อย่างกกับปลั๊กด้อยคุณภาพ มั่นใจกับระบบตัดไฟ ระบบป้องกันที่ดีกว่าจากปลั๊กราง Zircon

บทความนี้เคยเขียนไว้บน i3.in.th และ bloggang ของผม เอามาเล่าอีกรอบครับ

แรกเห็นหลายคนอาจจะแปลกใจ yokekung blog รีวิวแม้กระทั่งปลั๊กราง ถ้าไม่มีอะไรดีถึงขนาดว่าเสียเวลาถ่ายรูปทำรีวิวให้ขนาดนี้ ก็เพราะอยากให้ทุกคนตระหนักเรื่องความปลอดภัยในการใช้ปลั๊กรางนั่นเอง อันนี้ไม่ได้โฆษณานะครับ เพราะเราคิดแบบนี้จริงๆ ซื้อมาใช้เองด้วย ไม่ได้รับมารีวิวแต่อย่างใด ไฟไม่ใช่เรื่องล้อเล่น อย่าประมาทกับเรื่องไฟ กับปลั๊กรางราคาถูก ด้อยคุณภาพ

หลายๆคน (รวมทั้งผม) เคยใช้ปลั๊กรางราคาถูกๆ ร้อยกว่าบาท ถามว่าใช้ได้ไหม ใช้ได้ครับ แต่หลายครั้งที่เจอแบบ ปลั๊กละลายเพราะร้อนจัด ไม่ทนไฟ สายไฟเส้นเล็กๆ แต่พ่วงอุปกรณ์เยอะมากจนเกินกำลัง ผมก็เคยใช้ปลั๊กไฟราคาร้อยกว่าบาทอยู่ประจำ แต่พอใช้ไปสักพัก ก็ต้องเปลี่ยน เพราะคุณภาพไม่ไหวจริงๆ บางช่องก็เสียบแล้วไฟไม่เข้า เสียบที่ชาร์จมือถือก็ต้องขยับ โดยเฉพาะปลั๊กแบบกลมพวกอแดปเตอร์ ปลั๊กดีๆก็มีเยอะ แต่ระบบตัดไฟคงไม่ได้คุณภาพและไม่มีมาตรฐาน จริงอยู่อาจจะมี มอก อุตสากรรมสำหรับสายไฟ แต่ตัวปลั๊กไฟเองก็ด้อยคุณภาพ บางคนสร้างบ้านอาจจะเคยได้ยินปลั๊กของ Toshino, Bichino และ National นั่นแหล่ะครับปลั๊กคุณภาพ อยู่เป็นสิบปีก็ไม่แตก ไม่เสื่อมคุณภาพ เคยคุยๆกับเพื่อนที่เล่นเครื่องเสียง ก็เลยรู้ว่า พวกเล่นเครื่องเสียงเขาซีเรียสกับปลั๊กไฟมาก เพราะสัญญาณรบกวนจากปลั๊กไฟด้อยคุณภาพ มันไม่คุ้มกับเครื่องเสียงเรือนแสนของเขา แถมลดทอนการทำงานด้านเสียงอีก

ก็เลยกลับมาคิดว่า แต่ละคนใช้คอมพิวเตอร์ ทีวี ราคาหมื่นขึ้น โน้ตบุ๊คราคาสามหมื่น Macbook Pro ราคาครึ่งแสน แต่กลับใช้ปลั๊กรางอันละร้อยกว่า มันน่าไหมล่ะครับ เปรียบเทียบแบบนี้ทุกคนจะได้เข้าใจ เอาคอมแรงๆ การ์ดจอโหด ฮาร์ดดิสก์เยอะๆ จอใหญ่ๆ หมดไปหลายหมื่น แต่กลับงกปลั๊กรางราคาสองร้อย หาคุณภาพดีๆหน่อยจะดีกว่าไหม เห็นมีหลายยี่ห้ออย่างของ Symdrome มีปลั๊กไฟอันละ 490 และ 1xxx ผมว่าคุณภาพมันดีกว่าเยอะ มีระบบตัดไฟ หากไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟกระชาก ไอ้ฟิวส์อันเล็กๆผมว่าเอาเข้าจริงมันไม่ได้ช่วยอะไรหรอกครับ

ล่าสุดตอนปีใหม่ (ปีก่อนโน้น) ไปกางเต้นท์ที่เขาค้อ ปลั๊กไฟที่ใช้กับหม้อสุกี้ หลอมละลายน่ากลัวมาก เพราะร้อนจัด สายไฟไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีระบบตัดไฟอะไรเลย ไฟไม่ไหม้เต้นท์ก็ดีถมไปแล้ว อย่าไปงกกับปลั๊กรางอันละสองร้อยเลยครับ บางยี่ห้อเป็นผู้ผลิต UPS เครื่องสำรองไฟ พวกนี้เขาเชี่ยวชาญเรื่องระบบการตัดไฟ สำรองไฟ โรงงานมีมาตรฐาน อย่างของ Zircon เคยเห็นบริษัทอยู่แถวบ้าน ก็ไม่ได้สนใจ ไปงาน Powerbuy Expo ไปเจอปลั๊กรางอันละ 375 สายไฟยาว 3 เมตร มีช่องเสียบ 6 ช่อง งานประกอบดีเนี้ยบ กว่าปลั๊กรางถูกๆเยอะเลย ยอมเสียเงินเยอะหน่อยเพื่อความปลอดภัยจะดีกว่า สำหรับผมเองปลั๊กรางราคา 350 – 7xx ก็พอซื้อได้นะครับ แต่สำหรับบางรุ่นราคา 1xxx – 2xxx อาจจะแพงไปหน่อย แต่ถามว่าดีไหม ดีคุณภาพเยี่ยมเลยล่ะครับ วัสดุก็ดี ไม่ได้ใช้พลาสติก ทนไฟ ไม่กลัวละลาย มีระบบตัดไฟที่ดีกว่าแบบถูกๆเยอะ แถมถนอมอุปกรณ์ไฟฟ้าของเราราคาร่วมหมื่นด้วย ถ้าสินค้าที่เราใช้ราคาหมื่นขึ้นไป จะใช้ปลั๊กรางจะ 800 – 2000 ก็ไม่น่าจะแปลกอะไร เพราะถ้าใช้ของถูกๆด้อยคุณภาพแล้ว วันดีคืนดีไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟกระชาก ฟ้าผ่าก็ไม่คุ้มกัน

ปลั๊กไฟที่ผมได้มาก็คือยี่ห้อ Zircon คนไอทีจะรู้จักว่าเป็นยี่ห้อของ UPS เครื่องสำรองไฟ เห็นงานประกอบแล้วดีกว่าปลั๊กที่ขายตามห้างทั่วไปเป็นไหนๆ ตามมาดูกันเลย ยี่ห้อ Zircon ถ้าใครอ่านหนังสือคอม ก็อาจจะเจอว่ามันคือยี่ห้อ UPS เครื่องสำรองไฟนั่นเอง ไหนๆมั่นใจกับ UPS แล้ว ทำไมแค่ปลั๊กรางมาตรฐาน คุณภาพเขาจะไม่ได้ล่ะ เอาง่ายๆยี่ห้ออย่าง APC, Symdrome, Zircon พวกนี้ทำ UPS อยู่แล้ว เรื่องไฟยกให้เค้าก็เหมือนผู้เชี่ยวชาญด้านไฟ กับปลั๊กไฟก็เชื่อเขาได้แหล่ะน่า หน้าตาดูดีใช่เล่น กับราคา 2 – 3 ร้อยบาทแบบนี้ แพ็คเกจแบบนี้โอเค แต่ถ้าแพ็คเก็จดีกว่านี้ ผมว่าขาย 5 ร้อยยังได้เลย แต่เขาช่วยคนไทยด้วยกัน Safty First ความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ถ้าอยากเน้นเรื่องความปลอดภัย เงิน 3 ร้อยกว่าไม่ลำบากหรอกครับ หรือจะรอให้ไฟไหม้บ้านก่อนเพราะปลั๊กอันละ 99 บาท????? ความปลอดภัยกับเรื่องฟืนไฟ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นนะครับ สามร้อยกว่าบาทไม่ถือว่าแพง (ราคาในงาน Powerbuy Expo) แต่ข้างนอกอาจจะ 4xx ก็ไม่ถือว่าแพงเมื่อเทียบกับเนื้องานประกอบและระบบป้องกัน คุณสมบัติ ที่แตกต่างจากปลั๊กทั่วไปก็คือเรื่องความปลอดภัย การป้องกัน มีแผงวงจรป้องกันไฟกระชาก ไม่ใช่ฟิวส์แบบปลั๊กถูกๆ ผมไม่เคยเห็นฟิวส์มันตัดสักที เผลอๆดึงออกมาไม่มีอะไรอยู่ด้วย กดปุ่ม Test ไปก็เท่านั้น จะเอาชีวิตอุปกรณ์โปรดของคุณแขวนบนเส้นดายทำไม 

มั่นใจอีกต่อหนึ่งกับมาตรฐานการผลิต งานประกอบปลั๊กดี สายยาว 3 เมตรใหญ่เบ่อเริ่ม เสริมความมั่นใจสุดๆ ดูใกล้ๆเป็นพลาสติกแข็ง รูเสียปลั๊กก็ทำดี แบบพลาสติกหล่อ ไม่มีเศษพลาสติกเผยอออกมาให้เห็น ปลั๊กเป็นแบบ 3 รูคือมีสายกราวน์ด้วย หากใครใช้ตามบ้านก็ให้ต่อด้วยตัวแปลงเป็น 2 รู

เรียกความมั่นใจในการใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ด้วยการจ่ายไฟด้วยระบบการป้องกันไฟกระชาก ไฟเกิน ไฟรั่ว การตัดไฟ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่าประมาทนะครับ ที่บ้านถ้ามีเครื่องตัดไฟก็ดี แต่อย่างน้อยก็มีระบบป้องกันชั้นนึงที่ได้มาตรฐาน ไม่ใช่แค่ปลั๊กรางถูกๆ อันนั้นเอาไปใช้กับพัดลม ชาร์จแบตมือถือน่าจะเหมาะกว่า พวกคอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง โฮมเธียร์เตอร์ คอมพิวเตอร์ ผมว่าเอามาใช้ปลั๊กแบบนี้น่าจะดีกว่านะครับ ถนอมอายุการใช้งานอุปกรณ์สุดเลิฟของเราในระยะยาวด้วย