล็อกเกอร์กลับไม่ได้รับความสนใจและได้รับการรับรองที่ดีและทั่วถึง ใจมันก็เลยหมด หมดใจที่จะทวิตให้สดๆ เขียนบล็อกให้เต็มๆ เพราะการดูแล “หัวใจ” ที่ไม่ดีพอ ไม่ได้หิวข้าว ไม่ได้โมโหหิว แต่มันคือการคาดหวัง ในการได้รับการดูแลจากเจ้าของแบรนด์เท่าเทียมกับนักข่าว ดารา เซเลป อาจจะเป็นได้ว่า พีอาร์ และคนจัดงาน ต้องสละเวลาไปดูแลเซเลป และดารา เพราะถ้าดูแลไม่ทั่วถึง เสียงจะดังกว่ามาก ซึ่ง บล็อกเกอร์ก็นั่งหงอย ข้าวก็ไม่ได้กิน น้ำก็ไม่มีเสิร์ฟ ต่างจากงานที่เชิญรอบบล็อกเกอร์ซึ่งได้ใจไปมากกว่า เจ้าของแบรนด์กันเองและใกล้ชิดกับบล็อกเกอร์ นี่คือปัญหาจาก คนจัดงาน และพีอาร์ ไม่เข้าใจธรรมชาติของบล็อกเกอร์ แล้วที่นี้ บล็อกเกอร์แต่ละคน หิวข้าว ทำยังไง บ่นในทวิตเตอร์ อาจจะไม่ดัง แต่หลายๆคนได้รับทราบเรื่องราว ก็พูดต่อ ผลเสียเกิดกับแบรนด์โดยที่พีอาร์เองก็ไม่ได้ฉุกคิด เพราะการประสานงานที่ไม่ดี การกำหนด KPI ต่างๆก็ล้มเหลว ค้นดู twitter hash tag แทนที่จะเป็นการรายงานข่าว กลับกลายเป็นแท็กที่รวมรวบคำบ่น ด่า ของบล็อกเกอร์แทน ความหวังจะให้ twittple มาทวิตให้กระหน่ำจนติดอันดับ Thailand Trending ก็เป็นอันจบไป

ผมเชื่อว่า คนจัดงาน Organizer, PR Agency, Social Media Agency, Digital Agency คงจะต้องทำความเข้าใจกับ Social Media ต่างๆให้มากขึ้น เข้าถึงและเข้าใจธรรมชาติของการใช้สื่อของคนแต่ละประเภท หากคุณดูแลรับรองเขาไม่ดีแล้ว การที่คาดหวังจะให้เขาเต็มใจทำให้แบรนด์นั้นมีพลัง อิทธิพลจาก Social Media กลับกลายเป็นแบรนด์ถูกทำร้ายด้วยการบริหารจัดการและประสานงานของคนจัดงานเสียเอง หลายๆแบรนด์ทำได้ดีมากๆในการดูแลบล็อกเกอร์ ลองไปตาม Twitter Hash Tag ดูได้ แล้วจะรู้ว่า แบรนด์ใดที่เข้าถึง และทำไม เหตุใด บางแบรนด์จึงไว้ใจให้พีอาร์และผู้บริหารของแบรนด์ ดูแลบล็อกเกอร์ แทนที่จะไว้ใจ Digital Agency, PR Agency ให้รับผิดชอบดูแล Blogger ผมว่า PR, Organizer, Digital Agency คงจะต้องเรียนรู้และศึกษา Social Media มากขึ้น

@yokekung