ซื้อปลั๊กพ่วง ปลั๊กราง ต้องรู้จัก มาตรฐาน มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด มอก.2432-2555

เรื่องปลั๊กราง ปลั๊กพ่วง ผมเคยรีวิวไว้เยอะแล้ว แต่วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันในเรื่องของมาตรฐาน มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด มอก.2432-2555 ชื่อเต็มๆ คือ มอก. 2432-2555 เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง วันที่มีผลใช้บังคับ : 24 ก.พ. 2561

วันนี้ เรามาพูดถึงเรื่อง มอก. ปลั๊กไฟ ซึ่งก่อนหน้านี้ เวลาเราเลือกซื้อปลั๊กไฟ เรามักจะได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่าจะต้องเลือกอันที่มี มอก. วันนี้เรามาเจาะลึกกันครับ

สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ประกาศใช้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ชุดสายพ่วง มอก.2432-2555 หรือ มอก.ปลั๊กพ่วง ฉบับล่าสุด โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.2561 ที่ผ่านมา และทันทีหลังจากที่ประกาศใช้ มอก.ดังกล่าว ก็ส่งผลให้ผู้ผลิตหลายรายต้องยกเลิกการผลิตสินค้าปลั๊กพ่วงรุ่นเก่าแบบ 2 ขา และใช้ฟิวส์ รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ตามที่ มอก. ฉบับนี้กำหนด ซึ่งผู้ผลิตบางรายแม้ว่าจะผลิตสินค้าที่เป็น Global Brand จำหน่ายไปทั่วโลก แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของไทยที่กำหนดไว้ จึงทำให้ไม่สามารถจำหน่ายในประเทศไทยได้เช่นกัน

ไม่ตรง มอก.

  • ปลั๊กราง แบบ 2 ขาแบน มอก. ใหม่ ไม่อนุญาตให้ผลิตหัวปลั๊กแบบนี้ขายได้
  • ปลักราง แบบ 2 ขาแบน ปลั๊กคอม ปลั๊ก Notebook, คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

    ต้องใช้ 3 หัวกลม (แบบในภาพ) เท่านั้น

ปลั๊กพ่วงที่เราเห็นกันตอนนี้คือยังค้างสต็อกตามร้านต่างๆ แต่นำเข้าหรือผลิตใหม่เพื่อขายในไทย ไม่ได้ตั้งแต่ 24 ก.พ. 61 แล้วครับ

สิ่งที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่ทราบ ก็คือ ประเทศไทยยังไม่เคยมี มอก.บังคับใช้สำหรับปลั๊กพ่วงมาก่อน ซึ่งสัญลักษณ์ มอก.ที่เห็นติดอยู่บนสินค้าปลั๊กพ่วงที่จำหน่ายในท้องตลาดนั้นส่วนใหญ่จะอ้างอิงจาก มอก. อื่น เช่น มอก.สายไฟ, มอก.เต้าเสียบ หรือ มอก.สวิตช์ เป็นต้น แต่ มอก. ที่ควบคุมตัวปลั๊กทั้งรางนั้นยังไม่เคยมีมาก่อน

ส่วนประกอบของปลัํกพ่วงมีอะไรบ้าง

  • เต้าเสียบ
  • เต้ารับ
  • สายไฟ
  • สวิตช์ไฟ , การป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน

สำหรับ มอก. ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้ รวมถึงชุดสายพ่วง ที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 50 โวลต์ แต่ไม่เกิน 440 โวลต์ กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16 แอมป์ สำหรับใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งการใช้งานภายนอกนั้น อุณหภูมิต้องไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส แต่ถ้าใช้งานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ยโดยรอบต้องไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส

ดูคลิป ของ มหาชะนี เข้าใจง่ายดีครับ

สำหรับหัวปลั๊กกำหนดให้ต้องใช้เป็นแบบ 3 ขา ตาม มอก.166-2549 เท่านั้น ตัวเต้ารับจะต้องเป็นไปตาม มอก.166-2549 และมีม่านนิรภัยหรือม่านชัตเตอร์ปิดทุกเต้า ทั้งนี้ ถ้ามีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวิตช์ ตัวกรองความถี่ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกิน ต้องได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย

เอาล่ะ เริ่มเข้าใจกันง่ายขึ้นแล้วใช่ไหมล่ะครับ

เอาเป็นว่า ตอนนี้ หาซื้อปลัํกพ่วงในท้องตลาด เรายังเจอแบบเก่าขายอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ได้ราคาโละ แต่ถ้าจะให้ดี ซื้อใช้งานยาวๆ ใช้แบบใหม่ดีกว่าครับ (3 หัวกลม)

อ้างอิง

ราชกิจจานุเบกษา

เว็บไซต์ มหาชะนี ตำนานของการขายปลั๊กรางอันดับ 1 ของเมืองไทย

มอก.

รายละเอียด มอก.

บทความที่ผมเขียนไว้บน Thaiware

ตัวอย่างปลัํก Panasonic

รีวิวผม ในเว็บมหาชะนี

WTO

Toshino

Pantip