เจาะแง่มุมชีวิตที่เปลี่ยนไปของ โหน่ง วงศ์ทนง และ หนุ่มเมืองจันท์ ในยุค Social

ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All ซึ่งจัดทั้งหมด 4 สัปดาห์ 22 เมษายน ยัน 13 พฤษภาคม โดยได้รับเกียรติจาก  คุณโหน่ง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์
 และคุณตุ้ม สรกล อดุลยานนท์ (หนุ่มเมืองจันท์) ในหัวข้อ “โซเชียลมีเดีย…พื้นที่ชีวิตที่เปลี่ยนไป” ได้ไอเดีย และแรงบันดาลใจมากมาย ก็เลยนำมาฝากกันครับ

คุณหนุ่มเมืองจันท์ และคุณโหน่ง วงศ์ทนง ถือได้ว่าเป็นคนที่อยู่ในยุคของหนังสือกระดาษ แล้วเปลี่ยนผ่านเป็นดิจิตอล ออนไลน์ เป็นคนปรับตัวได้ดี ไม่ยึดติดกับสื่อ จะต้องเป็นกระดาษเท่านั้น แม้จะรักหนังสือ รักนิตยสาร แต่สื่อเปลี่ยนก็ปรับตัวตาม พี่โหน่งเห็นด้วยกับคุณชาติ กอบจิตติ ที่มองว่า สื่อคือภาชนะ ถ้าของเราดี เนื้อหาเราดี ใส่ในภาชนะไหน ก็แค่เปลี่ยนภาชนะ ก็มีคนตามไปดู
Blogger’s Bootcamp by CP All คุณโหน่ง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์
 และคุณตุ้ม สรกล อดุลยานนท์ (หนุ่มเมืองจันท์)

คุณตุ้ม เล่าให้ฟังถึง ตอนที่เปลี่ยนจากพิมพ์ดีดเป็นคอมพิวเตอร์ ตอนนั้นเสียงพิมพ์ดีดเสียงดัง ปกติเคยชินและคุ้นเคยกับเสียงดังของพิมพ์ดีด ในกองหนังสือพิมพ์ พอใช้คอมพิวเตอร์ พิมพ์ส่งอีเมล์ พิมพ์ลำบาก ไม่คุ้น เสียงเงียบหายไป คุณโหน่งและคุณตุ้มมองว่า การเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกสู่ดิจิตอล เป็นแรงกระเพื่อม เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ออนไลน์เข้ามา 4G เข้ามา ทุกอย่างเปลี่ยน โลกกระดาษ พลิกอย่างรุนแรง ทิ้งดิ่งไวมาก ปกติเวลาเครื่องบินลง จะค่อยๆ ลง แต่นี่ลงแบบปักหัว ลงไวมาก แต่เอาจริงๆ มันลงมาระยะนึงแล้ว ลงเนิบๆ ลงแบบไม่ค่อยรู้สึกตัว ออนไลน์พลิกเปลี่ยนเยอะ พี่ตุ้ม ผ่านจาก พิมพ์ดีด > คอมพ์ > จากในออฟฟิศมติชน หาข้อมูลเก่า สารพัดข้อมูลเยอะมาก แต่พอออนไลน์ สุดท้ายเจอบน Google ได้ง่าย

การเปลี่ยนแปลงของ TV ไป Online / Facebook Live นั้นพฤติกรรมคนเป็นพิธีกรเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างที่คุณวูดดี้บอกว่า ทำ TV กับทำ Live ไม่เหมือนกัน ทีวีจะไปเรื่อยๆ มีแบบแผน มีฉาก ส่วนการสัมภาษณ์ทาง Live แบบทันที ต่างกัน พี่โหน่งบอกว่าชอบที่ไม่ต้องแต่งหน้า ทำผม ส่วนเรื่องการถ่ายทำก็เปลี่ยนไปจากทีวี เป็นอีกมิติ Facebook Live 90% คนดูผ่านจอมือถือ ทีวีจอใหญ่ มีสเปคเยอะ มีฉาก แต่ Facebook Live ไม่ต้องมีอะไรเยอะ ขอเนื้อหาแน่นๆ กระชับส่วนธุรกิจหนัง เปลี่ยนจากเข้าโรงหนัง เป็นหนังเข้า LINE TV, Facebook ต่อไป Facebook จ้างผลิตหนัง ผลิตเข้า LINE TV / Facebook คนดูก็เปลี่ยนจากดูบนโรงเป็นดูผ่านจอมือถือ ไอแพด ความละเอียดน้อย ทุกอย่างเปลี่ยน พอออนไลน์มา ความละเอียดไม่เยอะ กำหนดทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมด

พี่โหน่ง เรียกได้ว่าเป็นสายแม็กกาซีนรายเดือน มองว่ามีสัญญาณสักระยะแล้วนิตยสาร หนังสือไม่น่าจะรุ่ง จากการเดินทางบ่อย ก็เลยทำ Free Copy ตอนนั้นในตลาดก็มี BK หนังสือแจกฟรี มาแทนนิตยสารรายเดือน รายปักษ์ 8-9 ปีที่แล้ว รายได้ A Day เมื่อก่อนน้อยมาก แต่ Free Copy น่าสนใจ

3-4 ปีก่อน landscape สื่อเปลี่ยนไป ก็ปรับตัวตาม

พี่ทั้ง 2 คน มองว่า ตอนนี้ Blogger เล่าเรื่องเอง ภาษาที่ใช้ พี่โหน่งและพี่ตุ้ม ต้องปรับตัวตามน้อง ในการอธิบายเรื่องราว เมื่อก่อน เขียนต้นฉบับเป็นกระดาษ มีพื้นที่ให้ร่ายไปเรื่อยๆ ได้ แต่ตอนนี้ ออนไลน์ Social 3 บรรทัดแรก / 3 วินาทีแรก ต้องดึงคนให้ได้ ก่อนหน้านี้ กระดาษ หนังสือ คุณซื้อผมแล้ว ยังไงก็อ่าน เราก็ค่อยๆเขียนไปได้ คุณตุ้ม มองว่าจากเมื่อก่อนที่เขียน ภาษาแบบค่อยๆไป ตอนนี้ภาษา ค่อยๆ ไปไม่ได้แล้ว ตอนนี้ต้องเร็ว เริ่มสปีดเรื่องราวเร็ว มองอีเจี๊ยบเขียนว่าทำยังไง ใช้ตัวอักษรเขียนภาพ ภาษาสำนวนมีการเปลี่ยนแปลง มุกนึกไม่ถึง จับมุกในอากาศมาใส่ ตนเองคิดไม่ถึง พอคุณวางตัวไม่ดี แบดบอย พอทำดี เอ่อ ดีจังเลย เลวจนชิน วาง Postion ดี โดยคุณตุ้มมองว่า กระบวนการที่ดีที่สุดคือ การเรียนรู้จากคนอื่น ดูน้องๆ ปรับตัวตาม แน่นอนว่าสมัยนี้ 3 บรรทัด ต้องเอาคนอ่านให้อยู่ ถ้า Facebook 3 วิ ต้องเอาคนดูให้อยู่ โดยเฉพาะภาษารุ่นใหม่ ช่วงต้นต้องเอาให้อยู่ จะค่อยๆปู ค่อยๆเปิด แล้วตวัดแบบเดิมไม่ได้แล้ว

การปรับตัวของพี่โหน่ง เป็นบริษัททำสื่อ ต้องมีการปรับตัวเสมอ ทำสื่อให้ขายได้ คุณโหน่งจึงไม่ซีเรียส กับการปิดตัว – เปิดใหม่ของสื่อ เพราะเมื่อก่อนปิดสื่อเรื่องใหญ่มาก คุณโหน่งไม่โอเคก็ปิด ก็เปลี่ยน แต่เข้าใจความหมาย ของสื่อสิ่งพิมพ์ ชอบสื่อสิ่งพิมพ์ ขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธออนไลน์ ไม่ยึดติด พี่ชาติ กอบกิตติ แปลงสื่อมาไว้บน ​Facebook คนก็ติด แล้วเอามารวมเล่มได้อีก ดังนั้น อย่าไปยึดติด สื่อดิจิตอล สื่อกระดาษ คือภาชนะ เนื้อหาดี อยู่ในภาชนะไหนก็ได้

คุณโหน่งพูดถึง The Standard > บริษัทเล็กๆ 70 คน จากเดิม 150 คน ทำตามความสามารถ และเงินทุนที่มี มองว่า The Momentum คือซ้อมใหญ่ และไม่ทิ้งสื่อกระดาษ ทำออนไลน์ด้วย สิ่งพิมพ์ด้วย ข้อนึงที่คุณโหน่งมองว่า น่าจะปรับก็คือ การทำหลายสื่อ หลายหัว แล้วสัมภาษณ์คนเดียว ก็ต้องมีการนัดสัมภาษณ์หลายรอบ เพื่อลงแต่ละสื่อ แต่ละแนว ข้อดีของการมีหลายแบรนด์ หลายสื่อ คือจับหลาย Target แต่ละแบรนด์แยกกันอิสระ ทำให้ทำงานด้วยกันยาก ทับซ้อนกัน ทำไมไม่ไปสื่อเดียว หัวเดียว แล้วกระจายมาลงหลายสื่อ ดังนั้นการทำแบรนด์เดียว หัวเดียว สื่อเดียว มีพลังกว่า

ความจริงของ ชื่อ The Standard หลายคนเห็นข่าวมาจากผู้จัดการ ว่าคุณโหน่งลาออก เพราะไม่เห็นด้วย อยากทำตัวให้โปร่งใสจึงลาออก แต่เอาเข้าจริง มันหนักหนามากในสายอาชีพ เพราะคุณโหน่ง ตัดสินใจลาออกจากบริษัทที่ตั้งเอง 16 ปีก่อน

ดังนั้น The Standard ก็คือ แปลว่า “มาตรฐาน” เน้นจริยธรรมคนทำสื่อ = The Standard มาตรฐาน มีมาตรฐาน อยากมีการตั้งปณิธานเรื่องมาตรฐาน และมีพี่ตุ้มให้กำลังใจตลอด

blogger เป็นสื่อไหม?

– Social Media มีความหลากหลายของ Content Blogger ทำเนื้อหาง่ายและน่าสนใจ ต่างจากสื่อที่ถูกจำกัดด้วยองค์กรสื่อ ด้วยการมาของ Social Network ทำให้ตลาดแตก วงแตก โลกเปลี่ยน เพราะจากที่ต้องจ่ายให้สื่อ องค์กร เป็นกระจายรายได้ถึง Blogger สู่ชุมชน
– Influencer = New Media มีรายได้

เรื่องเล่า

– ตัวพี่โหน่งเอง ไม่ยึดติด ไม่ชอบผูกขาด พี่โหน่งเล่น Twitter จากเก็บตัว ก็มาเป็นได้พูดคุยกับคนอื่นๆ ตอน Twitter มาใหม่ๆ น้องในบริษัททก็ลองเล่น พี่โหน่งก็ลองเล่น ลองดู ใช้ PR บริษัท และ Twitter บอกได้ว่าเราเป็นคนยังไง
– พี่ตุ้ม ใช้ Facebook เป็นหลัก Facebook ส่วนตัว ทำเพจ หนุ่มเมืองจันท์ และ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ส่วนพี่โหน่งไม่ได้ใช้ Facebook

– เหตุผลที่พี่ตุ้มทำ Facebook Live ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ โดย หนุ่มเมืองจันท์ Live “เราควรใช้โอกาส หรือความโชคดีของเรา ให้คนอื่นบ้าง” ทำสนุกๆ ไม่ได้เป็นรายได้หลัก พี่โหน่งก็ชอบ Live ตรงที่ไม่ต้องทำผม ไม่ต้องใช้ความคมชัดมากมาย สนใจเนื้อหามากกว่า
– พี่โหน่งพูดถึงการจัดรายการ SoundCloud พี่โหน่งกับพี่ตุ้มทำด้วยกัน ตอนนั้น Momentum อยากทำ Podcast คนที่ปั้น Twitter เริ่มจาก Podcast เช่นกัน คนไทยไม่มีใครทำเป็นกิจลักษณะสักเท่าไหร ปกติอัดบ้านๆ อยากทำเนี้ยบๆ ทำห้องอัดเสียง The Momentum เสียงชัดเจนมาก
– Podcast ช่างคุย ทำมาสิบกว่าปีแล้ว (ภาสกร หงษ์หยก ช่างคุยคอทคอม) ชวนคุยธุรกิจ ทำสิบกว่าตอน เบื่อแล้วเลยไปทำกับ The Momentum
– หนุ่มเมืองจันท์ ทำ Live ด้วยความสนุก อาทิตย์เว้นอาทิตย์ เอามันส์ เอาความโชคดีรู้จักคนเยอะ เลยเอาไปให้ผู้อื่น
– พี่โหน่ง เลือก Channel สื่อ สื่อสารให้ Mass ยุคสมัยเปลี่ยน อยากพูดในสิ่งที่อยากพูด อยากแสดงทัศนะ แค่เปลี่ยนชนิดสื่อ ไม่ได้ต่อต้านออนไลน์ ไม่ได้ตีกรอบกระดาษ สื่อไหนเหมาะกับอะไรก็ทำตรงนั้น
– เรื่องความน่าเชื่อถือ สำคัญ เมื่อก่อนมี บก.ตัดสิน ตอนนี้ลงบนออนไลน์ ถ้าคนอ่านเยอะ คือการตัดสินของมวลชน ผู้อ่านเป็นคนตัดสินว่างานชิ้นนั้นดีหรือไม่ดี
– ตอนนี้ ทีวี หนังสือพิมพ์ เอาคลิปจากคนธรรมดามาออกสื่อหลัก นักสืบพันธุ์ทิพย์ เช่นลุงวิศวะ
– คนเราลืมเร็วมาก มีข่าววันนี้ ปล่อยเงียบ ข่าวใหม่เข้ามาแทน รอข่าวใหม่มาเร็วๆ
– ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง พี่โหน่งมองว่า ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน Social สร้างคนมาก จนมีชื่อเสียงข้ามคืน แต่สิ่งที่มากไปกว่านั้น คนดัง 2-3 ปีก่อนหายไปจนเราจำไม่ได้ ต่อไปคนจะมีชื่อเสียง 10-15 นาที ทำยังไงให้ยั่งยืน คนจำได้ คนรู้จัก ไม่ใช่ดังเปรี้ยง พรุ่งนี้คนก็ลืม
– ก่อนหน้านี้มีบรรณาธิการ ตรวจสอบ กลั่นกรอง ถ้าใครทำหนังสือมาก่อนจะมีการตรวจสอบ บก. พาดหัวยังไง ถ้าผ่านกระดาษ สิ่งพิมพ์มาแล้วจะรู้ว่ามีกระบวนการตรวจสอบ สำนวนภาษา รีโรท์หลายรอบมาก แต่ออนไลน์เร็ว ควรมีการตรวจสอบ คัดกรองเรื่องความถูกต้อง น่าเชื่อถือ
– พี่โหน่งคาดหวังเรื่องคุณภาพของคนเขียนบล็อกดีขึ้น ความถูกต้อง เนื้อหา คอนเทนต์ มีประโยชน์กับผู้คน บีบสื่อเลวๆ ออกไป เราต้องควบคุมคุณภาพของสื่อในประเทศไทย ไม่ใช่การควบคุมจากรัฐ
– ต้องสะดุดนิดนึง ใช่เปล่าวะ ตรวจสอบก่อน ไม่ใช่เอาคลิป ตั้งแต่ปีที่แล้วมาใช้ Daily Mail ก็เคยพลาด นทท มาไทย โดนตบนาฬิกา สุดท้ายไม่ใช่เรื่องจริง

ประเด็นคำถาม มีเรื่องความน่าเชื่อถือของสื่อใหญ่ ทีวี เมื่อก่อน นสพ. จุดประเด็น ทีวีลุยต่อ ตอนนี้ มีคลิปจาก Social ทีวีลุยต่อ ไม่ตรวจสอบ ความถูกต้อง ข่าวเก่าหรือเปล่า ควรตรวจสอบให้แน่ชัด ก่อนเผยแพร่

– นอกจากสื่อสิ่งพิมพ์ มี Pocket Books เป็นสื่อที่มองได้หลายมิติ ธุรกิจคือ Pocket Books อีกหนึ่ง Media ที่ตกความนิยมลง คนซื้อหนังสือน้อยลง พี่โหน่งชอบอ่านหนังสือ เพราะยังชอบและเชื่อเสน่ห์ของสื่อสิ่งพิมพ์ แต่การอ่านถูกแบ่งไป บางคนมอง อะไรๆก็แห่ไป Social มันคือหลักไมล์แล้วจะหมุนต่อไป คือมันเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ
– ปีที่ผ่านมาที่อังกฤษ ยอดขายแผ่นเสียงชนะ iTunes แต่ e-books ตกลง ส่วน pocket books โตขึ้น ร้านหนังสือเล็กกำลังมา อยากสโลว์หน่อย มีตลาดของหนังสือเล่ม แต่ Publishing ต้องจับตา หนังสือถูกหัก 40% จากสายส่ง กว่าจะได้ 3-6 เดือน สิ่งพิมพ์เสียเปรียบมาก ตอนนี้ ร้านหนังสือออนไลน์ ตอบโจทย์มาก มี dicsount ไม่ต้องมีสายส่ง ช่วยพยุงให้หนังสือเล่มดีขึ้น ซื้อได้ในราคาถูกกว่าแผง แถมส่งถึงบ้าน ไม่ต้องวนหาที่จอดรถห้างไปร้านหนังสือ ออนไลน์มาช่วยสิ่งพิมพ์ได้ ทลายตัวกลาง 40% ที่โดนหัก เพราะไปห้าง ร้านหนังสือ ตอนแรกอ่านที่ร้านก่อน แต่ร้าน ออนไลน์ได้อ่านก่อน 3-4 บท แล้วซื้อ มีส่วนลด ขายออนไลน์ ส่งถึงบ้าน

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของสื่อ พี่ตุ้ม พี่โหน่ง มองว่าถ้าน้ำขึ้นน้ำลง รอดได้ แต่ถ้าแม่น้ำเปลี่ยนทิศ รอดยาก demand ลดลง เราต้องปรับตัวไหลไปตามกระแสที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอักษรมีชีวิต ภาษามีชีวิต แต่เปลี่ยนจากกระดาษไปสู่สิ่งต่างๆ หนังไม่ตาย แค่เปลี่ยนภาชนะ คนก็ยังดูหนังอยู่ดี เมื่อก่อนพี่โหน่งดูบอล อะไรวะ ดูบอลจอมือถือเนี่ยนะ จะเห็นอะไร จากดูบอลจอใหญ่ พอมาดูบนมือถือ บ้าเหรอ ดูบนมือถือ จะได้อรรครสอะไร ทุกวันนี้ดูจอเล็ก ฮาาา