แบรนด์ควรเลือก blogger แบบใดไปร่วมงาน

ภาพจาก www.besocialpr.com
ภาพจาก www.besocialpr.com

บ่อยครั้งที่อเจนซี่ พีอาร์ กระซิบถามผมว่า คุณหยก แบรนด์นี้ไม่มีงบ ทำยังไงจะเชิญ blogger มาในงาน และให้เขียนบล็อกให้ลูกค้า (แบรนด์) ได้คะ? และบ่อยครั้งที่หลังจบงาน มีเสียงจากอเจนซี่อ้อนว่า คุณหยก ทำยังไงให้ blogger ที่ไปงานเขียนบล็อกให้คะ เขาไปงานมาแต่ไม่มีเขียนบล็อกให้เลยอ่ะค่ะ ลูกค้า (แบรนด์) ถามมา ช่วยบอกให้เขาเขียนหน่อยได้ไหมคะ

หมายเหตุ : ภาพประกอบในบล็อกนี้ เป็นเพียงภาพที่ร่วมงาน blogger day เท่านั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอเจนซี่หรือแบรนด์ใดๆทั้งสิ้น

บทสนทนาแบบนี้ผมเจอบ่อย มักจะมี อเจนซี่ / พีอาร์ / ดิจิตอล อเจนซี่ มาถามผม คุณหยกมี blogger คนไหนแนะนำไหมคะ คือแบรนด์เราไม่มีงบ แต่อยากจะเชิญ blogger ไปร่วมงาน อยากให้เขาเขียนบล็อกให้อ่ะคะ คือถ้าเชิญเขามา แล้วเขาจะเขียนบล็อกให้ได้ไหมคะ? ผมเองเคยแนะนำ blogger ไปหลายคน แต่พอจบงาน มีเสียงอ้อนจากอเจนซี่ว่า คุณหยก เจ้านาย (แบรนด์ลูกค้า) ถาม ว่าทำไมเชิญ blogger ไปงาน แล้วเขาไม่เขียนบล็อกให้เลยอ่ะคะ จนครั้งต่อๆไปต้องถามระบุว่า แบรนด์ (ลูกค้า) ต้องการให้ blogger เข้าร่วมงาน หรือว่าต้องการให้เขียนบล็อก ระบุไปตรงๆแบบนี้ ผมจะได้แนะนำ blogger ได้ตรงกับความต้องการ

การเชิญ blogger ไปงานนั้น ปกติแล้ว blogger ในสายที่ใช้งาน Social Media เป็นกิจวัตร จะ check-ins, tweet สด, โพส Facebook, Instagram บอกว่าไปงานอะไร ในงานมีอะไรน่าสนใจบ้าง โดยโพสผ่าน Social Media ของพวกเขาอยู่แล้ว เพียงแต่ น้อยคนที่จะกลับมาเขียนบล็อกให้ (เพราะโพสบน Social Media ไปแล้ว) ในเมื่อไม่มีใครเขียนบล็อก อเจนซี่ / พีอาร์ หลายเจ้า ยังเข้าใจผิด ว่าจะต้องมีงบ จะต้องมีเงินจ้าง จะต้องจ่ายเงิน ถึงจะเขียนบล็อกให้ เป็นความเข้าใจผิดที่มีมุมมองต่อ blogger ทีคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก

พอเจอเหตุการณ์แบบนี้ หลายๆครั้งเข้า ผมก็กลับมานั่งคิด ว่าเราควรจะแจ้งอเจนซี่ ให้สอบถามลูกค้า (แบรนด์)​ ให้ชัดเจนก่อนว่า เราสามารถเชิญ blogger มาร่วมงานได้นะ ถ้าเขาว่างเราก็แจ้งคุณได้ว่าคนไหนตอบรับเข้าร่วมงานได้บ้าง เพื่อให้อเจนซี่ทำงานต่อได้ แต่การจะคาดหวังว่า เชิญ blogger มาร่วมงาน ทุกคนจะเขียนบล็อกให้ อันนี้ผมเข้าใจนะ เพราะเคยทำงานพีอาร์มาก่อน ห้วหน้า หรือลูกค้า (แบรนด์) ก็ต้องถาม PR แหล่ะว่า หลังจบงาน ทำไมไม่มี blogger เขียนบล็อกให้เลย อเจนซี่ก็ต้องมาถามผม ผมก็สอบถามไปกับบล็อกเกอร์ว่า ถ้าจะรบกวนเขียนบล็อกให้ได้ไหม ซึ่งยอมรับว่ามันคือ connection ส่วนตัวของเรา แต่แบรนด์ มีความคาดหวังว่า ถ้าเชิญ blogger มาร่วมงาน ทุกต้องมีบล็อก เขียนบล็อกให้ แต่ผมตอบไปว่า พวกเขาที่ไปงาน โพสบน twitter facebook instagram ให้สดๆในระหว่างการจัดงานแล้ว แต่เข้าใจแหล่ะครับว่ามันไม่สามารถดู reach ได้ จะใส่แท็กทุกงานมันก็ยังไงๆอยู่ ทำให้ไม่สามารถทำรีพอร์ตส่งแบรนด์ได้ว่า จัดงานนี้ reach เท่าไหร ไม่เหมือน blog ที่ระบุได้ว่า มีจำนวนคนอ่านกี่ pageviews มีคนแชร์ Facebook, Twitter, Google+ กี่ครั้ง เข้าใจแหล่ะว่าเขามี KPI และอยากรู้ ROI ว่าจัดงานไปแล้วมีกระแสตอบรับยังไง

551390_10151753144411962_34293807_n

แล้วแบรนด์ ควรจะเชิญใครไปร่วมงานดีล่ะ?

ถ้าแบรนด์อยากจะได้คนเขียนบล็อกให้ เราก็ควรจะเชิญ คนที่ไปงาน แล้วเขียนบล็อกเป็นประจำ เรามาดูประเภทของ blogger ตอนนี้กันดีกว่า

PR News / News Reporter

blogger ในกลุ่มนี้จะมีลักษณะ charactor ความเป็นนักข่าว เขียนเจาะประเด็นลึก เขียนยาว เขียนบอกเล่า what when where how why + compare & forecast บอกเล่าในบล็อก กลุ่มนี้ถ้า blogger เข้าร่วมงาน แล้วเนื้อหาน่าสนใจ เขาก็กลับไปเขียนบล็อกให้ เพราะ blogger มีบล็อกก็ต้องการ “เขียนแล้วมีคนอ่าน” เนื้อหาที่น่าสนใจ เนื้อหาที่กลั่นออกมาจากแหล่งข่าวโดยตรง น่าสนใจและส่งผลดีต่อบล็อกในแง่ของ pageviews คนเข้า คนแชร์เยอะ อันนี้ถ้าแบรนด์อยากได้คนเขียนบล็อกให้หลังจบงาน ก็แนะนำให้เชิญ blogger กลุ่มนี้ เพราะเขาเหมือนนักข่าว วิเคราะห์ บอกเล่า ได้ละเอียดที่สุด ในงานเขาจะเก็บรายละเอียดเยอะมากเพื่อให้บล็อกของเขาสมบูรณ์ที่สุด

Announcement

Blogger กลุ่มนี้ ชอบบอกเล่า ชอบประกาศ ไปงานแล้วเอามาเล่าบน blog นี่คือ blogger คือนักบอกเล่า บอกเล่าในเรื่องที่ได้เห็น ได้สัมผัส อ่านง่าย ไปไหน มาไหน แบรนด์ไหน เขาเขียนให้จากประสบการณ์ของเขาจริงๆ เทียบกันก็เหมือนป้ายบิลบอร์ด บอกเล่า เรื่องราวต่างๆผ่าน blog

Influencer

blogger ในกลุ่ม influencer จะมีคนติดตามเยอะบน Social Media มีคนอ่านบล็อกเยอะ การบอกเล่าของเขามักจะวิเคราะห์ บอกเล่าเรื่องราว เปรียบเทียบ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจบน Social Media และอาจจะถ่ายทอดลงบล็อกในแบบที่น่าสนใจในเชิงวิเคราะห์และบอกเล่า แต่คนอ่านบล็อกจะเป็นรีวิว ที่เขียนเป็นคนแรกๆของประเทศ

เมื่ออเจนซี่ และแบรนด์รู้จัก blogger ประเภทต่างๆแล้ว ก็จะต้องตีโจทย์ว่า จะเชิญ blogger แบบ Influencer / PR News / Annoucement มาร่วมงานในสัดส่วนเท่าไหรดี และถ้ามีความคาดหวังว่าเขาจะเขียนบล็อกให้ จะต้อง “รู้จัก” blogger แต่ละคนก่อน ว่าเขาทำงานแบบไหน เขาเป็น blogger ประเภทไหน

แบรนด์จะทำยังไงให้รู้จัก blogger

1511534_10151895735811962_288319723_n

หลายๆแบรนด์ ไม่เคยจัดงาน blogger มาก่อน และยังไม่เข้าใจ ว่าทำยังไง ให้ blogger เขียนให้ ผมคิดว่า วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การสร้างความสัมพันธ์ สร้าง relationship กับ blogger โดยการติดตาม Social Media ของ blogger ต่างๆ (ถ้าอยากรู้ว่า blogger คนไหนมี social media อะไรบ้าง link จากบล็อกมักจะระบุไว้แล้ว) ติดตามเขาให้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา สังเกตว่าเขาไปงาน เขาทำยังไง เขาบอกเล่าแบบไหน ถ้าอยากหา blogger ที่ไปร่วมงานแล้วเขียนบล็อก ก็ต้องพิจารณาว่าเขาเขียนบล็อกให้หลังจบงานหรือเปล่า อันนี้จะทำให้รู้จัก blogger ในระดับนึง แต่หากอยากจะสร้างความสัมพันธ์ด้วย conntection ส่วนตัว ตัวอเจนซี่ หรือพีอาร์เอง ก็จะต้องเข้าไป comment แซว คุยกับ blogger แต่ละคนด้วยความเป็นกันเอง ยกตัวอย่างอเจนซี่ ที่ทำพีอาร์ให้ Nokia คุณปุ้ย และคุณลูกตาล ณ​ Samsung ที่เรารู้สึกว่าเป็นกันเอง รู้จักส่วนตัว เราอยากเขียนบล็อกให้ เราเป็นเพื่อนกัน เราช่วยกัน

Connection + Relationship สำคัญมาก

เรื่อง connection และ relationship นี่สำคัญมาก การจัดงานอีเว้นท์เชิญ blogger เข้าร่วมงานนั้น ผมขอเรียกว่า เชิญไปหาข้อมูล (blogger ไม่ได้หวังไปกินฟรี เขาไปหาข้อมูลมาเขียนลงบล็อก) แบรนด์จงให้ความสำคัญกับ blogger ทั้งด้าน Connection การต้อนรับ พีอาร์หรืออเจนซี่ ควรจะเดินเข้ามาคุยกับ blogger ในช่วง networking ก่อนเริ่มงาน และหลังจบงาน สังเกตว่า หลายๆงาน blogger หลายคนจะคุยกัน ยังไม่กลับจากงาน เพราะอยากคุยกับผู้บริหาร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ อยากคุยกับแบรนด์

หลังจากพีอาร์ อเจนซี่ ทำการบ้านเรื่อง Connection, Relationship มาล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว คือหมายถึงรู้จักตัวตนของ blogger แต่ละคน ตัวอย่างที่ผมเจอและประทับใจ มีอเจนซี่บอกว่า อ่านบล็อกผมอยู่ ติดตามตลอด ลูกน่ารักมาก และผู้บริหารแบรนด์คุยกับผมว่า ลูกคุณน่ารักมากเลยนะ นี่คือการทำ connection ในการรับรู้เรื่องราวต่างๆ และเปิดการสนทนาด้วยเรื่องส่วนตัว เพราะเขาได้ติดตามเราอยู่แล้ว (แหม ผู้บริหารแบรนด์เข้ามาติดตามเรา เราก็ดีใจใช่มะ) ในเมื่อมี connection แล้ว เราเป็น “เพื่อน” กันแล้ว เพื่อนก็ช่วยเพื่อน ถูกมะ ถ้ามี Conntection ดีมากๆ เรื่องงบนี่ไม่ใช่ประเด็นเลยถ้าเนื้อหาน่าสนใจ + เลือก blogger ตรงกับที่ต้องการ และ “เรารู้จักกัน” ดังนั้น อย่าคิดว่า ต้องมีงบ ต้องจ่ายเงิน ถ้า connection ดี เราก็ช่วยเหลือกันทุกอย่างที่ทำได้

ทำยังไงให้ blogger เขียนบล็อกให้

1013743_10151914856656962_1553904713_n

อันนี้คือคำถามจากอเจนซี่ ที่เคยถามผม จริงอยู่ ผมสามารถแนะนำอเจนซี่ได้ว่าควรจะเชิญ blogger คนไหนไปงาน แต่ไม่ได้หมายความว่า จะการันตีได้ว่า ทุกคนที่ไปจะต้องเขียนบล็อกให้ มีคำถามนึงจากอเจนซี่ที่สนิทกัน คุยกันเล่นๆว่า ทำไมบล็อกเกอร์ไปงาน แบรนด์เลี้ยงอาหารแล้ว ทำไมเขาไม่เขียนบล็อกให้ ผมก็ตอบว่า เขาโพสบน Social Media ของเขาตั้งแต่อยู่ในงานแล้ว แม้ว่าอเจนซี่ต้องทำรีพอร์ตส่งแบรนด์ ถึงจำนวน reach ว่า blogger ไปงานแล้ว การจัดงานในครั้งนี้สำเร็จแค่ไหน อันนี้เข้าใจได้อยู่ แต่ต้องย้อนกลับไปถามแบรนด์ว่า แบรนด์ต้องการอะไร คาดหวังอะไรจาก blogger ถ้าคาดหวังจะให้เขาโพสบน Facebook / IG / Twitter / Google+ / Molome อันนี้แทบทุกคนทำเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าอยากจะได้ blogger ที่เขียนบล็อกให้แบบชัวร์ๆ ซึ่งก็ไม่สามารถกำชับได้ว่าจะต้องเขียนนะ ขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของเนื้อหาในงานมากกว่า

เนื้อหา และสิ่งที่นำเสนอในงานต้องน่าสนใจ จึงจะกลั่นออกมาเป็น blog

ผมอ่านบล็อก Story Telling กับ 5 สิ่งสำคัญในการเขียน Blog ให้คนอ่านเยอะ มีการพูดถึง Story Telling ด้วย อันนี้สำคัญมาก ลองอ่านดูครับ เนื้อหาในงานที่น่าสนใจ ผมว่ายิ่งทำให้ blogger เขียนเพราะมันน่าสนใจ

ผมมองว่า อเจนซี่และพีอาร์ มีหน้าที่ 2 อย่างคือ รันงานให้เป็นไปด้วยดี ส่วนนึงคือรับรองผู้บริหาร แขกรับเชิญบนเวที พูดง่ายๆคือรันคิวงานอีเว้นท์ให้สำเร็จ (อันนี้อาจจะเป็นอเจนซี่อีกเจ้ารันคิวงานก็ได้)​ คือผมเองเคยเป็น PR จัดงานแถลงข่าว จัดอีเว้นท์เองด้วย ก็พอจะเข้าใจครับ

อีกส่วนนึงคือรับรอง blogger สิ่งหนึ่งที่ blogger ไม่เขียนบล็อก ทั้งที่ไปงานอื่นก็มีเขียนถึงก็คือ การจัดงานไม่น่าสนใจ ไม่มีสิ่งที่แปลกใหม่ในการนำเสนอ blogger ต้องการสิ่งที่สดใหม่ เจาะลึก เขาอยากบอกเล่าต่อครับ และสิ่งที่อเจนซี่อาจคาดไม่ถึงก็คือ การจัดงาน อีเว้นท์ไม่น่าสนใจ และเรื่องเล็กๆน้อยๆคือ ความไม่พร้อมของงาน การจัดงานที่มีจุดบกพร่องมากเกินไป อันนี้ถ้าหาก blogger ไม่ใช่สิ ผู้เข้าร่วมงานคนไหน ไม่ประทับใจเอามากๆ เขาอาจจะไม่เขียนบล็อกก็เป็นได้ (อันนี้ไม่ใช่ว่า blogger หยิ่งไม่เขียนให้หรอกนะครับ แต่นึกภาพว่าเขาฝ่ารถติดไปร่วมงาน งานจัดแบบกระท่อนกระแท่น ต้อนรับไม่ดี ไม่สนใจคนที่เชิญมา แถมเนื้อหาในงานก็ไม่มีอะไรน่าสนใจ เขาก็เลยไม่เขียน เพราะไม่มีอะไรจะเขียน ไม่ใช่เพราะงานไม่ราบรื่นนะครับ แต่การไปร่วมงาน โพสบน Social Media ก็ถือให้ให้เกียรติแบรนด์และเจ้าของงานแล้วล่ะ) แต่เอาจริงๆ ถ้าช่วยอะไรได้เราก็ช่วยครับ

งาน Blogger Day ของ Microsoft ถือเป็นงานที่ blogger สนใจ เพราะมีการเสนอข้อมูล unseen และมีเนื้อหาที่น่าสนใจเอามาเขียนบล็อกได้
งาน Blogger Day ของ Microsoft ถือเป็นงานที่ blogger สนใจ เพราะมีการเสนอข้อมูล unseen และมีเนื้อหาที่น่าสนใจเอามาเขียนบล็อกได้

ถ้าแบรนด์อยากจะได้ blogger ที่ไปงานแล้วเขียนบล็อกให้ ก็ควรจะทำความรู้จักกับ blogger แต่ละคน คนไหนไปงานแล้วโพส Facebook IG Twitter Google+ ให้ตลอด คนไหนเขียนบล็อกเป็นประจำ แบรนด์ก็ต้องรู้จัก blogger กลุ่มนี้ และเชิญไปร่วมงานที่ตรงกับแนวของเขา การติดตาม Social Media ของ blogger แต่ละคนก็จะรู้จักความถนัด ความสนใจ ความชอบของเขาและในงานก็พูดคุยกันได้ บางครั้งความสนใจส่วนตัว อาจจะทำให้ connection ใกล้กัน จนกลายเป็นเพื่อนกันไปเลยก็ได้ ที่นี้แบรนด์ก็จะได้คนที่ช่วยประชาสัมพันธ์อีกทางนึงแล้ว

สร้างการรับรู้บน Social Media ผ่าน Influencer

ถ้าแบรนด์อยากจะได้ Influencer ไปร่วมงาน อยากจะให้โพสบน Social Media คาดหวังให้ มีคน retweet, likes เยอะ แชร์เยอะ ก็เชิญ blogger ในกลุ่มนี้ เพราะเขามีอัตราการ reach บน social media เยอะมาก แต่จะต้องเข้าใจว่า blogger ในกลุ่มนี้ อาจจะได้รับเชิญไปงานทุกวัน ดังนั้นถ้าจะให้เขียนบล็อกทุกงานก็คงไม่มีเวลา แต่ถ้าหากแบรนด์เลือก blogger ในกลุ่มนี้ ก็ย่อมหวังผลบน Social Media มากกว่าการเขียนบล็อก ถ้าเขียนก็จะขอบคุณมาก แต่ถ้าไม่เขียนก็ไม่เป็นไร #เข้าใจตรงกันนะ ไม่มีการงอนกันทีหลัง

ถ้าแบรนด์ไม่มีงบ แต่อยากให้ blogger เขียนบล็อก ทำยังไง?

หลังจากที่แบรนด์ เข้าใจและรู้จัก blogger ในทุกประเภทแล้ว รู้ว่าคนไหนเป็นยังไง หากแบรนด์ไม่มีงบ แบรนด์ก็อาจจะเลือก blogger ในกลุ่มที่ไม่ใช่ influencer ดังมากๆ การเลือก blogger นั้น ผมไม่อยากให้มองไปถึง blogger ดังๆเพียงกลุ่มเดียว แต่อยากแนะนำให้ลองทำความรู้จักกับ “คนทั่วไปที่เขียนบล็อก” ถ้าค้น google เราจะเห็นคนเขียนบล็อกมากมายบนอินเทอร์เน็ต แต่พวกเขาเหล่านี้ เขียนด้วยความรักและชอบ ซึ่งก็คือยุคแรกๆของ blogger ยอดนิยมตอนนี้แหล่ะครับ การเขียนบล็อกนั้น แบรนด์อาจคาดหวังว่า จะมีคนค้นมาเจอบน google ด้วยคำต่างๆ หากเชิญ blogger ไป 30 คน มีสัก 10 บล็อกที่เขียนด้วยลีลา เนื้อหาการนำเสนอที่แตกต่างกัน ก็มีสิทธิที่ใครจะค้น google มาเจอเนื้อหาของแบรนด์ผ่าน blogger สักคน ที่อาจจะไม่ได้มีชื่อเสียงมาก แต่ตั้งใจเขียนบล็อก ไปเจออะไรก็เล่าเรื่อง

ผมกำลังพูดถึง blogger ในฐานะ “นักเล่าเรื่อง” ไปงานแล้วเป็นยังไงก็เล่าสู่กันอ่านผ่านบล็อก ถ้าแบรนด์อยากได้ blogger ไปร่วมงาน แล้วคาดหวังจะให้เขียนบล็อก ก็น่าจะมอง blogger ในกลุ่มนี้ ซึ่งมักจะเป็นแบบ Annoucement และ PR / News Reporter แต่ blogger กลุ่มนี้ อาจจะไม่ต้องคาดหวังกับ Social Media มากนัก เพียงมีคนติดตาม เกือบๆ พัน – 2 พันคนก็โอเคแล้ว เพราะคนกลุ่มนี้ชอบบอกเล่าในบล็อก มากกว่าโพสบน Social Media ทำให้จำนวนคนติดตามไม่เยอะมาก

สิ่งที่อยากจะบอกแบรนด์ผ่านอเจนซี่ และพีอาร์ก็คือ คำว่า “ไม่มีงบ” อย่าให้มันทำลายความตั้งใจของแบรนด์ในการทำการตลาดออนไลน์ครับ หลายครั้งคำว่า ไม่มีงบ มาพร้อมกับมุมมองว่า blogger ต้องจ่ายเงิน ต้องมีงบจ่ายเงินให้ blogger พอไม่มีงบ ก็เลยไม่อยากจัดงาน หรือจัดแบบ ประหยัดงบ ซึ่งจริงๆแล้ว เราช่วยเหลือพึ่งพากันมากกว่า อะไรที่เราช่วยกันได้เราก็ช่วย ไม่ได้ติดตังค์อยู่แล้ว ขอเพียงให้เนื้อหาในงานน่าสนใจ มีอะไรใหม่ๆ น่าตื่นเต้น unseen น่าเอามาเขียน เปิดเผยเป็นที่แรก มี exclusive content ที่ blogger นำมาเขียนและแบ่งปันได้ นึกภาพง่ายๆว่า เวลาเราให้ความสำคัญกับใครสักคน แล้วเขารู้สึกดี เขาก็จะปฏิบัติตอบด้วยดีมากๆ

ขอให้รู้จัก blogger และรู้ว่าพวกเรา “กระหายข้อมูล” อยากจะเผยแพร่ อยากจะเขียน อย่างที่บอกไปว่า ขอให้มี connection ดี relationship แน่น เราก็ช่วยเหลือกันโดยคำว่า “งบ” ไม่มีความหมายเลยด้วยซ้ำ

1234892_10151666999236962_778463597_n

แบรนด์ไม่มีงบ ทำยังไงถึงจะเชิญ​ blogger ได้?

บางอเจนซี่ยังมีมุมมองที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ blogger ว่ารับเงิน ต้องจ่ายเงิน ถึงจะไปงาน เขียนบล็อกให้ แต่เอาจริงๆ มีแบรนด์นึงจัดงานแรกๆ ก็ไม่ได้มีงบอะไร จัดในบริษัทด้วยซ้ำ ทานอาหารกันง่ายๆ กันเองๆ เหมือนปาร์ตี้เพื่อนฝูง แต่ด้วยเนื้อหาในงานที่น่าสนใจ blogger ก็เขียนบล็อก โพสบน Social Network ให้ การเลี้ยงอาหารก็เหมือนต่างตอบแทนเฉยๆ เหมือนเพื่อนเลี้ยงเพื่อน เราก็เขียนให้เพราะความสดใหม่ น่าสนใจของเนื้อหาที่เปิดเผยที่แรกของประเทศ ดังนั้น แบรนด์น่าจะต้องเรียนรู้ว่า จะหาอะไร สดใหม่ มาเสิร์ฟ blogger เพื่อให้มีบล็อกเขียนแชร์กระจายบนอินเทอร์เน็ต เพราะขุมทรัพย์ของ blogger ไม่ใช่การเลี้ยงอาหาร แต่เป็น value ของข้อมูลที่ลึก เป็น content ที่ generate เอง orginal content ที่ blogger เขียนเองจากการรับรู้เนื้อหาที่น่าสนใจ ดังนั้น คำว่า “ไม่มีงบ” ไม่ใช่ประเด็นเลย ต่อให้มีงบเยอะแยะ แต่ถ้าเนื้อหาไม่น่าสนใจ เราก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปเขียนให้มันแปลกใหม่ คนอ่านก็เฉยๆกับสิ่งที่เราบอกเล่าด้วยซ้ำ

ทำไม blogger บางคน ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมงานบางงาน

จากที่ผมเล่ามาทั้งหมด blogger มีหลายประเภท บางแบรนด์อาจจะอยากได้ blogger ที่กลับจากงาน เขียนบล็อกบอกเล่าเรื่องราว บางแบรนด์ อาจจะมองภาพของ blogger บางคน ไม่เหมาะกับสินค้าที่เปิดตัว ไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของตน ก็เลยไม่ได้เชิญ หรืออาจมองว่า บางคนเป็น influencer เน้นโพสบน Social Media มากกว่า แต่แบรนด์อยากได้คนที่เขียนบล็อกหลังจบงาน ตลอดเวลา 7 ปีที่ผมเขียนบล็อก ช่วงแรกๆที่เรายังไม่เป็นที่รู้จัก เราก็ไปออกงานทุกงานที่ได้รับเชิญ แล้วกลับมาเขียนบล็อกทันที กลับมาดึกแค่ไหน 4 – 5 ทุ่มผมก็เขียนบล็อก แล้วขึ้นบล็อกภายในคืนนั้น หรือตื่นเช้าตรู่มาเขียนบล็อก (ผมกลัวลืมด้วยแหล่ะถ้าปล่อยเวลาผ่านไปนาน) แบรนด์ก็เห็นว่า เชิญคนนี้มา รายงานสดให้ เขียนบล็อกให้ งานต่อๆไปเขาก็เชิญ แต่บางงานอาจจะไม่ได้รับเชิญบางงานก็ไม่เป็นไร เพราะเราอาจไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการ

ดังนั้น การที่แบรนด์จะคาดหวังว่า blogger ไปร่วมงาน จะต้องโพส ต้องเขียนบล็อก สรุปง่ายๆคือต้องรู้จักกันและกัน ไม่ใช่แค่รู้จักตัวอักษร (บล็อก) แต่รู้จัก อัพเดตเรื่องราวชีวิตส่วนตัว เข้าใจและรู้จักว่า blogger แต่ละคนถนัดอะไร ทำงานยังไง แล้วแบรนด์ก็จะได้เลือก blogger ไปร่วมงานได้ตรงความต้องการในการจัดงาน ตรงกลุ่มเป้าหมาย และตรงกับความต้องการในการประชาสัมพันธ์สินค้า บางครั้งการเชิญ blogger ไปงาน แล้วเขาไม่เขียนบล็อก ก็อาจเป็นได้ว่า ไม่ตรงกับความถนัดของเขา เขาเลยไม่เขียน ก็เป็นได้

แถมอีกคำถาม ที่เคยคุยกับเพื่อนที่อยู่นอกวงการ เขาก็ถามว่า เป็น blogger กินฟรี ได้สินค้าใช้ฟรีหรือเปล่า ในฐานะเป็น blogger สายไอที ก็ต้องบอกว่า เป็นการ “ยืม” สินค้ามาทดลองใช้งานแล้วคืน จากนั้นนำมาบอกเล่าต่อเท่านั้น แต่ถ้าเป็นบทความโฆษณา Advertorial ก็จะมีการแจ้งในบทความอย่างชัดเจน ส่วนการไปร่วมงานแล้วได้กินฟรี เอาจริงๆไม่ได้คุ้มค่ากันเลยครับถ้าจะคิดแบบนั้น เพราะค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน แก็ส ค่ารถโดยสาร ค่าจอดรถในบางสถานที่ แพงกว่าค่าอาหารที่แบรนด์ต่างๆเลี้ยงซะอีก ตรงนี้ก็เลยอยากจะฝากแบรนด์ ผ่านอเจนซี่ พีอาร์ต่างๆ เพื่อให้เลือก blogger ได้เหมาะสมกับงาน กลุ่มเป้าหมาย และความคาดหวังครับ

แถมท้ายอีกนิดสำหรับการจัดงาน event เชื่อว่าตอนนี้ Agency / PR ก็คงจะทราบดีอยู่แล้วว่า blogger ทำงานประจำ ดังนั้นการจัดงาน มักจะจัดเป็น blogger day แยกออกมาจากการงานของสื่อมวลชน (Press) ที่มักจัดในช่วงเช้าหรือบ่าย blogger สะดวกเข้าร่วมงานในตอนเย็น เรียกว่าค่ำเลยล่ะ ช่วง 19.00น. เป็นต้นไป เคยมีบางงานจัดเวลา 17.00 – 17.30น. (ตามกำหนดการ) ซึ่งหลายคนยังไม่เลิกงาน ทำให้จำนวน blogger ที่เชิญเข้าร่วมงานน้อยกว่าที่คาดเอาไว้ ปกติคนทำงานออฟฟิศทั่วไปจะเลิกงาน 17.30 – 18.00น. ยกเว้นทำงานราชการ หรืองานบางประเภทที่เลิก 4 – 5 โมงเย็น ไปอ่านคำแนะนำจาก FordAntitrust ครับ

หมายเหตุ: ภาพประกอบ เป็นภาพที่นำมาใช้ประกอบบทความ จากการไปร่วมงาน blogger day เท่านั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอเจนซี่และพีอาร์ ในหน่วยงานหรือแบรนด์ใดทั้งสิ้น