การมอนิเตอร์เสียงของผู้บริโภคผ่าน Social Media กับการใช้ Influencer ของแบรนด์

การสร้างแบรนด์ในยุคออนไลน์ หลายๆแบรนด์หันมาใช้ดารา เซเลป รวมไปถึง Online Celebrity หรือ Influncer ผู้มีอิทธิพลชักจูงคนให้ซื้อสินค้าตามดารา เซเลป หรือ Influencer ที่ตนชื่นชอบ หลายๆแบรนด์มองจาก จำนวนคนที่ชื่นชอบดารา จำนวนของผู้ติดตามดารา เซเลป หรือ Influencer คนนั้น เพื่อหวังว่า สินค้าของแบรนด์จะขายได้ดีและเป็นที่รู้จัก เพราะพรีเซ็นเตอร์หรือ Influencer ของแบรนด์

แต่สิ่งหนึ่งที่น่าคิดนอกจากว่า พรีเซนเตอร์หรือ Influencer คนนั้นดังหรือไม่ มีอีกประเด็นคือ คนตามเขาเยอะ แต่ตามเพราะชอบหรือไม่ชอบเขาล่ะ

หลายอาทิตย์ที่ผ่านมา มีการโฆษณาออนไลน์กับสินค้าไอศกรีม แม็กนั่ม ที่เรียกว่าดังข้ามเดือน ผมเองได้มอนิเตอร์บน Social Media ทำให้ทราบว่า สินค้าจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้มีผลเท่ากับเราชื่นชอบดาราหรือเซเลปคนนั้นหรือไม่ เพราะบางคน อาจจะชอบสินค้ามากๆ แต่พอเห็นดารา เซเลป หรือ Influencer ที่เขาไม่ชอบมาโฆษณาให้สินค้านั้น ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกด้านลบกับสินค้า เพียงเพราะอคติส่วนตัวของพรีเซ็นเตอร์หรือ Influence คนนั้นๆ ตรงนี้ก็มีคนถามผมว่า มันคือส่วนน้อยนะ แต่ผมมองว่า ถึงจะเป็นส่วนน้อยก็คือการสะท้อนการทำการตลาดของแบรนด์ด้วยนะ

ในกรณีของไอศกรีมแม็กนั่ม หากไปดูบนเพจของแม็กนั่ม จะพบว่า พรีเซ็นเตอร์ดี อนันดาก็คนชอบเยอะ ชมพู่ก็น่ารักดี เพจทำได้ดีมาก ชอบมาก ปรบมือให้ครับ แต่ก็มีเสียงบน Social Media บอกว่า ไม่อยากกินเพราะ Influencer เหมือนกัน (ไม่ใช่อนันดาและชมพู่นะ แต่เป็น Online Influencer)

แต่สำหรับบน Social Media นั้น แบรนด์ได้มอนิเตอร์เสียงของชาวออนไลน์บ้างหรือเปล่า ไม่ได้หมายถึงจำนวนคนติดตามบน facebook twitter instagram นะ เพราะยอมรับว่า แคมเปญนี้ดังมาก ดังข้ามเดือนกันเลยทีเดียว แต่ว่า คนที่ไม่กินแม็กนั่ม เพราะ Influencer ก็มีนะเออ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆด้วย แม้ว่าจะไม่มีตำรายืนยัน คนที่ชอบแม็กนั่มมากๆ แต่พอเจอ Influencer ที่ตัวเองไม่ชอบ ก็พาลไม่อยากกินและไม่ซือสินค้านั้นๆตามไปด้วย อันนี้ไม่ได้มีเหตุผลอะไร มันคืออารมณ์ Emotion ล้วนๆ คือไม่มีเหตุผลว่าทำไมไม่กิน คือไม่ชอบ Influencer คนนั้น (แค่นั้นแหล่ะ) โห เรื่องแบบนี้ แบรนด์ก็ลืมคิดไปนะ ผมเองก็ลืมคิดไปด้วย แต่มันเห็นได้ชัดตอนแม็กนั่มเนี่ยแหล่ะ

ผมลองโพสบน Social Network ของผม พบเห็นความเห็นว่า อยากได้รถนิสสัน แต่เจอพรีเซ็นเตอร์ที่ไม่ชอบก็เลยตัดตัวเลือกทิ้งไป น่าเสียดายแทนแบรนด์นะครับ รถคันละหลายตังค์

เรื่องไม่ชอบ Presenter, Influencer นี่ห้ามกันไม่ได้ ล่าสุด ณเดชน์เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้ TruemoveH ถามว่า คนไม่ชอบทรู จะให้เปลี่ยนมาชอบเพราะณเดชน์เหรอ ถ้าเขาไม่ชอบสินค้าและแบรนด์อยู่แล้ว ถึงให้ณเดชน์มากินข้าวด้วย เขาก็คงไม่ได้เปลี่ยนใจมาชอบแบรนด์ ถ้าสินค้าและบริการไม่ได้ดีจริงๆ

ผมเข้าใจนะว่า การเลือก Influencer นั้นยาก ที่จะให้ทุกคนชอบนั้นก็ยาก แต่ออฟไลน์มันไม่เหมือน Online นะ ออนไลน์ชอบ ไม่ชอบ คุณค้นหาได้เลยว่ากระแสตอบรับเป็นยังไง แต่ผมไมได้สรุปนะ ว่าเซเลปหรือ Influencer นั้นไม่ดี หรือทำให้คนรู้สึกกับแบรนด์ไม่ดี แต่เป็นเพราะแผนการทำตลาดต่างหากล่ะ งานนี้บอกได้เลยว่า Influencer ไม่ได้ผิดนะ แต่ความพอดี ต่างหากล่ะ

 ผมชอบมอนิเตอร์ดูความเห็นจากคนธรรมดา ไม่ใช่บล็อกเกอร์ ไม่ใช่ Influencer เราจะได้เห็นความเห็นที่แท้จริงๆ เห็นแบบนี้แบรนด์ยอมรับได้นะครับ ว่ามีกลุ่มเป้าหมายลดลงไปเพราะรูปแบบการทำตลาดจริงๆ

ผมยอมรับว่า การตลาดแม็กนั่มรอบนี้ เก่งมาก ดีมาก คนพูดถึงทั่วเมือง แต่พูดถึงแบบไหนล่ะ ลองไปดูกัน

และนี่คือเสียงจริงจาก Social Media ครับ ที่ทำให้คนอยากกิน และพูดถึง ไม่ว่าจะในทางลบหรือบวกก็ตาม มันก็คือกระแสใช่ไหม

นี่คือส่วนหนึ่งของความเห็นจริงๆบน Social Network ผมไม่ได้บอกว่าดารา เซเลป หรือ Influencer ไม่ดีนะ เขาเลือกมาดีจนคนพูดถึงกันเยอะ แต่การ “เยอะ” ไป ของการโฆษณาแบบไม่เนียน จงใจมากทำให้คนตามรู้สึกไม่อยากใช้สินค้านั้นๆเลยก็ได้ (มันคือการยัดเยียดแล้วล่ะ) ส่วนตัวผมเคยเจอประสบการณ์จาก Snicker ที่ผมไม่กินอีกต่อไปเพราะแคมเปญบน Facebook อันนี้ไม่เกี่ยวกับดารา เซเลปนะ แต่เพราะ “ยัดเยียดมากเกินไป”

ปิดท้ายด้วยความเห็นนี้ครับ เพราะความ “เอียน” ที่ “มากเกินไป” ไม่ได้เกี่ยวกับไม่ชอบดารา เซเลป นะ แต่เป็นเพราะความ “ยัดเยียด มากจนเกินพอดี”

รอบนี้ Magnum Fever สุดยอดจริงๆครับ ผมชื่นชมจากใจ แต่เหตุผลที่ผมไม่กินคือ แพง เหตุผลเดียวครับ (ง่ายมะ) เพราะถ้าผมทานกับภรรยา ผมก็ต้องซื้อ 2 แท่ง 80 บาท ผมไปกินไอติมถ้วย 80 บาท หรือซันเดย์ดีกว่า ปกติชอบช็อกโกแลตนะ แต่มันไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น

จากกระทู้ Pantip

เพื่อนๆมีความเห็นยังไงบ้างครับ