การตลาดในตลาดนัดใต้ตึกออฟฟิศ

หลายๆคนที่ทำงานในตึกออฟฟิศ คงคุ้นเคยกับตลาดนัดใต้ตึก ส่วนใหญ่พอทานข้าวกลางวันเสร็จ ก็ต้องแวะ 7-11 หรือแวะใต้ตึกที่มีตลาดนัด มีแผงขายขนม อาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ต่างๆ เครื่องสำอางค์ เครื่องแต่งตัว ขอให้ได้เดินหลังทานอาหาร ผู้หญิงก็หาผลไม้ทาน
ตอนเช้า หน้า BTS หมอชิต จะมีตลาดนัด สำหรับผู้หญิงทั้งนั้น มีของกิน เครื่องแต่งตัว ลมหนาวพัดมา ก็ต้องมีอุปกรณ์แต่งตัวให้เข้ากับสภาพอากาศและเทศกาล ไม่กี่วันก่อนร้อน ก็ต้องปรับให้ทัน หาเสื้อผ้ามาขายให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ
แต่สิ่งหนึ่ง ที่ร้านค้าต่างๆ จะต้องทำการบ้านก็คือ มองภาพการตลาด วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้ออก ต้องรู้ว่า บริษัทในตึกนี้ มีรายได้อยู่ในระดับใด ทานข้าวแกง หรือร้านอาหารแบบไหน มีรายได้เฉลี่ยนต่อวันเท่าไหร มีอัตราการใช้จ่ายเงิน ในการจับจ่ายซื้อของอย่างไร
ไม่ใช่ว่าร้านแบบกะดินแบบนี้ ตลาดนัดแบบนี้ ไม่ต้องมีการตลาด เพราะจริงๆแล้ว รายได้ รสนิยม มองได้จาก กาแฟที่ซื้อ ระดับใด หากมีรายได้ระดับ 2xxxx ก็มักจะทานกาแฟแก้วละ 50 บาท แต่หากรายได้ระดับ 1xxxx อาจจะทานกาแฟแก้วละ 30 – 35 ก็ถือว่าแพงแล้ว ยิ่งมื้อเช้า กลางวัน ก็ปาเข้าไป 70 บาทแล้ว
การตลาดในตลาดนัดใต้ตึกออฟฟิศ ต้องมองถึงกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้อง การตั้งโต๊ะ เค้าเตอร์ อีออน หรือบัตรเครดิต ต้องทราบว่า บริษัทในตึกนั้นๆ มีพนักงานทำงานกี่คน รายได้เท่าไหร การนำสินค้ามาขาย ผมเคยเห็นมีร้านขายเครื่องประดับ เครื่องเพชร เข็นตู้กระจกเข้าไปติดตั้ง ขายวันเดียวแล้วเข็นตู้กระจกออก ถามว่าคุ้มไหมกับค่าขนส่ง และดูแลรักษา ความปลอดภัย เห็นร้านเช่าพระเครื่องเข้าไป วันนี้เห็นชุดสังฆทานเข้าไปขายใต้ตึก ทั้งๆที่ บริษัทไม่ได้อยู่ใกล้วัด หรือรายได้พนักงานไม่พอจะซื้อเครื่องประดับจากตู้เครื่องเพชร
ตลาดนัด ไม่ใช่ว่าจะขายได้ทุกอย่าง ต้องพยากรณ์ยอดขาย ต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายด้วย วันนี้ลองดูตลาดนัด มีการนำเอาสายชาร์จ ซิลิโคน iPhone, BlackBerry เข้ามาขาย หูฟัง เมาส์ คีย์บอร์ด จริงอยู่ว่ามันขายได้ แต่ลองมองดูสภาพการทำงานของพนักงานในตึกนั้น ความจำเป็น การใช้งาน ต้องมองว่า กลุ่มลกค้า กลุ่มเป้าหมาย เป็นระดับใด
เสื้อผ้าแนวไหน ร้านค้าแนวไหน แบกะดิน หรือร้านค้าแบบไหน จริงอยู่ว่า ผู้หญิงชอบช้อปปิ้ง แต่ต้องดูก่อนว่า พนักงานในตึกนั้น ทำงานในระดับใด มีอาชีพใด มีการใช้ชีวิตอย่างไร มีรถยนต์ส่วนตัวหรือไม่ การเอาไม้กวาดเข้าไปขายในตลาดนัด เครื่องสังฆทาน บางครั้งมันไม่ได้เหมาะกับการขายในตึกนี้ อาจจะเป็นตึกถัดไปก็ได้ ไม่ต้องอะไรมาก ตอนกินข้าวก็พอสำรวจได้แล้วว่า พนักงานในตึก แต่งต้วแบบใด ใช้มือถือ ใช้ของใช้แบบใด แต่งตัวระดับไหน
คนขายของตลาดนัด หลายคนจะรู้ว่า ขายของตึกไหน วันไหน คนจะซื้อเยอะ หน้าสถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต มีร้านค้าตลาดนัดจำนวนมาก แต่ในช่วงเวลาเร่งรีบ มีลูกค้าจำนวนกี่คน จะหยุดแวะซื้อ เมื่อเห็นว่า จำเป็นพอที่จะต้องแวะ ในช่วงเวลาเร่งด่วนแบบนี้ หรือการนำสินค้าบางชนิดมาขาย ก็ต้องมองการตลาดไปถึง วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนาด้วยเช่นกัน เช่น ย่านนี้มีแต่ชาวมุสลิม ไม่ทานหมู จะเอาหมูปิ้งไปขาย ก็ไม่ได้ผล เอาไส้กรอกแช่แข็งไปขาย หรือของบูดเสียง่าย แต่ออฟฟิศไม่มีตู้เย็น กว่าจะกลับบ้านก็ดึกแล้ว บางอย่างจึงขายไม่ได้เพราะลูกค้าคิดเผื่อตอนเอากลับบ้าน
บางร้านขายทุกสัปดาห์ ก็มีคนซื้อตลอด มีลูกค้าประจำ แต่บางร้าน เอาของมาขายไม่เข้าพวก แถมคนขายไม่มีมารยาทและจรรยาบรรณในการขาย เช่น ซองมือถือ ลูกค้าถามว่า ใช้ยังไง คนขายตอบแบบดูถูกว่า เอามาใส่มือถือไง ประสบกับเหตุการณ์นี้ด้วยตัวเอง ลูกค้าโดนว่า โดนดูถูกมาใช้ไม่เป็น แทบจะทะเลาะกัน
นี่คือการเข้าใจผิดของการนำสินค้ามาขายในตลาดนัด ไม่ใช่ว่าจะขายอะไรก็ได้ ต้องมองกลุ่มเป้าหมาย รายได้ อาชีพ ทำการตลาดอยู่เหมือนกัน หรือแม้กระทั่งการขายซิมการ์ด บางค่ายอาจจะไม่มีสัญญาณในตึกนั้น แต่ผู้ขายไม่ศึกษาข้อมูลก่อน เมื่อนำสินค้าไปขายจึงไม่ได้รับความสนใจ เนื่องจากไม่มีสัญญาณ
ดังนั้น ตลาดนัด ก็ต้องมีการตลาด มีการวางแผน การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเช่นกัน ไม่ใช่ว่าแบกะดินแล้วจะขายอะไรก็ได้