รู้จักกับ 3.9G Mobile Internet เทรนด์ใหม่ที่คุณต้องรู้

เก็บมาฝากจากงานสัมมนา 3.9G Mobile Internet จัดโดย AR โดยนิตยสาร Winmag และ AIS โดยคุณโอ๋ ห้อง Auditorium ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีการแนะนำเทคโนโลยี 3.9G แบบเข้าใจง่ายๆ ไปติดตามกันเลย

มองภาพรวมของ 3.9G ก่อนว่ามันคืออะไรบ้าง ยุคสมัยก็คือการเชื่อมต่อด้วย Dial-up modem ตั้งแต่ยุคแรกๆ 56K มาถึง GPRS ขยับมาที่ EDGE จนมาถึง HSDPA 3.5G แล้วก็ข้ามไปที่ 3.9G ตามกราฟถือว่าเห็นภาพได้ชัดเจนในการพัฒนา เข้าใจแบบง่ายๆ ไม่ต้องเทคนิค

ต้องบอกก่อนว่า ทำไม Mobile Internet จึงเติบโตเร็ว จากเมื่อก่อนที่ใช้คอมพิวเตอร์ตามบ้าน กลายมาเป็นการใช้งานบนโน้ตบุ๊ก จนมาถึงโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกเยอะมาก ขยับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การเชื่อมต่อไร้สาย ใช้งานนอกสถานที่ กลายเป็นเรื่องจำเป็น แถมการใช้งานข้อมูล วีดีโออย่าง Youtube มีการอัพโหลด ส่งภาพ วีดีโอไปลง Multiply, Youtube มากขึ้น ทำให้ตลาดของอินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้แอพพลิเคชั่นเยอะมาก การส่งข้อมูลหนาแน่นขึ้นมาก การรับชมภาพยนตร์กลายเป็น Blu-ray แบบ HD หนังเรื่องนึงมีขนาดใหญ่มาก ต้องใช้การดาวน์โหลดและอัพโหลดมากขึ้น

ดังนั้นทุกคนจึงต้องการความเร็วในการเชื่อมต่อในทุกๆสถานที่ นอกจากการดาวน์โหลดข้อมูลแล้ว จะต้องมองไปถึง การอัพโหลดข้อมูลที่สำคัญมาก เช่นการดาวน์โหลดไฟล์เสียง Voice Notes ทาง BlackBerry Messenger ที่สามารถส่งและรับเสียงพูดได้ อันนี้ถือว่าสำคัญเพราะเราจะเห็นการดาวน์โหลดที่ช้ามากเพราะผู้ให้บริการโฆษณาชวนเชื่อในการดาวน์โหลด แต่การอัพโหลดไม่ได้มีการพูดถึง ซึ่งสำคัญไม่แพ้กันในยุค Social Networking แบบนี้

การเชื่อมต่อ ทุกคนต้องการความเร็ว อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญก็คือ ความเสถียรในการเชื่อมต่อ โดยเฉพาะคนที่เล่น Twitter จะหงุดหงิดมากเวลาที่ BB Service ล่ม หรือ EDGE ล่ม เพราะทำการให้สื่อสารขาดตอนและเสียอารมณ์ จึงอยากให้มองในมุมของ ความเสถียรเป็นหลัก เร็วอย่างเดียวไม่พอแน่ๆ ต้องครอบคลุมการเชื่อมต่อทุกพื้นที่ ดาวน์โหลดอัพโหลดได้เร็ว ไม่หยุดชะงักเพราะขาดความเสถียรของเครือข่าย

เทรนด์ที่เราต้องเรียนรู้ ต้องเข้าใจ ต้องศึกษา เพราะว่า ต่อไป เราจะต้องอยู่กับมัน การเลือกการเชื่อมต่อนั้นจะต้องมี 3 ส่วนคือ

D N A มาจาก

Device อุปกรณ์ก็สำคัญ เพราะหากอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อไม่ดีแล้ว ขาดความเสถียรภาพของการทำงานเพื่อเชื่อมต่อ เช่น Air Card ที่ถูกๆ มักจะมีความร้อนสูงเมื่อใช้งานไปนานๆ และอาจขาดความเสถียรของข้อมูลในการรับส่ง ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลที่อัพโหลด ดาวน์โหลดเสียหาย ทำให้งานต้องหยุดชะงักหรือเสียเวลาต้องส่งใหม่

Network นอกจากความเร็วแล้ว เราต้องมองในการดาวน์โหลด และอัพโหลดด้วย การส่งภาพ วีดีโอขึ้นไปบน Social Network อย่าง Twitter Facebook ล้วนแต่ใช้การอัพโหลดทั้งสิ้น ความเสถียรก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันในการเชื่อมต่อ

Application หากอุปกรณ์รองรับ เครือข่ายตอบสนอง แอพพลิเคชั่นเป็นตัวการสำคัญในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ การเชื่อมต่อกับเครือข่าย การใช้งานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

DNA สำคัญของการเชื่อมต่อ เอาง่ายๆอย่างการใช้ 3G Air Card จะมี 2 แบบคือ 3.6Mbps และ 7.2Mbps ซึ่งหากเครือข่ายรองรับ 7.2Mbps แต่ใช้อุปกรณ์ที่รองรับแค่ 3.6Mbps ก็ตันที่จะใช้เชื่อมต่อได้เท่าที่มี หากอุปกรณ์รองรับ แต่เครือข่ายไม่สนับสนุน ก็จะใช้เชื่อมต่อได้แค่นั้นเท่าที่ใช้งานได้ ในขณะเดียวกัน หากการเชื่อมต่อดี อุปกรณ์ดี แต่แอพพลิเคชั่นแย่ ก็ทำให้การทำงานสะดุดลงไปเหมือนกัน

ทางวิทยากรได้ยกตัวอย่างการเลือกใช้แอร์การ์ดคุณภาพต่ำ ที่โอเคว่าใช้งานได้ปกติ แต่แอพพลิเคชั่นไมได้แจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่า ใช้งานจนครบลิมิตของแพ็คเก็จแล้ว ผู้ใช้ไม่ทราบจึงใช้งานต่อไปเรื่อยๆ มีค่าบริการ ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเรื่อยๆ อันนี้ไม่ดีแน่ สุดท้ายก็ต้องจ่ายตามระเบียบไปเพราะใช้งานจริงๆ แต่แอพพลิเคชั่นไม่รองรับ

จากภาพนี้จะเห็นได้ว่าแต่ละค่ายได้รับสัมปทานคลื่นความถี่ไม่เหมือนกัน อุปกรณ์ที่รองรับก็แตกต่างกันไปด้วย บางเครือข่ายอยู่ภายใต้สัมปทาน บางเครือข่ายด้วยเหตุผลทางเทคนิค อาจจะได้ความเร็วตามมาตรฐาน

จะเห็นได้ว่า แต่ละเครือข่าย รองรับเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อ Mobile Internet ต่างกัน ที่นี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับ สถานที่ที่เราอยู่ประจำ จังหวัดที่เราใช้งาน อุปกรณ์ที่เราใช้งานรองรับความถี่คลื่นที่เครือข่ายให้บริการหรือไม่ แอพพลิเคชั่นรองรับแค่ไหน อันนี้ต้องเป็นเรื่องที่พิจารณาประกอบกันทั้ง D  N A พร้อมๆกันเลย เพราะต่อไปหากการเชื่อมต่อวิ่งไปที่สูงสุด 21Mbps HSPA เครื่องลูกข่ายและอุปกรณ์ในประเทศไทยเราก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ใช้งานบนเครือข่ายที่รองรับและมีแอพพลิเคชั่นมาเสริมอีกเช่นกัน

ที่ต้องเข้าใจก็เพราะว่า การเชื่อมต่อบน Mobile Internet ที่สูงกว่า EDGE/GPRS หรือ ADSL นั้น เราจะไม่ได้เป็นแบบ Unlimited แต่จะคิดเป็น Bit และ Byte ก็ต้องเข้าใจ โดยเฉพาะการเข้าดาวน์โหลด เช็กอีเมล์นิดหน่อย ทำไหมข้อมูลมันวิ่งไปร่วมๆ 5MB แล้ว เพราะการเชื่อมต่อ การส่งผ่านข้อมูลสมัยนี้ มีทั้งภาพ เสียง วีดีโอ ข้อความ ที่รวมๆกันแล้วก็เป็น MB เลยทีเดียว

ต่อไปเราจะเรียกกันเป็น Bit และ Byte จะไม่ได้คิดเป็นชั่วโมงหรือ Unlimited ได้อีกต่อไป ท้ายที่สุดแล้วเราต้องสำรวจการใช้งานของเราเองว่าเหมาะกับแพ็คเกจไหน

ต่อไป แอร์การ์ดจะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น คุณภาพของเครือข่าย การให้บริการ การคิดค่าบริการ สัมพันธ์กับการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพ

ความเร็วจะไม่ได้พูดกันแค่ Download อีกต่อไป เพราะทุกคนจะมีการ Upload ส่ง Voice Notes ถ่ายวีดีโอส่ง Clip สั้นๆ การใช้งานกล้องด้านหน้า Video Call บนระบบ 3G

การเล่นหนังแบบสตรีมมิ่งฉายออกทางโปรเจคเตอร์ จากบนมือถือได้โดยตรง รับชมได้หลายคน โลกของ Mobile Internet จะไม่ใช่แค่ ดาวน์โหลดแบบแต่ก่อนอีกต่อไป

แต่จะเป็นการแชร์ในสังคมออนไลน์ มีการ Upload มากขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ

ความเร็วในการตอบสนองการเล่นเกม การส่งข้อมูลไปบนเซิร์ฟเวอร์ การเก็บเลเวล เก็บคะแนน เราจะได้เห็นกันบน Mobile Internet ที่ไม่ต่างจากบน ADSL ที่เราเล่นเกมกัน

ความเร็วในการเปิดหน้าเว็บก็สำคัญ เช่นเดียวกับเราใช้งานบราวเซอร์บนคอมพิวเตอร์ จะมีหลายค่าย หลายแบรนด์ที่ตอบสนองการใช้งาน บนมือถือหรืออุปกรณ์ไร้สายก็จะมีบราวเซอร์ต่างกัน เช่นบน iPhone ก็จะมี Safari แต่เราก็ติดตั้งบราวเซอร์อื่นที่เหมาะกับเราได้เช่นกัน ดังนั้นความเร็วเมื่อป้อน URL เข้าไปแล้ว การเชื่อมต่อต้องผสานการทำงานของแอพพลิเคชั่น อุปกรณ์ และเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วด้วย

นี่คือโลกของ Mobile Internet ที่ทุกคนจะต้องเจอ และอีกไม่นาน ปีหน้า ถ้าไม่มีอะไรติดขัด เราจะได้อยู่ในโลกของ 3.9G เราจะโหลดการ์ตูนอ่านบนมือถือ บน iPhone, iPad เราจะสนุกกับการเชือมต่อไร้สายได้มากขึ้น ไม่ติดขัดที่เครือข่ายเหมือนทุกวันนี้ เพราะตอนนี้ อุปกรณ์พร้อม แอพพลิเคชั่นพัฒนาได้ แต่ติดที่เครือข่าย การสัมปทาน การรับใบอนุญาตให้บริการ ทำให้ล้าหลังในต่างประเทศ

ที่มา http://appreview.in.th