ปัจจัยและสถิติการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจาก Truehits ที่นักการตลาดควรรู้

เรียบเรียงโดย @yokekung

ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานประกาศผล Truehits.net web Award 2010 ของทาง Internet Research Innovation Center โดย ดร. ปิยะ ตัณฑวิเชียร Chief Technology Officer of Internet Innovation Research Center Co.,Ltd. ทำให้เราได้มองเห็นภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทย ณ ปัจจุบัน โดยดูจากปี 2010 หรือ 2553 ที่คนไทยมีอัตราการใช้เว็ปไซต์ต่างประเทศมากขึ้น รวมไปถึงพฤติกรรมของคนไทย ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์มากขึ้น โดยมีการติดตั้ง Browser มากกว่า 1 ตัว

โดย Internet Explorer มากับระบบปฏิบัติการ Windows อยู่แล้ว แนวโน้มในการใช้งานบราวเซอร์มากกว่า 1 ตัว มีผลในการวัดค่าจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและใช้งานเว็ปไซต์ อย่าง Firefox, Mozilla, Chrome, Safari เพราะหากติดตั้งบราวเซอร์ในเครื่อง 4 ตัว ระบบก็จะจับค่าจากบราวเซอร์ 4 ตัว คือ 4 ครั้ง ดังนั้น การเก็บค่าจาก Cookies (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Browsing History นั่นคือการที่บราวเซอร์มีการจัดเก็บข้อมูลในการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆของเรา) หลายๆคนที่ลบ Cookies เนื่องจากสาเหตุของความปลอดภัยในการสะกดรอย ว่าเราเข้าใช้งานเว็บไซต์ใดบ้าง ดังนั้น ก็จะมีไม่กี่คน ที่มีพฤติกรรมในการลบ Cookies ในบราวเซอร์เป็นประจำ ส่งผลในการเก็บค่าวัดปริมาณการใช้งานเว็บไซต์ โดยวิธีการวัดจำนวนคนเข้าเว็ปมี 2 อย่างคือ วัดจาก Unique IP (UIP) เพราะระบบจะมองการใช้งานเว็บไซต์แยกเป็น IP ตาม Internet Protocol ซึ่งจะมีผลผันแปรกับการวัด จาก Cookies และการวัดจาก UIP ซึ่งทาง Internet Innovation Research Center เลือกใช้การวัดจาก UIP

พฤติกรรมในการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่นักการตลาดออนไลน์ต้องรู้เพื่อปรับใช้กับกลยุทธ์ในการทำตลาด เพราะจากพฤติกรรมที่คนเข้าใช้งานเว็บนอกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Search Engine อย่าง Google ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไทย ตามมาด้วย Bing ส่วน Yahoo เริ่มหายไป ดร.บอกว่า การที่คนไทยเข้าเว็บนอกมากขึ้น จำเป็นที่เว็บไทยจะต้องปรับตัว เพราะอย่าง Search Engine คนไทยไม่ใช้ Search Engine ของไทยอย่าง Siamguru, Sanook บริการต่างๆของไทยแล้ว แถมการใช้งานตอนนี้ คนไทยใช้งานบราวเซอร์ที่ติดตั้งบนเครื่องไม่ต่ำกว่า 1 บราวเซอร์ เพราะติดตั้งทั้ง IE, Firefox, Opera, Chrome, Safari รวมไปถึงบราวเซอร์อื่นๆอีกมากมาย ทำให้ระบบการจัดอันดับเว็บไซต์ต้องปรับตัวในการจับจาก Cookies เพราะหากเราติดตั้งบราวเซอร์เป็นจำนวนหลายตัว การวัดผลก็จะต่างกัน

ตอนนี้คนไทยใช้เน็ตประมาณ 20 ล้าน IP มีค่า UIP วันละประมาณ 2-2.5 ล้าน UIP ซึ่ง IP ในไทยได้รับการจัดสรรให้ใช้งาน 7 ล้าน UIP เป็นอันดับที่ 10 ของโลก ยังเหลือ IP ให้ใช้อีกเยอะ ส่วนการมองจาก Pageviews ทำให้ทราบว่า คนไทยใช้เว็บต่างประเทศมากขึ้น ที่เห็นชัดๆเลยคือ Facebook, Twitter, Youtube คนไทยจึงใช้เวลาเข้าเว็บไทยน้อยลง ยกเว้นการอ่านข่าว แต่หากเป็นข่าวไอที ก็มักจะไปที่ Techcrunch, Mashable กัน

และการใช้งานอินเทอร์เน็ต ก็ผันแปรกับช่วงเวลา คือคนไทยเล่นเน็ตวันหยุด เดือนพฤศจิกายนเล่นเน็ตมากที่สุด มีการใช้งาน UIP ต่อวัน (Daily UIP) ในปี 2010 (2553) 1.82M UIP เพิ่มขึ้น 32% จากปี 2009 (2552) ส่วน pageviews per day ในปี 2010 (2553) มี 125M pageviews เพิ่มขึ้น 6% จากปี 2009 (2552) ส่วน Domestic Internet Users คือคนใช้เน็ตในประเทศของไทยสูงที่สุด เกือบๆ 20 ล้าน IP โดยเดือนกันยายน 2010 (2553) มีการใช้งานมากที่สุด

ตรงนี้มีผลทั้งคนทำเว็บ และคนที่ทำการตลาด เพราะคนไทยใช้งานเว็บไทยน้อยลงจริงๆ เว็บต่างประเทศได้รับความนิยมมากว่า เว็บไซต์ในไทยก็เอาไว้ลงแบนเนอร์ โฆษณา ส่วน click Ad ก็ไปลง Google กันเยอะ ซึ่งความสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยปี 2010 (2553) สนใจด้านบันเทิงมากที่สุด อันดับ 1. บันเทิง 2. เกมส์ 3. บุคคล-สังคม 4.ข่าว-สื่อ 5.ช้อปปิ้ง และจากการสำรวจพบว่า คนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตช่วง 15.00 – 16.00น. สูงที่สุด น่าจะเป็นช่วงเลิกงาน เลิกเรียน และการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP มากที่สุด ตามมาด้วย Windows 7, Vista, Mac

ส่วนการใช้งานบราวเซอร์ ใช้ Internet Explorer 7 ตามด้วย Internet Explorer 8 นั่นหมายถึงว่า คนไทยใช้ Windows 7, Vista, XP น้อยมากที่ใช้ IE6 ตามมาด้วย Firefox, Chrome และ Safari นั่นหมายถึงว่า นักการตลาดจะต้องพัฒนาแคมเปญการตลาดให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต

สิ่งหนึ่งที่นักการตลาดจะต้องศึกษาคือ ความละเอียดในการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะตอนนี้ใช้จอ Wide Screen 19 นิ้วขึ้นไป จะมีความละเอียดที่ 1360X768, 1600X900, 1920X1080 ตอนนี้มาตรฐานปรับไปที่ 1360×768 พิกเซล เพราะคนใช้จอ Wide ขนาด 19 – 22 นิ้วมากขึ้น จากเดิมที่ใช้ความละเอียด 1024×768 บนจอขนาด 15-17 นิ้ว สถิติจอคอมพิวเตอร์ขนาดใดขายดี จึงเป็นสถิติที่เป็นประโยชน์ในการออกแบบเว็บไซต์และการวางแผนแคมเปญออนไลน์

ด้านการค้นหา คนไทยใช้ Google, Bing ส่วน Yahoo ถูกลืมไปซะแล้ว สิ่งที่น่าสนใจคือ คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือกันมากขึ้น โดยใช้งานบนสมาร์ทโฟนอย่าง iPhone มากที่สุด ตามมาด้วย Nokia, iPad, BlackBerry, iPod (วัดจากอัตราเฉลี่ยต่อวัน) ส่วน Mobile OS ใช้งานบน iOS, Symbian, Android, RIM, Windows Mobile (วัดจาก Pageviews ต่อเดือน)

ทางด้านการเข้าเว็บ ส่วนใหญ่จะพิมพ์ URL แบบ Direct บน Browser เลย รองลงมาคือ Search และ Referrer คือคลิกจาก link เว็บไซต์ เวบบอร์ด และแชร์จาก social media ต่างๆ

สถิติที่น่าสนใจในการกด link บน Social Website, Ads, Search Engine บน Facebook มีการกดคลิกที่ Link URL (ไม่ใช่การกด like) เป็นจำนวน 234,457 ครั้งใน 1 วัน แสดงว่าคนไทยแชร์เว็บที่ชื่นชอบผ่าน Facebook กันมาก เพื่อนๆก็กดเข้าไปดูตาม แต่ที่มากที่สุดคือ Link จากเว็บไซต์อื่น และการค้นหาจาก Google มากที่สุด เพราะตอนนี้คนไทยใช้ Search Engine 550 ล้านครั้งต่อเดือน ต่อมาคือ Google Ads และ Twitter

บุคคลที่อยู่ในความสนใจในการค้นหาในปี 2010 คือ เสธแดง ตามมาด้วย แอนนี่ บรุ๊ค, แพรวา, ทักษิณ และ โตโน่ The Star 6 เพลงที่ถูกค้นหามากที่สุดคือ “เหงาปาก” สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ “เกาะล้าน” ตามมาด้วย เกาะช้าง สถานีวิทยุยอดนิยมในการค้นหาคือ FM 105.5 EasyFM, Cool 93, 99 SportRadio แบรนด์สินค้า IT ที่ถูกค้นหามากที่สุดของ Truehits คือ Nokia ตามมาด้วย iPad/iPhone, Samsung, Sony, Acer อยู่ในหลัก “ล้าน” ครั้ง ส่วนกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่เข้าไปแช็ท (Windows Live Messenger, BBM, Whatsapp, Gtalk, Yahoo Messenger etc)

หวังว่าข้อมูลทั้งหมดจาก Truehits จะมีประโยชน์ในการทำการตลาดของนักการตลาดออนไลน์และนักพัฒนาเว็บไซต์นะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก ดร. ปิยะ ตัณฑวิเชียร Chief Technology Officer of Internet Innovation Research Center Co.,Ltd.