เก็บประเด็น 2012 Digital Trends and Measurement for Success จากงาน WWTH 9.0

ได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน Web Wednesday Thailand 9.0 ที่จัดขึ้นสำหรับคนในวงการการตลาดดิจิตอล กับประเด็น 2012 Digital Trends and Measurement for Success เรื่องของเทรนด์ดิจิตอลปี 2012 และการวัดผลการตลาดดิจิตอล ผมได้ทวิตสดในงานและเก็บประเด็นนำมาฝากกัน

เทรนด์การนำสื่อดิจิตอลมาใช้ในประเทศไทย ท่ามกลางการตอบรับด้านเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ความเร็วของการให้บริการเครือข่าย 3G รวมไปถึงการแพร่หลายของอุปกรณ์ไอที ที่นักการตลาดจะต้องสนใจ เพราะมันคือการเปลี่ยนวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตแบบใหม่ของโลกดิจิตอล ที่แบรนด์จะต้องเข้าหาคนให้ถูกที่ ถูกเวลา

ประเด็นนี้ผมจับประเด็นมาจากคุณอรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท adapter digital จำกัด ที่พูดในเรื่องของเทรนด์ดิจิตอล เสียดายที่ในงานภาพบนจอไม่ชัด หากมีสไลด์ ผมจะนำมาเผยแพร่อีกครั้ง

เทรนด์ดิจิตอลปีนี้คือการบอกต่อ การใช้สื่อดิจิตอล การใช้โซเชียล เน็ตเวิร์คในการเชื่อมโยง ปีนี้มีการลงทุนด้านสื่อออนไลน์ดิจิตอลมากขึ้น มีการใช้สื่อดิจิตอลเพิ่มขึ้น และหลายๆรายที่ทำการตลาดแบบออฟไลน์ก็มองหาช่องทางในการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น มีความมั่นใจในการเลือกใช้สื่อดิจิตอลมากขึ้น และโผเข้าสู่โซเชียล มีเดียเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงแบรนด์ได้ง่าย รวมไปถึงการใช้ Word of Mouth อย่าง Blogger, Influencer ในการบอกต่อ และแบรนด์มีการใช้สื่อที่เป็นโซเชียล มีเดียเพิ่มขึ้น นอกจาก Facebook ก็คือ twitter, instagram, Pinterest ส่วนเทรนด์ที่มาแรง ก็มาจาก Mobile Application และ Tablet Application และสำหรับการค้นหาข้อมูล ลูกค้ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มีการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลผ่านออนไลน์ การเปรียบเทียบคุณสมบัติ ราคาสินค้า ตัดสินใจซื้อ โดยสื่อออนไลน์มีผลในการตัดสินใจซื้อสินค้าร่วมๆ 50 – 70% ในขณะที่ออฟไลน์มีเพียง 20% เท่านั้น

สิ่งที่มาแรงในปีนี้ก็คือ 1. Mobile Application 2. Tablet Application 3. HTML5 ดีกว่าการใช้ Flash เพราะสามารถเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ (ควรอัพเดตบราวเซอร์เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด) เหตุผลคือบางอุปกรณ์รัน Flash ไม่ได้ ทำให้เสียโอกาสในการเข้าถึงการรับชมของผู้ชม

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Sharevertising นั่นคือการแชร์สิ่งที่เราเห็น เป็นโฆษณาที่คนดูช่วยการแชร์ บอกต่อ การทำกิจกรรมออฟไลน์ คนเห็นแล้วแชร์ต่อ ถ่ายภาพโพสขึ้นบนโซเชียล เน็ตเวิร์ค และวิธีการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการนำเสนอที่น่าสนใจ อย่าง IKEA ก็มีการจำลองห้องตัวอย่างในสถานีรถไฟฟ้า เอาโซฟามาให้ลองนั่ง แล้วก็มีคนถ่ายรูปแชร์บนโซเชียล บอกต่อให้แบรนด์ ทางด้าน Ebays ก็เอา QR Code มาใช้อย่างน่าสนใจในการสร้างบรรยากาศจำลอง หากสินค้าใดน่าสนใจก็สแกน QR Code ซื้อได้เลย

ทางด้านตัวเลขที่น่าสนใจ ทำไมนักการตลาดจะต้องสนใจไอที สนใจตัวเลข ก็เพราะว่า สื่อในการรับชมข้อมูลต่างๆ นั่นไม่ใช่ทีวี หนังสือพิมพ์แล้ว แต่เป็น สมาร์ทโฟน ที่มีการเติบโตในไทย 47% ส่วน Tablet น่าสนใจมากเพราะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 29% เติบโตสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ และเป็นเพราะมีคนซื้อแท็บเล็ตมากขึ้น

ส่วนใครที่ถามว่า PC จะตายไหม จริงๆแล้วพฤติกรรมจะแยกกลุ่มกันชัดเจน การดูวีดีโอ การอัพโหลดภาพ ยังใช้ PC อยู่ ยังดู Flash บน PC อยู่ แต่ถ้าอยากจะใช้แท็บเล็ต ก็จะใช้ในการรับชมข้อมูล ดังนั้น Devices เปลี่ยนไปตาม Segmentation ถูกแบ่งกลุ่มการใช้งาน ไม่ใช่ว่า PC จะตาย แต่ PC จะถูกใช้ในบางลักษณะงานได้ดีกว่า แต่การเสพข้อมูล การอ่าน จะไปอยู่บนแท็บเล็ต เพราะเน้นการพกพาง่าย แบ่งง่ายๆคือ PC ใช้เพื่อ Information ส่วน Tablet ใช้เพื่อ Organization & Fun เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน ฟังดูเหมือนพีซีจะซีเรียสไปนะ ฮาาา

นอกจากนี้ Mobile App ยังมีอิทธิพลต่อชีวิตเรามากขึ้น อย่างแอพ The1Card นั้น คนเราไม่ต้องพกบัตรกันแล้ว เปิดแอพแล้วใช้งานได้เหมือนกับการพกบัตรเลย เวลาจะใช้ก็เปิดแอพแทน

ส่วนการยกตัวอย่างแบรนด์ที่น่าสนใจก็คือ แสนสิริ มีการรองรับการรับชมแบบ Multi Screen สามารถรับชมได้ทุกอุปกรณ์ ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต พีซี โดยแต่ละอุปกรณ์จะมีอินเทอร์เฟซ การวางเลยเอ้าท์ที่แตกต่างกัน

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในไทย ส่วนใหญ่ อย่างแรกที่ทำตอนเข้าเน็ต 1. เข้า Social Network ผิดไปจากการสำรวจที่ส่วนใหญ่จะเข้าเช็กอีเมล์ก่อน ตอนนี้คนเข้า Social Network ก่อนเช็กอีเมล์เสียอีก 2. ใช้ตรวจสอบข้อมูลสินค้า เพราะพฤติกรรมคนไทยตอนนี้ใช้เน็ตหาข้อมูล และสำหรับการตรวจสอบ การวัดผลประสิทธิภาพการทำการตลาดออนไลน์ เราจะต้องตรวจสอบ check brand health ใครด่า ใครพูดถึงแบรนด์บน webboard, social network ต่างๆ เพราะตอนนี้คนซื้อสินค้า ใช้สื่อออนไลน์เป็นสื่อหลักในการตัดสินใจหาข้อมูลกว่า 50 – 70%

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จากการดูทีวี เราจะสังเกตได้ว่า พอมีโฆษณาออกมาทางทีวี เราก็จะบอกต่อเพื่อน พูดถึงโฆษณาบนโซเชียล เน็ตเวิร์ค บอกต่อ และแต่ละคนสร้าง conversation ที่แบรนด์จะต้องมอนิเตอร์ความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์

สำหรับการใช้งานโซเชียล เน็ตเวิร์คในไทย Facebook มีจำนวนผู้ใช้ 14 ล้านคน คิดเป็น 21% เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร และคิดเห็น 80% ของคนเล่นเน็ต ที่น่าตกใจคือ 4shared คนไทยใช้เยอะมาก ส่วน twitter ในไทย มีจำนวน 1,087,013 บัญชี แต่มี active จริงๆ 137,787 บัญชี มีจำนวนทวิตต่อวัน 2.8 ล้านทวิต

ข้อมูลทั้งหมดมาจากคุณเอิร์ธ อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ จาก adapter digital ครับ ข้อมูลจากที่ผมทวิตใน #WWTH9

และสำหรับการวัดผลการใช้สื่อออนไลน์ ก็มีทาง Effective Measurement และ ZocialRank กับ ZocialEyes รวมทั้งทางแสนสิริ ก็มาแนะนำการใช้ Measurement Tools ด้วย โดยุคุณ @pawoot แนะนำว่า จะต้องตั้งวัตถุประสงค์ว่า จะใช้ในการวัดอะไร วัดประสิทธิภาพ เป้าหมาย หรือวัดการใช้สื่อ การเข้าถึง ไม่ใช่แค่สักแต่ Like หรืออยากได้ Follower เยอะๆ เอาไปทำอะไร โดย ZocialEyes เหมือนตาทิพย์คอยมอนิเตอร์ให้แบรนด์เรา ใครพูดถึงบนเวบบอร์ด คอมเมนต์บน Facebook Youtube FourSquare ตาวิเศษเห็นหมด รวมไปถึงการพูดถึงบนสื่ออื่นๆ มีหนังสือพิมพ์พูดถึงแบรนด์แล้วมีใครบนโซเชียลพูดถึงแบรนด์เราบ้าง และมีการเก็บข้อมูลจาก FourSquare check-in เป็นสาขา สาขาไหนใครพูดถึง ด่าอย่างไรบ้าง หรือแม้กระทั่งดูว่าคนพูดถึงคู่แข่งเราอย่างไร สำหรับธนาคารออนไลน์ KBank ถูกพูดถึงมากที่สุด เปรียบเทียบกับแบรนด์คู่แข่งได้ด้วย ส่วน ZocialRank เก็บข้อมูล Facebook ทุกแบรนด์ ใครพูดถึงแบรนด์บ้าง เปรียบเทียบกับคู่แข่ง

ปิดท้ายคุณปี่จาก แสนสิริ แนะนำว่าการวัดผล การใช้สือ ควรมีเป้าหมาย และที่สำคัญแม้ว่าจะมี Tools กับ Technology แต่อย่างไรก็ตามการมอนิเตอร์แบรนด์ ควรจะอยู่ที่ People 90% มากกว่าการใช้ Tools 10% วางแผนและวัดผลอย่างจริงจัง หมดยุคของการกำหนดจำนวน follower, like แต่ควรเน้นการโต้ตอบ การสร้างบทสนทนากับลูกค้าและแบรนด์ ความใกล้ชิดแบรนด์ การดูแลลูกค้ามากกว่า

Facebook WWTH